Economic Report of the President ว่าด้วยเรื่อง “อนาคตของหุ่นยนต์”

PresidentReport

 

นี่เป็นครั้งแรกที่รายงานประจำปี Economic Report of the President ซึ่งทำเนียบขาวนำเสนอต่อรัฐสภา มีเรื่องหุ่นยนต์บรรจุเข้าไปด้วย รายงานนี้ออกมาเป็นรูปเล่มในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีความยาว 435 หน้า แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีหุ่นยนต์มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในด้านยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระดับโลก

chapter

 

ในภาพรวมของรายงานระบุว่า ผลิตผลและตัวเลขการจ้างงานขยายตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอันเนื่องมาจากการเข้ามาของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ แม้จะมีความกังวลว่าตำแหน่งงานจะหายไป แต่โดยสถิติแล้ว ตัวเลข GDP กลับโตขึ้น 10% และตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้น 16%

ถึงแม้ว่าในรายงานจะให้น้ำหนักกับสตาร์ตอัปว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่ในระยะเวลา 40 ที่ผ่านมา ตัวเลขการลงทุนและจำนวนบริษัทหน้าใหม่นั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการสังเกตปัจจัยสนับสนุนที่อยู่เบื้องหลังผู้ประกอบการและนวัตกรรมต่าง ๆ  พบว่ามีอยู่สองเทคโนโลยีที่จะเป็นตัวสานต่ออนาคตของเศรษฐกิจ นั่นคือ หุ่นยนต์และอินเทอร์เน็ต

5_3
จำนวนบริษัทใหม่เข้าสู่ตลาดลดลง บริษัทเก่าที่ออกตลาดไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง

 

5_2
มูลค่าการลงทุนในปี ค.ศ. 2015 ลดลงจากปี ค.ศ. 2014 อย่างไรก็ตามการลงทุนในซิลิคอนวัลเลย์ล่าสุดยังเพิ่มขึ้น (และเป็นทุนต่างชาติเสียด้วย)

ในกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เงินทุนด้านการวิจัย (R&D) ที่สนับสนุนมาจากรัฐลดลง แต่เงินทุนทางภาคเอกชนกลับเพิ่มมากขึ้น โดยเม็ดเงินนั้นลงไปในอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหลัก (มากถึง 75% ของการเติบโตในงานด้าน R&D ทั้งหมด)

 

5_5

 

สหรัฐฯ ลงทุนด้าน R&D มากที่สุดในโลก (คิดเป็น 30% ของทั้งโลก) รองลงมาคือจีน (คิดเป็น 30% ของทั้งโลก) การฟ้องร้องคดีสิทธิบัตรเป็นปัจจัยสร้างความถดถอยให้กับการเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ และผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ทั่วสหรัฐฯ และผลงานที่มีการฟ้องร้องสิทธิบัตรกันมาก เม็ดเงินลงทุนก็จะลดลงตามไปด้วย

ในรายงานได้เน้นย้ำถึงผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ทั้ง หุ่นยนต์และการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่มีประเด็นเรื่องการเข้ามาทดแทนแรงงานคนเป็นหลัก ในขณะที่อินเทอร์เน็ต มีสองสิ่งที่น่าจับตามองคือ เศรษฐกิจตามความต้องการรายบุคคล (on-demand economy) และความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ (digital divide) เศรษฐกิจตามความต้องการรายบุคคลจะมีผลกระทบอย่างหนักต่อตลาดแรงงานมากกว่าหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ แต่ส่วนใหญ่แล้วคนมักจะมองเห็นไม่ชัดเท่าการมาของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
(ปกตินักเศรษฐศาสตร์จะมองถึงผลกระทบของเทคโนโลยีต่อตลาดแรงงานใน 2 แง่มุม คือ 1. เทคโนโลยีช่วยเพิ่มผลิตผล/ช่วยให้คนทำงานได้มากขึ้น และ 2. เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่แรงงาน)

มีการคาดการณ์ว่าเทคโนโลยีหุ่นยนต์จะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในสหรัฐฯ เช่นเดียวกับที่เครื่องจักรไอน้ำเคยเป็นมาก่อน ในช่วงปี ค.ศ. 1993 ถึงปี ค.ศ. 2007 หุ่นยนต์ทำให้ GDP แต่ละปีโตขึ้น 0.37%  ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 10 ของการเติบโตของ GDP ตลอดช่วงเวลานั้น (อ้างอิง Graetz และ Michaels 2015) ในรายงานการศึกษาเดียวกันระบุว่าเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพิ่มผลิตผลแรงงาน (labor productivity) 0.36% คิดเป็น 16% ของผลิตผลแรงงานตลอดช่วงเวลานั้น สิ่งที่จะบอกคือ ผลกระทบต่อผลิตผลแรงงานระดับเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วตอนที่เครื่องจักไอน้ำทำไว้ (อ้างอิง Crafts 2004)

5_11
ยอดขายหุ่นยนต์เพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงเวลา 10 ปี

มีสิทธิบัตรเกี่ยวกับหุ่นยนต์ผุดขึ้นมาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (ก่อนหน้านั้นสิบปี จำนวนแทบไม่ขยับ) ณ ตอนนี้ มีหลักฐานเล็กน้อยที่สามารถบ่งบอกได้ว่า การเป็นเจ้าของสิทธิบัตรเหล่านี้สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเจ้าของกิจการ ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยราคาที่ต่ำลง การที่ราคาต่ำลงนี้จะช่วยให้บริษัทจำนวนมากอีกหลายบริษัทที่อยู่ปลายน้ำ (ของห่วงโซ่อุปทาน) มีโอกาสซื้อหุ่นยนต์ไปใช้ ซึ่งจะส่งผลเป็นระลอกคลื่นออกไป ทำให้ผลิตผลรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้นในที่สุด

จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา คลื่นเทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้แรงงานบางส่วนหายไป แต่ผลิตผลเพิ่ม สร้างความมั่งคั่ง และสร้างตำแหน่งงานใหม่ ๆ นักเศรษฐศาสตร์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หุ่นยนต์จะเข้ามาเพิ่มผลิตผล ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความมั่งคั่งและตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้น (อ้างอิง Piketty 2013)

5_15

คลื่นการเปลี่ยนแปลงลูกก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่าจะมีงานใหม่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ ส่วนงานเก่าจะค่อย ๆ หายไป (อ้างอิง Autor 2015) ตัวอย่างในช่วงการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับยานพาหนะจากม้าไปเป็นรถยนต์ งานอย่างคนดูแลม้าตามโรงแรมและช่างตีเหล็กรูปเกือกม้านั้นลดลง แต่จะมีอาชีพใหม่อย่างพนักงานบริการตามสถานีจ่ายน้ำมันและร้านซ่อมรถ ช่วงที่สังคมพยายามจะเคลื่อนย้ายแรงงานจาก(ทักษะ)งานเก่าไปยัง(ทักษะ)งานใหม่นี้เรียกว่า “technological unemployment”,  Keynes (1930) กล่าวไว้

งานที่ใช้ทักษะระดับกลาง เช่น คนทำบัญชี พนักงานประกอบชิ้นงานในไลน์การผลิต มีโอกาสถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติได้มากกว่างานที่ใช้ทักษะระดับสูง เพราะว่าต้องใช้ความสามารถในการแก้ปัญหา ใช้สัญชาตญาณ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า AI อาจจะเข้ามาทำงานที่ใช้ทักษะระดับสูงนี้แทนได้ในอนาคต

โดยสรุป White House report ได้อธิบายถึงนโยบายใหม่ ๆ และนโยบายที่นำเสนอให้เกิดขึ้นในอนาคต ว่าด้วยการปรับโครงสร้างภาษีธุรกิจ เพิ่มการสนับสนุนให้กับภาคการผลิต เทคโนโลยีหุ่นยนต์ งานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ การขึ้นอัตราค่าจ้าง การเริ่มปรับทักษะแรงงานให้เข้ากับงานในอนาคต และสนับสนุนความเป็นผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง

ส่วน The Economic Report of the President ชี้เป้าว่าสหรัฐฯ จะนำหุ่นยนต์เข้ามาขับเคลื่อนภาคการผลิต จะใช้หุ่นยนต์ในภาคการบริการและธุรกิจเพื่อรองรับความต้องการของสังคมในส่วนต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม หรือ สังคมผู้สูงอายุ ทั้งหมดนี้จะต้องทำให้นวัตกรรมและเศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วย

ที่มาและภาพ Robohub

LINE it!