หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน

พระปรีชาสามารถของในหลวงนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นที่ประจักษ์แจ้งแล้วทั้งศาสตร์และศิลป์ เราสามารถดูได้จากพระราชกรณียกิจและรางวัลที่ได้การทูลเกล้าฯ ถวายจากสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะที่เว็บ ThaiRobotics เป็นเว็บไซต์ของไทยที่นำเสนอข่าวด้านหุ่นยนต์ เราก็ย่อมไม่สามารถมองข้ามเรื่องราวของหุ่นยนต์ที่เกี่ยวข้องกับในหลวงที่เป็นที่รัก เคารพ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาตนเองของพวกเราทุกคนไปได้

ในปีพ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) หรือเมื่อ 58 ปีที่แล้วในหลวงทรงเสด็จฯ ไปทรงเปิดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงาน ความรู้ความสามารถ และได้แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างนักเรียนและนักศึกษา ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นรถยนต์ขนาดใหญ่บังคับด้วยวิทยุที่สามารถ ใช้งานได้จริง ๆ ซึ่งเป็นผลงานของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราขมงคลกรุงเทพ) แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งถามอาจารย์สนั่น สุมิตร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ในขณะนั้นว่า

“ทำหุ่นยนต์ที่เดินได้ได้ไหม?” อาจารย์สนั่นจึงกราบบังคมทูลตอบไปว่า “ได้พะย่ะค่ะ” ทรงรับสั่งถามต่อไปว่า “จะต้องใช้เงินเท่าใด?” อาจารย์สนั่นกราบบังคมทูลว่า “ประมาณ 20,000 บาท พะย่ะค่ะ” [1] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า “จะให้เขาจัดเงินให้” ต่อมาไม่นานนักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ จำนวน 20,000 บาทเพื่อสร้างหุ่นยนต์ตามพระราชประสงค์

หลังจากนั้นอาจารย์สนั่นได้ปรึกษากับอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ หัวหน้าแผนกวิทยุของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้สร้างรถยนต์บังคับด้วยวิทยุว่าจะทำอย่างไรจึงจะสร้างหุ่นยนต์ได้ตามพระราชประสงค์ อาจารย์สวัสดิ์ก็รับรองว่าสร้างได้แน่นอน จึงได้เริ่มลงมือสร้างทันที โดยมีอาจารย์สวัสดิ์เป็นแม่งานถึงแม้ในขณะนั้นงานด้านอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ก้าวหน้านักและวิทยุยังใช้หลอดสูญญากาศอยู่ เนื่องจากอาจารย์สวัสดิ์เชี่ยวชาญทั้งด้านอิเล็กทรอนิกส์และด้านแมกแคนิกส์ อีกทั้งช่างวิทยุมีเครื่องกลึงและเลื่อยสายพานที่สามารถใช้ตัดโลหะได้ทุกอย่าง จึงได้ใช้เลื่อยตัดอลูมิเนียมให้เป็น ลำตัว แขนขา หัว หน้า และมือ ร่วมกับการปั้นและทาสีให้เหมือนคนจริง เครื่องรับส่งและเครื่องบังคับวิทยุจะอยู่ที่ท้องของหุ่น แล้วใส่แบตเตอรี่และสายพานที่เท้าหุ่นเพื่อให้หุ่นเดินได้ เครื่องส่งและอุปกรณ์ที่จะบังคับให้หุ่นเดิน ยกมือ ไหว้ พูด ฟัง โต้ตอบ และทำงานได้อีกหลายอย่างจะอยู่นอกตัวหุ่นที่สามารถเดินได้ด้วยการบังคับจากภายนอก เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำมาทดลองใช้งานดู ก่อนนำความกราบบังคมทูลให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า หุ่นยนต์ได้สร้างเสร็จแล้วตามพระราชประสงค์ โดยที่ส่วนประกอบทุกชิ้นสร้างในแผนกวิทยุของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ

หมายเหตุ ข้อความข้างต้นคัดลอกและปรับเปลี่ยนจากเว็บไซต์เครือข่ายข้อมูลกาญจนาภิเษก

ถึงแม้ว่าเรื่องราวของหุ่นยนต์ที่ทรงรับสั่งให้สร้างขึ้นจะเป็นเรื่องเก่าที่เอามาเล่าใหม่ แต่เมื่อเรามองไปยังเรื่องราวการรับสั่งให้ใช้งานหุ่นยนต์เป็นหุ่นยนต์ คุณหมอพระราชทาน ในงานกาชาดที่จัดขึ้นหลังจากหุ่นยนต์สร้างเสร็จ จะเห็นได้ว่าเนื้อหาการใช้งานนั้น ก้าวหน้าและทันสมัย มากอย่างไม่น่าเชื่อว่าเป็นเรื่องราวของการใช้หุ่นยนต์ humanoid ที่เกิดขึ้นเมื่อ 58 ปีที่แล้วในประเทศไทย ในขณะที่อเมริกายังไม่ได้นำหุ่นยนต์แขนกลเข้ามาใช้งานในอุตสาหกรรมและงานวิจัยที่เป็นส่วนสำคัญของการออกแบบและใช้งานหุ่นยนต์ [2] ยังเป็นเรื่องที่อาจจะกล่าวได้ว่ายังไม่มีใครในโลกพูดถึงกันนอกจากเรื่องราวในนิยาย  [3]

การใช้งานหุ่นยนต์เป็นคุณหมอถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่ใหญ่โตและสำคัญมากในงานวิจัยสมัยใหม่ที่ต้องการผลสรุปจากงานวิจัยหลากหลายแขนงและอาจจะกล่าวได้ว่า ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดในปัจจุบันเราก็ยังไม่สามารถสร้างหุ่นยนต์ให้ทำงานในสภาพการใช้งานจริงได้อย่างเป็นธรรมชาติตามที่ในหลวงทรงให้แนวทางในการใช้งานไว้เมื่อกว่า 60 ปีมาแล้ว เช่น

  • การประชาสัมพันธ์และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย
  • การตอบปัญหาทางจิตที่คนป่วยไม่ต้องอายคุณหมอตัวจริง
  • สามารถใช้งานและช่วยเหลือคนไข้ที่ติดเชื้อร้ายแรงได้โดยคุณหมอจริง ๆ ไม่ต้องเสี่ยงชีวิต
  • การควบคุมเพื่อรักษาผู้ป่วยจากระยะไกล
  • การผ่าตัดที่ต้องการความแม่นยำและยากลำบาก

จากเรื่องราวเพียงบางส่วนที่ปรากฏบนอินเทอร์เน็ตและมีการบันทึกไว้ก็แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศที่กว้างขวางและครอบคลุมในทุก ๆ ด้านแม้แต่เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ที่อาจจะกล่าวได้ว่า ในหลวงทรงทอดพระเนตรเห็นประเด็นทางการออกแบบและการใช้งานก้าวล้ำกว่ายุคสมัยเป็นอย่างมาก

ในฐานะที่ทีมงานและผู้เขียนเป็นกลุ่มคนที่สนใจงานวิจัยและการสร้างหุ่นยนต์เพื่อการใช้งานจริง พวกเราเชื่อว่าพวกเราโชคดีที่มีพระมหากษัตริย์นักปฏิบัติที่ทรงแสดงให้เห็นว่า นอกจากการเรียนและวิจัยแล้ว การนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาสร้างเป็นหุ่นยนต์ของจริงเพื่อใช้งาน พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชาติ และสร้างเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังที่พระราชทานแนวทางให้เห็นเมื่อ 58 ปีที่แล้ว

ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ทีมงานเว็บไซต์ ThaiRobotics

[1] ประมาณ 1 ล้านบาทในปัจจุบันเมื่อเทียบกับราคาทองคำปี พ.ศ. 2497 ที่อยู่ที่ 35.04 ดอลลาร์ /ออนซ์ และราคาปัจจุบันประมาณ 1,700 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 50 เท่า
[2] Human-Computer Interaction (HCI) และ Human-Robot Interaction (HRI)
[3] Robot Timeline

ที่มาและรูปจาก เครือข่ายข้อมูลกาญจนาภิเษก และ Sanook.com

As today, December 5th, is His Majesty the King’s Birthday, ThaiRobotics gratefully presents a story of a futuristic vision of His Majesty the King, an initiation to use a robot in medical service.

In 1954 (58 years ago), His Majesty, Bhumipol Adulyadej, the King of Thailand had visited an art and craft exhibition at Suankularb School (a famous public high school in Bangkok, Thailand) and saw a full-sized car remotely radio controlled developed by Bangkok College of Technology (currently known as Rajamangala University of Technology Krungthep), so His Majesty asked Sanun Sumitra, a director of the school, whether it is possible to build a walking robot. Sanun said yes. Then, His Majesty asked how much it would cost. Around 20,000 Baht [1], Sanun replied. Later, His Majesty gave 20,000 Baht of His Majesty’s personal money to the school to build the robot.

After that, Sanun and Sawasd Hongpromyatra, a director of radio department and a person who developed a remote controlled car, started building the robot. A body of the robot was built of aluminum frame. Head, face and hands of the robot were sculpted to looks realistic. Radio transceiver was installed in the body of the robot. The robot walked by electric motors and batteries installed in each foot.Each arm had one electric motor to enable up and down arm motion.

This robot was presented in Red Cross Expo in 1959 and drawn a lot of attention by visitors. It can walk, move its hands and do two-way voice conversation. All was done remotely via radio controlled. It was used for experimental study in long distance medical diagnostic, medical counselling, education and public relation.

From the Kanchanapisek Network

That was almost 60 years ago, before an industry started using an industrial robotic arm and before any documented human-robot interaction research [2]. It could be said that the doctor robot, to the best of our knowledge, is the first implemented telepresence medical robot in the world [3].

Long Live the King


ThaiRobotics

[1] Approximately 1 million Baht ($32,500) nowadays when comparing with the gold price in 1954 at $25.04/oz and today price at $1,700/oz or 50 times increased.
[2] Human-Computer Interaction (HCI) and Human-Robot Interaction (HRI)
[3] Robot Timeline

Image and source from Kanchanapisek Network and Sanook.com

LINE it!
The following two tabs change content below.
บ้าหุ่นยนต์ ชอบสร้างหุ่นยนต์ เชื่อว่าหุ่นยนต์จะช่วยให้ชีวิตของคนทุกระดับดีขึ้น และจะสร้างบริษัทหุ่นยนต์ระดับโลกที่ไทย!