นักวิจัยพัฒนากุหลาบไซบอร์กได้แล้ว

cyborg-rose

ภาพยนต์วิทยาศาสตร์หลายเรื่องชี้ให้เห็นว่าหุ่นยนต์เชิงกลไกล้วน ๆ ไม่ใช่สุดยอดแห่งเทคโนโลยี แต่เป็นไซบอร์ก (cybernetic organism) ลูกผสมระหว่างสิ่งมีชีวิตทางชีวภาพและจักรกลหุ่นยนต์ต่างหากที่เหนือกว่า งานวิจัยหลายชิ้นได้พยายามฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงไปในสัตว์ แต่วันนี้นักวิจัยกลุ่มหนึ่งสามารถปลูกระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในต้นไม้ได้แล้ว

นักวิจัยจาก Laboratory of Organic Electronics ที่ Linköping University ในสวีเดน ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัย Electronics plants ในวารสาร Science Advances นักวิจัยกลุ่มนี้ได้พัฒนาโพลีเมอร์ชื่อ PEDOT-S ซึ่งสามารถถูกกุหลาบดูดซึมเข้าไปพร้อมกับน้ำได้ เมื่อโพลีเมอร์นี้เข้าไปในระบบท่อน้ำเลี้ยงของกุหลาบก็จะทำหน้าที่เป็นเสมือนสายไฟเดินไปตามระบบท่อน้ำเลี้ยง ทำให้สามารถรับ-สังสัญญาณไฟฟ้าผ่านระบบท่อน้ำเลี้ยงได้ ในพืชเองก็มีสารต่าง ๆ ที่นำไฟฟ้าได้ เมื่อระบบสายไฟของโพลีเมอร์นี้ไปเชื่อมต่อกับสารต่าง ๆ ในกุหลาบก็ทำหน้าที่เป็นเสมือนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน เช่น ทรานซิสเตอร์หรือลอจิกเกตได้ จากองค์ประกอบพื้นฐานเหล่านี้ นักวิจัยสามารถทำให้ใบของกุหลาบเปล่งแสงสีต่าง ๆ ได้

งานวิจัยนี้เปิดโอกาสที่ยิ่งใหญ่มากมายในอนาคต เราสามารถเอาพลังงานจากการสังเคราะห์แสงของพืชมาใช้ได้ สามารถปลูกเซนเซอร์ลงไปในต้นไม้ ใช้ต้นไม้เป็นเสาอากาศ ทำให้ต้นไม้กลายเป็นเครือข่ายเซนเซอร์ได้ สามารถนำมาพัฒนาวัสดุใหม่ ๆ ได้ และในขณะเดียวกัน เราก็ได้เรียนรู้ชีววิทยาของพืชได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ภาพ Science Advances – Electronics plants
ที่มา POPULAR SCIENCE

LINE it!