โค้งสุดท้ายก่อนเข้าสู่ DARPA Robotics Challenge รอบแรก

drc-trial-2013-robot

เหลืออีกเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น ก่อนที่ DARPA Robotics Challenge Trial 2013 การแข่งรอบแรกที่จะใช้หุ่นยนต์จริง ๆ ลงประลองสนาม ในวันที่ 20 – 21 ธันวาคม ที่ Florida’s Homestead Miami Speedway (ก่อนหน้านี้มีการแข่งรอบ simulation ไปแล้ว 1 รอบ) มาแอบดูหุ่นยนต์ที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้กัน

ทีมจากสาย A ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก DARPA ในการสร้างหุ่นยนต์

DRC-Hubo

นำทีมโดย Drexel University นำหุ่นยนต์ Hubo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ humanoid มาดัดแปลง ส่งแข่งขัน เพื่อให้สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์แยกจากกันได้ ทีม Drexel มี Hubo อยู่ทั้งหมด 7 ตัว แต่ละตัวจะถูกนำไปพัฒนาเพื่อตอบโจทย์แต่ละข้อของการแข่งขัน

หยิบสายดับเพลิง

เจาะกำแพง

ขับรถ

เคลื่อนย้ายซากปรักหักพัง

ปีนบันได

RoboSimian

จาก NASA Jet Propulsion Laboratory สร้างหุ่นยนต์ RoboSimian ขึ้นเลียนแบบลิง มีระยางเอนกประสงค์ 4 ข้างซึ่งสามารถใช้เดินได้อย่างมีเสถียรภาพ ปีนป่ายบันได หรือใช้ในการหยิบจับสิ่งของก็ได้ ระยางทั้ง 4 ข้างมีลักษณะเหมือนกัน ทำให้ออกแบบ สร้างและดูแลได้ง่าย แต่ละข้างมี 7 องศาอิสระ มีแบตเตอรี่ในตัว ลำตัวขนาดเล็ก ทำให้เคลื่อนย้ายได้ง่าย

SCHAFT

จาก SCHAFT Inc. สร้างหุ่นยนต์ 2 ขาที่ต่อยอดมาจากหุ่นยนต์ HRP-2

schaft

Tartan Rescue

จาก Carnegie Mellon University และ National Robotics Engineering Center สร้างหุ่นยนต์ชื่อ CHIMP (CMU Highly Intelligent Mobile Platform) มีโครงสร้างคล้ายมนุษย์คือ มี 2 แขน 2 ขา แต่มีสายพานเพิ่มขึ้นมา เพื่อให้เคลื่อนที่ผ่านพื้นที่ขรุขระได้ง่าย

เคลื่อนที่บนพื้นที่ขรุขระ

ก้ม – ยืน

เปิดวาล์ว

ใช้สว่านมือ

NASA JSC

จาก NASA Johnson Space Center สร้างหุ่นยนต์ Valkyrie ส่งแข่งขัน โดยใช้ประสบการณ์จากการพัฒนาหุ่นยนต์ Robonaut เพื่อใช้ในสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS – International Space Station) แต่เนื่องจากหุ่นยนต์ในอวกาศไม่ต้องกังวลเรื่องแรงโน้มถ่วงและการล้ม ทำให้การสร้างหุ่นยนต์เพื่อทำงานบนพื้นดินมีความท้าทายมาก Valkyrie สูง 1.9 เมตร หนัก 125 กิโลกรัม มีองศาอิสระทั้งหมด 44 องศาอิสระ มีแขน 7 องศาอิสระ 2 ข้างที่เหมือนกัน ทำให้สามารถสลับเปลี่ยนกันได้ และด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงการแข่งขันในภารกิจสุดโหด จึงมีการคำนึงถึงการซ่อมบำรุงตั้งแต่แรกเลย ทำให้การเปลี่ยนแขนใหม่เข้าไปแทนแขนที่เสียหายทำได้ในไม่กี่นาที Valkyrie มีแบตเตอรี่อยู่ที่กระเป๋าหลังสามารถปฎิบัติงานได้ 1 ชั่วโมง และสามารถถอดเปลี่ยนได้ง่ายเช่นกัน จุดเด่นอีกอย่างของ Valkyrie คือมีผิวด้านนอกที่นิ่ม ในขณะที่หุ่นยนต์ตัวอื่น ๆ มักจะสร้างโครงที่แข็งแรงป้องกันการล้มกระแทก Valkyrie ใช้วัสดุอ่อนนุ่มเช่นวัสดุจำพวกผ้าและโฟมในการห่อหุ้ม เพื่อลดแรงกระแทกและยังเป็นมิตรต่อมนุษย์ที่ทำงานอยู่ใกล้ชิดอีกด้วย จุดที่น่าสนใจอีกอย่างคือ เนื่องจากบริเวณหน้าอกของ Valkyrie มีกลไกติดตั้งอยู่ ทำให้ดูใหญ่นูนออกมาเหมือนหน้าออกผู้หญิง และ Valkyrie ยังเป็นชื่อเทพเจ้าที่เป็นเพศหญิงอีกด้วย ในขณะที่หุ่นยนต์ตัวอื่นที่ปฏิบิติหน้าที่โหด ๆ อย่างนี้มักมีชื่อและลักษณะเป็นเพศชาย

THOR

นำทีมโดย RoMeLa ที่ Virginia Tech สร้างหุ่นยนต์ humanoid ชื่อ THOR (Tactical Hazardous Operation Robot) และ THOR-OP จากประสบการณ์การสร้างหุ่นยนต์ humanoid ที่ประสบความสำเร็จหลายตัว เช่น DARwIn, CHARLI, SAFFiR ในขณะที่ THOR ใช้ต้นกำลังแบบ series elastic actuator ที่ Virginia Tech พัฒนาขึ้นใหม่ และระบบควบคุมการเดินแบบควบคุมโมเมนตัม THOR-OP ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้ทดสอบในขณะที่ THOR ยังสร้างไม่เสร็จ ใช้ต้นกำลังและระบบควบคุมการเดินที่ใช้ในหุ่นยนต์ humanoid ทั่วไป คือ ควบคุมตำแหน่งของต้นกำลังแต่ละตัว และเดินแบบ ZMP

ทีมสาย B และ C ที่ได้รับหุ่นยนต์ ATLAS ไปใช้แข่งขัน

มีทั้งหมด 7 ทีม ได้แก่ IHMC Robotics, MIT, Team HKU, Team TRACLabs, Team TROOPER, Team ViGIR, WRECS

ทีมสาย D ที่สร้างหุ่นยนต์เองโดยไม่ได้รับทุนจาก DARPA

Chiron

จาก Kairos Autonomi สร้างหุ่นยนต์ 6 ขา เข้าแข่งขัน หุ่นยนต์ 6 ขาสามารถเดินบนพื้นที่ขรุขระได้อย่างมั่นคง และช่วยให้การเคลื่อนที่เพื่อหยิบจับสิ่งของเป็นไปได้อย่างแม่นยำ

chiron

Intelligent Pioneer

ทีมจากประเทศจีน ใช้ ROS เป็นระบบปฏิบัติการของหุ่นยนต์

intelligent-pioneer

KAIST

ใช้หุ่นยนต์ Hubo เข้าแข่งขัน

hubo

Mojavaton

สร้างหุ่นยนต์ 4 ขาชื่อ Buddy เข้าแข่งขัน หุ่นยนต์ 4 ขาทำให้เคลื่อนที่ได้มีเสถียรภาพมากกว่าหุ่นยนต์ 2 ขา ทำให้ทีมสามารถทุ่มแรงลงไปในการพัฒนาส่วนอื่น ๆ ได้มากกว่า โครงสร้างของหุ่นยนต์สร้างด้วยพลาสติกจากเครื่องพิมพ์สามมิติ ทำให้มีน้ำหนักเบา และผลิตชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปด้วยวิธีอื่นได้ยากได้

buddy

ภาพ

ที่มา

LINE it!