DARPA Robotics Challenge รอบ simulation จบลงแล้ว

การแข่งขันหุ่นยนต์ที่สุดหินและน่าติดตามมากที่สุดในตอนนี้คงหนีไม่พ้น DARPA Robotics Challenge ซึ่งการแข่งขันสาย simulation ได้จบลงแล้ว ในการแข่งขันนี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องพัฒนาระบบควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงานได้แบบ supervised autonomy กล่าวคือ ทำงานได้อัตโนมัติในระดับหนึ่ง และมีคนคอยควบคุมด้านการตัดสินใจ เช่น ผู้ควบคุมสั่งให้หุ่นยนต์เดินไปข้างหน้า หุ่นยนต์จะเดินไปเอง สั่งให้เปิดประตู หุ่นยนต์จะเอื้อมมือไปเปิดเอง ผู้ควบคุมไม่ต้องควบคุมข้อต่อแต่ละข้อของหุ่นยนต์เองทั้งหมด ระบบควบคุมของผู้เข้าแข่งขันจะรับข้อมูลการจำลองค่าของเซนเซอร์จาก simulation เพื่อมาแสดงให้ผู้ควบคุมรับรู้ และส่งสัญญาณควบคุมกลับไปยังหุ่นยนต์ใน simulation ตัวระบบ simulation เองยังมีการจำลองความล่าช้าของสัญญาณ (latency) และความกว้างของช่องสัญญาณ (bandwidth) ที่ไม่คงที่ มากบ้าง น้อยบ้าง เพื่อจำลองการทำงานในสภาพแวดล้อมจริง

vrc

การแข่งขันในรอบ simulation นี้ มี 3 ภารกิจ แข่งภารกิจละ 5 รอบ ได้แก่

  1. การเข้าไปในรถ ขับรถ และออกจากรถ
  2. เดินบนพื้นที่เป็นโคลน พื้นที่ไม่เรียบ และซากปรักหักพัง
  3. การต่อสายยาง และเปิดวาล์ว

ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อรับหุ่น ATLAS ไปพัฒนาเข้าแข่งขันในรอบต่อไปมีอยู่ 9 ทีม ได้แก่

  1. Team IHMC, Institute for Human and Machine Cognition, Pensacola, Florida
  2. WPI Robotics Engineering C Squad (WRECS), Worcester Polytechnic Institute, Worcester, Massachusetts
  3. MIT, Massachusetts Institute of Technology, Cambridge, Massachusetts
  4. Team TRACLabs, TRACLabs, Inc., Webster, Texas
  5. JPL / UCSB / Caltech, Jet Propulsion Laboratory, Pasadena, California
  6. TORC, TORC / TU Darmstadt / Virginia Tech, Blacksburg, Virginia
  7. Team K, Japan
  8. TROOPER, Lockheed Martin, Cherry Hill, New Jersey
  9. Case Western University, Cleveland, Ohio

ในรอบต่อไปซึ่งจะแข่งในเดือนธันวาคม จะใช้หุ่นยนต์ ATLAS ในการแข่งขันจริง ๆ มี 8 ภารกิจ

  1. ขับรถ
  2. เดินในที่ปรักหักพัง
  3. ย้ายซากปรักหักพังที่ขวางทางเดิน
  4. เปิดประตู
  5. ปีนบันได
  6. ใช้เครื่องมือทำลายผนังคอนกรีต
  7. ค้นหาและปิดวาล์วที่รั่ว
  8. ค้นหาและถอดเปลี่ยนปั๊ม

มารอดูกันต่อไปว่าการแข่งขันด้วยหุ่นยนต์จริง ๆ จะสนุกเร้าใจขนาดไหน

ภาพ Rohohub
ที่มา Rohohub และ IEEE Spectrum Automaton

LINE it!
Loading Facebook Comments ...
Loading Disqus Comments ...