ภาพสีภาพแรกจาก Curiosity บนดาวอังคาร

รูปถ่ายตอนบ่ายของวันแรกที่ลงจอด โดยทีมงานเรียกวันนี้ว่าวัน Sol 1 (เริ่มนับวันที่ 6 สิงหาคม 2012) โดยกล้อง Mars Hand Lens Imager (MAHLI) โดยทีมงานติดตั้ง MAHLI ที่ปลายของแขนและมีที่ครอบกันฝุ่นใสบังอยู่ รูปนี้ถ่ายโดยที่ยังปิดฝาครอบอยู่ โดยจะเปิดที่ครอบฝุ่นนี้ในอีกหลายสัปดาห์ข้างหน้า กล้อง MAHLI นี้ไม่ใช่กล้องตัวเดียวบนหุ่นและมีความละเอียดที่ 2 ล้านพิกเซล (1600 × 1200 พิกเซล) เท่ากันกับกล้องตัวอื่น ใช้เซนเซอร์ชนิด CCD […]

Read more

เก็บตกจากโอลิมปิกส์ BiOM โดย iWalk ก้าวเพื่อคนพิการสู่อนาคต

Oscar Pistorius นักวิ่งไร้ขาทีมชาติแอฟริกาใต้ ที่แม้เขาจะไม่ได้เหรียญอะไรในโอลิมปิกส์แต่ก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลาย ๆ คนรวมทั้งศาสตราจารย์ Hugh Herr แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์และผู้ก่อตั้งบริษัท iWalk เจ้าของสิ่งประดิษฐ์ BiOM ซึ่งตัวเขาเองก็พิการสูญเสียขาทั้งสองข้างจากอุบัติเหตุปีนเขาเมื่อ 30 ปีก่อน Flex-Foot Cheetah เท้าคาร์บอนไฟเบอร์เทียมที่ Pistorius ใส่สร้างจากคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งทำหน้าที่แทนสปริงเพื่อดีดตัวขึ้น โดยทั่วไปสปริงแบบนี้คืนพลังงานกลับมาแค่ 50% เท่านั้น แต่ BiOM นี้เป็นการเสริมมอเตอร์แทนกล้ามเนื้อเข้าไปด้วย โดยมอเตอร์จะทำหน้าที่ดึงสปริงเพื่อคืนพลังงานส่งให้กับการเดินแต่ละก้าว หากแต่ BiOM นี้ยังไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้สวมวิ่งเช่น Cheetah […]

Read more

หุ่นยนต์หั่นหมู ราคา 1.3 ล้านบาท

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์นั้นไม่จำกัดว่าหุ่นยนต์ต้องรูปร่างคล้ายมนุษย์ก็ได้ หุ่นยนต์ตัวนี้ชื่อ Libra 615C เป็นเครื่องหั่นหมูที่ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ผลิตโดยบริษัท Nantsune ซึ่งเป็นบริษัทขายเครื่องหั่นเนื้อ ความเจ๋งของเครื่องนี้ไม่ใช่หั่นเนื้อหมูทุกชิ้นให้ความหนาเท่ากัน แต่เป็นการหั่นเนื้อแล้วแต่ละชิ้นมีน้ำหนักเท่ากันโดยการผันแปรความหนาของเนื้อหมูแต่ละชิ้น เครื่องนี้ทำงานโดยผ่านเนื้อหมูชิ้นใหญ่เข้าส่วนสแกนสามมิติเพื่อสร้างแบบจำลองก่อนเนื่องจากหมูแต่ละชิ้นนั้นมีรูปร่างไม่เหมือนกัน แล้วจึงหั่นด้วยความเร็ว 6,000 ชิ้นต่อชั่วโมง เริ่มขายมาสักระยะแล้วด้วยราคา 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.3 ล้านบาท! ต่อไปนี้เราจะเห็นหมูในซูเปอร์ขายราคาเท่า ๆ กันทุกแพ็คกันแล้ว วิดีโอ DIGINFO.TV ที่มา DIGINFO.TV

Read more

ROBODEN สายไฟยืดได้สำหรับหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์

ใครเคยทำงานเกี่ยวกับหุ่นยนต์มักเจอปัญหาการเชื่อมต่อสายไฟระหว่างหุ่นยนต์บ้างแน่ ๆ  เพราะหุ่นยนต์มีการเคลื่อนที่จึงมักมีปัญหาว่าหากสายไฟหย่อนก็จะเกะกะพื้นที่ทำงาน หากตึงไปก็อาจจะดึงเอาอุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ ตามไปด้วย สายไฟที่ถูกเรียกว่า ROBODEN สร้างโดยบริษัท Asahi Kasei Fibers เป็นสายไฟแบบยืดหยุ่นที่ทำให้เราแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ดีขึ้น ROBODEN ถูกสร้างขึ้นพื่อใช้ในหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ หรือหุ่นยนต์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์อีกด้วย โดยมีความยืดหยุ่นราว 1.5 เท่าคล้ายกับกล้ามเนื้อของมนุษย์ และมีทั้งรูปแบบสายข้อมูลอย่าง USB หรือสายไฟเพื่อป้อนกำลังอีกด้วย วิดีโอหลังเบรกครับ วิดีโอ DIGINFO.TV ที่มา DIGINFO.TV

Read more

[ICRA 2012] วันสุดท้าย

วันที่สามนี้เป็นวันสุดท้ายของงานสัมมนาวิชาการนี้ครับ  (ไม่นับวันเวิร์คชอปวันจันทร์และวันศุกร์) ขออภัยที่ไม่ได้อัปเดตตรงวัน เพราะว่าเนื้อหาเยอะ วันนี้มีไฮไลต์ที่งานแจกรางวัลให้กับบุคคลที่สำคัญในวงการหุ่นยนต์, ประกาศชื่อ IEEE  Fellow ในสาขาหุ่นยนต์ประจำปีนี้ และ งานวิจัยดีเด่นในงานสัมมนานี้ครับ ที่เด่น ๆ มี Bernard Roth รางวัล 2012 IEEE Robotics and Automation Award เกี่ยวกับงานกลศาสตร์หุ่นยนต์ การควบคุมวัตถุ และงานออกแบบ Jean-Claude Latomb รางวัล Pioneer in […]

Read more

[ICRA 2012] วันที่ 2

วันนี้เรื่องน่าตื่นเต้นน้อยลงจากวันแรกครับ โดยวันนี้ไม่ค่อยมีเซสชันไหนที่คนล้นห้อง (ผู้จัดงานเปิดโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับห้องที่ล้น แต่โดยมากมันจะเปิดหลังห้องนั้นล้นไปแล้ว ไม่ทันเรื่องที่กำลังเสนออยู่สักที) ในวันที่สองนี้มีเซสชันใหม่ของ ICRA ที่แยกออกมาเฉพาะ คือเซสชันวิดีโอ โดยผู้จัดกงานรวมวิดีโอความยาว 5 นาทีของผู้นำเสนอเป็นไฟล์เดียว เปิดต่อเนื่องกัน (ผู้เสนอผลงานหลายคนงง เพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มได้ และวิดีโอนั้นก็คือวิดีโอที่ผู้เสนอส่งไปตั้งแต่แรก) โดยสุดท้ายมีคนไปขอให้มีเซสชันถามตอบระหว่างวิดีโอ เพื่อให้ผู้เสนอผลงานได้ชี้แจงงานของตัวเอง ซึ่งกรรมการก็เห็นชอบตามนั้น เซสชันนี้เป็นอีกเซสชันที่คนล้นห้องวันนี้ เลกเชอร์วันนี้มาจากศาสตราจารย์ Harry Asada จาก MIT  (เป็นอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ไปสอนที่ MIT และได้รางวัลสอนดีด้วย)  เกี่ยวกับหุ่นยนต์นาโน ขนาดเท่าเซล […]

Read more

[ICRA 2012] สรุป ICRA วันแรก

งานสัมนาวิชาการเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่หนึ่งอย่าง ICRA เริ่มแล้ววันนี้ที่เซนต์พอล รัฐมินเนโซตา สหรัฐฯ งานสัมนามีทั้งหมดเก้าห้อง และเริ่มพร้อมกัน เรื่องละสิบห้านาที ดังนั้นเป็นไม่ได้ที่จะสามารถพูดถึงทุกเรื่องได้ ขออภัยล่วงหน้าหากไม่มีเรื่องที่ผู้อ่านสนใจ ด้านล่างพยายามจะทำไลฟ์อัปเดต งานที่เห็นมากที่สุดใน ICRA ในวันแรกเห็นจะหนีไม่พ้นงานเกี่ยวกับ MAV (micro air vehicle) เพื่อสร้างแผนที่ต่าง ๆ Vijay Kumar เป็นดารารุ่งพรุ่งแรงอย่างไม่ต้องสงสัยในงานนี้ นอกจากหลายคนจะทำงานคล้ายกันแล้ว เขายังถูกอ้างถึงในหัวข้ออื่นที่ไม่เกี่ยวกับเขาด้วย (งานนี้แล็บของ Vijay Kumar ได้เสนอผลงานทั้งหมดถึง 7 ชิ้น!) […]

Read more

นักวิจัยล้ำสร้างบั้นท้ายปลอมตอบสนองตามอารมณ์

นักวิจัยญี่ปุ่นมักทำอะไรแปลก ๆ ให้เราประหลาดใจเสมอ ความคิดพิเรนทร์อย่างทำจอยสติกที่ใช้ลิ้นควบคุมเพื่อตอบสนองเฟรนช์คิสก็มีมาแล้ว คราวนี้นักวิจัยจาก UEC (The University of Electro–Communications) ล้ำเกินไปอีกขั้น โดยสร้างบั้นท้ายปลอม โครงการนี้มีชื่อว่า SHIRI — Buttocks Humanoid that Represents Emotions with Visual and Tactual Transformation of the Muscles (ชิริ 尻, โอชิริ […]

Read more

แหวนหุ่นยนต์ และต้นไม้หุ่นยนต์

ความน่าสนใจในงานวิจัยด้านหุ่นยนต์ของประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่แนวความคิดอันแสนประหลาดหลุดโลกของนักวิจัยชาวญี่ปุ่นทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์เลียนแบบการออกเสียงของปาก ป้ายโฆษณาที่ตอบสนองต่อการจูบ คราวนี้เราจะนำเสนองานวิจัยแปลกแต่น่าสนใจอีกสองชิ้นจาก Keio University ชิ้นแรกคือ แหวนหุ่นยนต์ ประกอบไปด้วยแหวนที่มีรูปร่างเป็นตากระพริบได้ และแหวนที่มีรูปร่างเป็นปากอ้าหุบได้ การขยับนั้นเกิดจากไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมมอเตอร์เล็ก ๆ ที่ติดตั้งไว้ในแหวน เมื่อสวมใส่ไปกับนิ้วแล้วทำมือท่าทางต่าง ๆ บวกกับการเคลื่อนไหวของแหวนตาและแหวนปาก ก็จะดูเหมือนเป็นหน้าตาของสัตว์ แหวนหุ่นยนต์นี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารรูปแบบหนึ่ง อีกชิ้นคือ ต้นไม้ที่แสดงอารมณ์ได้ ทำงานโดยการติดตั้งมอเตอร์ไว้ใต้กระถางต้นไม้และดึงกิ่งไม้ให้ขยับไปมาผ่านเส้นเอ็น โดยการขยับไปมานั้นจะขึ้นกับการกระตุ้นจะภายนอกผ่านทางไมโครโฟนและเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการทำให้ต้นไม้ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตดูมีชีวิตยิ่งขึ้นผ่านการแสดงออกทางการเคลื่อนไหว และทดสอบแนวคิดด้านการสื่อสารผ่านต้นไม้ ดูวิดีโอของทั้งสองงานวิจัยในข่าวครับ ที่มา AKIHABARA NEWS

Read more

[ไม่เป็นทางการ] DARPA Grand Challenge ใหม่ คราวนี้สำหรับหุ่นคล้ายมนุษย์

เว็บไซต์ Hizook ได้พูดคุยกับ Dr. Gill Pratt  จาก DARPA ได้ความว่า DARPA Grand Challenge ครั้งต่อไปจะจัดแข่งสำหรับหุ่นคล้ายมนุษย์โดยเฉพาะที่เดินสองขาเพื่อเข้าไปถึงพื้นที่ที่เข้าถึงยาก เช่นการกู้ภัยซากโรงงาน โดยเบื้องต้นหุ่นต้องสามารถ เข้าไปขับรถยนต์เฟรมเปิดเช่นแทรกเตอร์ เข้าถึงตึกและไขล็อกประตูด้วยกุญแจ เคลื่อนที่ผ่านซากปรักหักพังได้เป็นระยะ 100 เมตร ปีนบันได หาตำแหน่งรั่วของท่อและปิดวาล์วได้ นอกจากนั้นยังต้องเปลี่ยนปั้มที่เสียเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ด้วย แต่งานนี้ไม่ใช่หุ่นยนต์จะต้องทำแบบอัตโนมัติทั้งหมด DARPA ยอมให้ทำแบบกึ่งอัตโนมัติได้ด้วยผ่านการควบคุมหุ่นยนต์ระยะไกล ถึงอย่างนั้นก็ยากอยู่ที่ใช่ไหมครับ โดย DARPA จะให้การสนับสนุนทีมฮาร์ดแวร์ที่ทำหุ่นเอง 6 […]

Read more
1 2 3 4 5