ยุครุ่งเรืองของหุ่นยนต์ : ธุรกิจหุ่นยนต์บริการ

new-role-technology

*** บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งใน 8 บทความจาก นิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

เมื่อปลายปี พ.ศ. 2556 Amazon ได้ออกมาเปิดเผยว่ามีแผนจะนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ส่งสินค้า ถึงแม้จะมีความท้าทายทางเทคนิคและทำได้ยากแต่ก็ตกเป็นข่าวใหญ่ที่สื่อสนใจกันมาก ต่างจากก่อนหน้านี้ที่ Amazon ได้ซื้อ Kiva Systems บริษัทพัฒนาระบบจัดการสินค้าในคลังสินค้า นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงว่าผู้คนให้ความสนใจกับสิ่งใกล้ตัวมากกว่าถึงแม้ว่าจะมีโอกาสสำเร็จไม่มาก แต่ความสำเร็จที่ไกลตัวมันไม่ค่อยได้รับความสนใจ

Danny Hillis นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และผู้ประกอบการธุรกิจได้เคยกล่าวไว้ว่า เมื่อผู้คนพูดถึงเทคโนโลยี เขาหมายถึงอะไรที่ยังใช้งานไม่ค่อยได้ ถ้าของนั้นใช้งานได้ดีแล้วมันก็จะกลายเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ แค่นั้นเอง ตัวอย่างเช่น หลายคนไม่ได้มองว่าหุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นเป็นหุ่นยนต์ แต่ก็เป็นแค่เครื่องทำความสะอาดพื้น และผู้คนจำนวนไม่น้อยมองว่าหุ่นยนต์เป็นเรื่องของงานวิจัยที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ มีผู้ประกอบการรายหนึ่งถึงกับเอาคำว่า robotics ออกจากชื่อบริษัท เพราะกลัวว่าลูกค้าจะมองว่าสินค้าจะไฮเทคมากและอาจจะทำงานได้ไม่ดีนัก

หุ่นยนต์อาจจะไม่ได้มาในรูปแบบที่เราเห็นในนิยายวิทยาศาสตร์ แต่แฝงตัวในรูปแบบระบบอัตโนมัติในงานต่าง ๆ เช่น บริษัท Aethon ได้พัฒนา Tug หุ่นยนต์ขนของในโรงพยาบาล หน้าตาอาจจะไม่เหมือนหุ่นยนต์ที่มันช่วยขนของหนัก ๆ ไปมาในโรงพยาบาล ลดโอกาสที่คนงานจะได้รับความบาดเจ็บลงได้

บริษัท iRobot พัฒนา Ava หุ่นยนต์ telepresence ที่เคลื่อนที่ไปมาได้ในอาคาร มีกล้องและเซนเซอร์ให้หมอตรวจอาการคนไข้ได้ หรืออาจใช้สำหรับการพาเดินชมอาคาร/โรงงาน แต่ด้วยความที่ Ava ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปยังชั้นอื่นในอาคารได้ วิธีหนึ่งคือการมี Ava ในแต่ละชั้นที่ต้องการใช้งาน เมื่อต้องการไปที่ชั้นไหนก็แค่ไปควบคุม Ava ที่ประจำอยู่ในชั้นนั้น

ปัญหาการเคลื่อนย้ายข้ามชั้นในอาคารเป็นปัญหาหนึ่งที่ผู้พัฒนาหุ่นยนต์พบเจอ CoBot จาก Carnegie Mellon University ใช้วิธีการร้องขอให้คนช่วยกดลิฟท์ให้ การติดแขนให้หุ่นยนต์และโปรแกรมให้มันกดปุ่มลิฟท์เองได้เป็นเรื่องที่ยาก ต้องลงทุนเยอะ และไม่คุ้มทุน เมื่อเทียบกับสภาพการทำงานที่หุ่นยนต์ไม่ได้จำเป็นมากที่จะต้องเคลื่อนย้ายชั้น

มีหลายบริษัทที่พัฒนาหุ่นยนต์ออกมาเพื่อแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ให้ลูกค้าโดยคำนึงถึงการใช้งานจริง เนื่องจากหุ่นยนต์ยังมีข้อจำกัดหลายด้าน ระบบที่ออกแบบมาจะต้องทำงานได้ดีในหน้าที่ที่มันต้องทำ บางส่วนไม่จำเป็นต้องทำก็ให้มนุษย์ควบคุมก็ได้ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจหุ่นยนต์อยู่รอดคือแผนธุรกิจที่ดี หุ่นยนต์ที่จะขายต้องมีลูกค้าที่ต้องการจริง ๆ

ในอนาคต หลาย ๆ ระบบจะถูกทำให้เป็นระบบอัตโนมัติ และไม่ได้ถูกมองว่าเป็นหุ่นยนต์ แต่เบื้องหลังระบบเหล่านี้คือเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นเรียกระบบเหล่านี้ว่า robotech

ในอีกมุมหนึ่ง หุ่นยนต์ที่เห็นเป็นตัวหุ่นยนต์เลยก็อาจถูกนำมาหน้าที่อื่นและไม่ได้ถูกมองว่าเป็นหุ่นยนต์อีกเช่นกัน เช่น Bot & Dolly ได้นำแขนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาใช้ติดกล้องเพื่อใช้ในงานถ่ายทำภาพยนต์ ผู้ควบคุมไม่ได้สนใจว่าเขาใช้งานหุ่นยนต์อยู่ แค่รู้ว่าเขาสามารถสั่งให้กล้องเคลื่อนที่ตามที่เขาต้องการได้ จะทำอย่างไรไม่สำคัญ

อีกระบบหนึ่งที่จะค่อนข้างแน่นอนว่าจะกลายเป็นระบบอัตโนมัติ คือ รถยนต์บนท้องถนน และในที่สุด ผู้คนก็จะมองมันว่าเป็นแค่รถธรรมดา ไม่ใช่หุ่นยนต์พิเศษอะไร

ภาพ The Economist : Rise of the Robots – New roles for technology
ที่มา The Economist : Rise of the Robots – Business service robots

LINE it!
Loading Facebook Comments ...
Loading Disqus Comments ...