หุ่นยนต์ล้อ origami

origami-wheel

Origami ศาสตร์การพับกระดาษของญี่ปุ่นไม่ได้มีดีแค่ความสวยงาม แต่ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางวิศวกรรมได้ด้วย เช่น พับชิ้นส่วนของแผงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เหลือเล็ก ๆ เพื่อให้ขนส่งได้ง่าย แล้วค่อยไปขยายตัวในอวกาศ ในงานด้านหุ่นยนต์ก็มีการนำเทคนิค Origami มาทำโครงสร้างหุ่นยนต์เช่นกัน ในงานประชุมวิชาการ  IEEE International Conference on Robotics and Automation (ICRA) ที่ผ่านมามีนักวิจัย 2 กลุ่มที่นำเทคนิค Origami มาใช้ทำล้อหุ่นยนต์ได้อย่างน่าสนใจมาก

กลุ่มแรกจาก BioRobotics Laboratory, Seoul National University พัฒนาล้อหุ่นยนต์ที่พับขึ้นจากรูปแบบ magic ball แล้วใช้ต้นกำลังหนึ่งตัวในการทำให้ล้อลูกบอลนี้ขยายตัวหรือหดตัวได้ ล้อใหญ่ช่วยให้ปีนป่ายได้ดี ล้อเล็กทำให้หุ่นยนต์มีขนาดเล็กวิ่งผ่านที่แคบได้

งานวิจัยนี้นำเสนอในหัวข้อ “Fabrication of Origami Wheel Using Pattern Embedded Fabric and Its Application to a Deformable Mobile Robot” โดย Dae-Young Lee, Ji-Suk Kim, Jae-Jun Park, Sa-Reum Kim และ Kyu-Jin Cho จาก Seoul National University

อีกกลุ่มจาก Microrobotics Lab, Harvard University ร่วมกับ Seoul National University พัฒนาล้อที่ขยายหรือหดได้เองอัตโนมัติตามแรงบิด (torque) ที่ต้องการ โดยปกติเมื่อใช้ต้นกำลังขนาดเท่ากัน ล้อเล็กจะได้แรงบิดสูงแต่ความเร็วต่ำ ในขณะที่ล้อใหญ่จะได้แรงบิดต่ำแต่ความเร็วสูง การที่ล้อสามารถเปลี่ยนขนาดได้เองตามแรงบิดที่ต้องการทำให้มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง

งานวิจัยนี้นำเสนอในหัวข้อ “A Passive, Origami-Inspired Continuously Variable Transmission” โดย Samuel M. Felton, Dae-Young Lee, Kyu-Jin Cho และ Robert J. Wood จาก Harvard University และ Seoul National University

เป็นเทคนิคที่น่าสนใจมากทั้ง 2 งานเลย

ภาพและที่มา IEEE Spectrum Automaton

LINE it!