หากว่าเราจะสร้าง Collaborative Robot

robot_infographic_2016

ปัจจุบัน Collaborative robot (หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์) มีความน่าสนใจมากขึ้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหุ่นยนต์ชนิดอื่น ๆ หน่วยงานที่ผลักดันงานวิจัยทางด้านหุ่นยนต์ของสหรัฐฯ National Robotics Initiative (NRI) ซึ่งอยู่ภายใต้ National Science Foundation (NSF) ได้สรุปคำถามสำคัญ ๆ และแนวคำตอบที่จะผลักดันไปสู่การสร้างหุ่นยนต์ให้มีความสามารถนั้น ๆ ไว้ดังนี้

  1. ทำอย่างไรให้หุ่นยนต์เข้าใจสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวมันเองได้ – การพัฒนาความสามารถของเซนเซอร์จะทำให้หุ่นยนต์รับรู้ข้อมูลต่าง ๆ รอบตัวได้มากขึ้น
  2. ทำอย่างไรให้หุ่นยนต์ตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ในสภาวการณ์ที่มีความซับซ้อนได้ – งานวิจัยด้านการรับรู้ (cognition) ของสมองมนุษย์จะช่วยให้เราสามารถโปรแกรมการทำงานของหุ่นยนต์ในการแปรผลข้อมูลต่าง ๆ ที่รับมาจากเซนเซอร์ได้ง่ายขึ้น
  3. ทำอย่างไรให้หุ่นยนต์พูดคุยกับมนุษย์ได้ – ความก้าวหน้าในสาขาวิชา Natural language processing and speech จะทำให้หุ่นยนต์เข้าใจภาษามนุษย์ได้ทั้งทางเสียง หน้าตา และท่าทางในระหว่างที่พูดคุย-มีปฏิสัมพันธ์กัน
  4. หุ่นยนต์จะสร้างผลกระทบต่อสภาพสังคมได้อย่างไร – การศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านอารมณ์และการแสดงออกของมนุษย์จะช่วยสร้างความก้าวหน้าให้กับการสร้างหุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ (Humanoid robot) ที่สามารถรับรู้และแสดงอารมณ์ได้
  5. ทำอย่างไรให้หุ่นยนต์เคลื่อนไหวได้หลากหลายท่าทาง – การวิจัยทางด้านการเคลื่อนไหว (Motion) จะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในการทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปในหลายสภาพพื้นที่ การหยิบจับของชิ้นเล็ก ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว
  6. ทำอย่างไรให้หุ่นยนต์ทำงานได้ดีที่สุด – การศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือในการวัดผลเชิงคุณภาพจะช่วยให้เกิดการประเมินผลหุ่นยนต์แต่ละตัวอย่างต่อเนื่อง การวิจัยด้านความยืดหยุ่น (resiliency research) ในการตัดสินใจ (เชิงจิตวิทยา) จะทำให้หุ่นยนต์กล้าทำบางอย่างได้แม้ว่าจะทำให้ตัวมันเองเสียหายก็ตาม

ที่มาและภาพ Robohub

LINE it!