นักวิจัยใส่หางให้หุ่นยนต์ ทำให้ทรงตัวดีขึ้น

นักวิจัยจาก Center for Interdisciplinary Bio-Inspiration in Education and Research  (CiBER) และ PolyPEDAL Lab จาก University of California, Berkeley ได้ศึกษาการใช้หางของกิ้งก่าในการช่วยทรงตัว และนำมาทดสอบบนรถวิทยุบังคับ ส่งผลให้รถมีการทรงตัวดีขึ้นเวลาลอยจากพื้น

ธรรมชาติได้ลองผิดลองถูกมาเป็นล้านๆ ปีแล้ว ทำให้บรรดาสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติทำอะไรได้อย่างน่าทึ่ง และมนุษย์ก็พยายามเลียนแบบ อีกหนึ่งเรื่องที่นักวิจัยจาก UC Berkeley กำลังศึกษาคือ การใช้หางช่วยในการทรงตัวขณะลอยอยู่กลางอากาศของกิ้งก่า โดยให้กิ่งก่าวิ่งบนพื้นที่มีความลื่นต่างกัน แล้วกระโดดขึ้นไปยังกำแพง พื้นที่ลื่นต่างกันทำให้ท่าท่างการออกตัวสู่อากาศต่างกัน แต่ไม่ว่าด้วยสถานการณ์ใด กิ่งก่าก็เกาะบนกำแพงได้สำเร็จโดยไม่หงายหลัง หรือหน้าคว่ำ เทคนิคที่กิ้งก่าใช้คือการปรับทิศทางการชี้ของหาง ซึ่งจะช่วยสร้างโมเมนต์เพื่อให้ลำตัวกลับมาอยู่ในมุมหรือทิศทางที่เหมาะสม

เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ทีมนักวิจัยก็ติดหางให้กับรถวิทยุบังคับ แล้วทดลองให้รถวิ่งพุ่งไปในอากาศ วิ่งสะดุดสิ่งกีดขวาง ตกจากที่สูง เปรียบเทียบแบบไม่มีหาง มีหางแต่ไม่บังคับ และมีหางแบบบังคับได้ ผลน่าประทับใจมาก การมีหางที่ควบคุมได้ช่วยให้รถทรงตัวได้ดีขึ้นมาก

งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์กับหุ่นยนต์/ยานพาหนะที่วิ่งบนพื้นที่วิบากหน่อย มีช่วงที่ตัวลอยจากพื้น ใครจะทำหุ่นยนต์กู้ภัยติดหางก็ไม่ว่ากันละงานนี้ (จริงๆ ก่อนหน้านี้ก็มีงานวิจัยคล้ายๆ กันนี้กับหุ่นยนต์ลักษณะอื่น เช่น หุ่นยนต์วิ่งบนน้ำ จาก NanoRobotics Labs จาก Carnegie Mellon University )

ใครอยากอ่าน paper ก็ดูได้ที่ Nature, IEEE XPlore

ที่มา IEEE Spectrum Automaton
ภาพจาก  IEEE Spectrum Automaton

LINE it!
Loading Facebook Comments ...
Loading Disqus Comments ...