ยุครุ่งเรืองของหุ่นยนต์ : หุ่นยนต์บริการในบ้าน

new-role-technology

*** บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งใน 8 บทความจาก นิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

Takanori Shibata เริ่มทำงานเกี่ยวกับหุ่นยนต์ตั้งแต่ยุค 90 เข้าอยากสร้างหุ่นยนต์ที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุ แต่ก็พบว่าหุ่นยนต์ทำประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ เขาจึงตัดสินใจสร้างหุ่นยนต์ที่ไม่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ แต่นั่นกลับสร้างประโยชน์อย่างจริงจัง หุ่นยนต์ตัวนั้นคือ Paro หุ่นยนต์แมวน้ำที่มีรับรู้การสัมผัส และตอบสนองต่อการพูดคุยได้ Paro ได้ถูกนำมาใช้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตใจเป็นจำนวนมาก ประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุ และอีกหลายประเทศในโลกนี้กำลังก้าวสู่เส้นทางเดียวกัน งานดูแลผู้สูงอายุจะมีความสำคัญมาก

Cyberdyne บริษัทในญี่ปุ่นได้พัฒนาชุดที่สวมใส่ได้และออกแรงเสริมให้กล้ามเนื้อ เพื่อช่วยในการเดิน การยกของ

หุ่นยนต์ที่จะมาช่วยงานทั่ว ๆ ไปในบ้านอาจต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกนาน ความสามารถทางฮาร์ดแวร์นั้นเพียงพอต่อการทำงานในบ้านเกือบทั้งหมดหากให้มนุษย์บังคับ ดังนั้นสิ่งที่ขาดคือซอฟท์แวร์ที่ฉลาดขึ้นและกำลังประมวลผลที่มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งการประมวลผลบนกลุ่มเมฆ (cloud computing) สามารถช่วยได้

สิ่งสำคัญอีกอย่างสำหรับหุ่นยนต์ที่จะทำงานกับมนุษย์คือวิธีการติดต่อ สื่อสาร ควบคุมที่จะต้องทำได้ง่าย เช่น Baxter ใช้การจับแขนลากไปตามจุดที่ต้องการให้หุ่นยนต์ขยับแขนไป การออกแบบวิธีปฏิสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ ต้องคำนึงถึงการป้องกันการรับคำสั่งผิดพลาด แนวคิดที่ดีอย่างหนึ่งหากหุ่นยนต์ทำงานติดขัด ผิดพลาด คือให้หุ่นยนต์ขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ การออกแบบที่ดีจะทำให้มนุษย์รู้สึกยินดีที่จะช่วยเหลือ ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์

ภาพ The Economist : Rise of the Robots – New roles for technology
ที่มา The Economist : Rise of the Robots – Domestic service robots

LINE it!
Loading Facebook Comments ...
Loading Disqus Comments ...