พาไปดูทีมจุฬาฯ และทีมเกษตรซ้อมหุ่นยนต์ At Home

วันนี้มีโอกาสไปดูน้องๆ จากทีมจุฬาฯ และทีม ม.เกษตรฯ นำหุ่นยนต์ไปซ้อมแข่งขันรายการ Thailand Robot At Home ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ดูภาพและวิดีโอในข่าวครับ

วันที่ 20-22 ธันวาคม 2554 จะเป็นวันที่ให้ทีมต่างๆ มาทำการซ้อม และแข่งจริงในวันที่ 24-25 ธันวาคม 2554

วันนี้เป็นวันซ้อมวันที่ 2 ไปดูกันเลยดีกว่า เริ่มจากสนามแข่งกันก่อน ใช้ partition กั้นเป็นบ้านจำลอง มีห้อง มีเฟอร์นิเจอร์ (วันแข่งจริงจะมีเฟอร์นิเจอร์มาลงเพิ่มอีก)

มาถึงในตอนบ่ายซึ่งมีทีมซ้อม 3 ทีม เริ่มจากทีม ขอไข่ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีมนี้เป็นนิสิตปี 4 ใช้หุ่นยนต์ iRobot Create เป็นตัวฐานขับเคลื่อน (iRobot Create คือ Roomba แบบที่ไม่มีระบบดูดฝุ่น และมี port เชื่อมต่อสำหรับติดอุปกรณ์เพิ่ม และสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ สำหรับใช้ในงานพัฒนาหุ่นยนต์) ระบบขับเคลื่อนแบบ differential drive มี Laser Range Finder Hokuyo URG-04LX สำหรับทำแผนที่และระบุตำแหน่งตนเอง (SLAM – Simultaneous Localization and Mapping) ใช้ Kinect หาภาพความลึก (depth image) ในการติดตามคน และใช้ webcam Logitech QuickCam Pro 9000 จับภาพสำหรับการจดจำใบหน้า (facial recognition)

กำลังทำแผนที่

ซ้อม Navigation คือ ให้เดินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

ซ้อม Follow me คือ ให้เดินตามคน

ต่อไปเป็นทีม CUttonBlood ทีมนี้เป็นนิสิตปี 3 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ฐานขับเคลื่อนเป็น iRobot Create  มี Laser Range Finder Hokuyo URG-04LX สำหรับทำแผนที่และระบุตำแหน่งตนเอง (SLAM – Simultaneous Localization and Mapping) และติดตามคน และน่าจะใช้ webcam Logitech QuickCam Pro 9000 จับภาพสำหรับการจดจำใบหน้า (facial recognition) และจดจำสิ่งของ (object recognition) แต่ลืมเอา webcam กันมา เลยใช้ webcam บน notebook ซ้อมไปกันก่อน

ประกอบหุุ่น

ทดสอบ Object recognition คือ จดจำและแยกแยะวัตถุ

ซ้อม Follow me

ทีมสุดท้ายของบ่ายวันนี้คือทีม Skuba จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทีมนี้มีสมาชิกตั้งแต่ปี 2 ถึงปี 4 หุ่นทำเองทั้งตัว ระบบขับเคลื่อนแบบ omni-directional drive 3 ล้อ แต่ตอนมาซ้อมต่อแบตเตอรี่ผิด ทำให้วงจรขับมอเตอร์เสีย เลยซ้อมไม่ได้มาก ได้แต่เก็บแผนที่ไป ก็หวังว่าจะซ่อมเสร็จไวๆ นะครับ อยากเห็นหุ่นยนต์จากทีม ม.เกษตรฯ วิ่ง และก็ถือเป็นข้อเตือนใจให้กับนักพัฒนาทั้งหลายว่า connector ทั้งหลาย ควรทำให้เป็น fool-proof นะครับ connector ที่ใช้งานต่างประเภทกัน เช่น สายพลังงาน สายสัญญาน ควรใช้ connector คนละแบบ จะได้ต่อผิดไม่ได้ และ connector นั้นๆ ก็ต้องเสียบได้ทางเดียว เสียบกลับทางไม่ได้

เก็บแผนที่

LINE it!
Loading Facebook Comments ...
Loading Disqus Comments ...