Love & Play

พานาโซนิคพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบสำหรับนวดศีรษะ

บริษัทพานาโซนิคได้พัฒนาหุ่นยนต์นวดศีรษะที่พัฒนาต่อยอดมาจากหุ่นยนต์สระผม โดยหวังว่าในอนาคตจะได้นำไปติดไว้คู่กับเก้าอี้หรืออ่างอาบน้ำ สำหรับวิธีการนวดศีรษะ หุ่นยนต์จะเริ่มต้นด้วยการปรับรูปทรงของตัวเองให้เหมาะกับขนาดศีรษะและบันทึกตำแหน่งของแนวเส้นผมของคนไว้ด้วย จากนั้นมือ (ที่ใช้ในการนวด) ของหุ่นยนต์จะเริ่มขยับเข้ามานวดเบา ๆ ก่อนเพื่อสร้างแบบจำลองสามมิติของศีรษะ จากนั้นจึงจะเริ่มทำการนวดอย่างจริงจังด้วยมือกลที่มีนิ้วถึง 14 นิ้ว โดยจะไล่นวดทั้งศีรษะโดยอัตโนมัติตามแบบจำลองศีรษะที่ได้วิเคราะห์ไว้ตั้งแต่ตอนต้น ดูวิดีโอท้ายข่าวครับ     ภาพและที่มา diginfo

Read more

หุ่นยนต์เกาหลีทำสลัดผักโชว์ในงาน Robot World 2012

นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเกาหลี Korean Institute of Science and Technology’s (KIST) Center for Intelligent Robotics (CIR) โชว์การทำงานของหุ่นยนต์ CIROS ในงาน Robot World 2012 เมื่อวันที่ 25-28 ตุลาคมที่ผ่านมา หุ่นยนต์ตัวที่นำมาโชว์นี้ถือเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว นับตั้งแต่เริ่มพัฒนาในปี ค.ศ. 2005 เป้าหมายในการสร้าง CIROS […]

Read more

กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ โดย ไอแซค อสิมอฟ

ไอแซค อสิมอฟ (Isaac Asimov) นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซียได้เคยได้นิยามกฎของหุ่นยนต์ไว้ 3 ข้อ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 สมัยที่หุ่นยนต์ยังไม่แพร่หลายเหมือนทุกวันนี้ (และจะมากขึ้นแน่นอนในอนาคต) กฎ 3 ข้อนี้เกิดมาจากจินตนาการอนาคตของหุ่นยนต์ พฤติกรรมของหุ่นยนต์ที่ควรจะเป็นเพื่อให้อยู่กับมนุษย์ได้อย่างสงบสุข อสิมอฟยึดหลักกฎ 3 ข้อนี้ตลอดการเขียนนวนิยายของเขาเอง กฎข้อที่หนึ่ง: หุ่นยนต์จะต้องไม่ทำอันตรายแก่มนุษย์ หรือ นิ่งเฉยปล่อยให้มนุษย์ตกอยู่ในอันตรายได้ กฎข้อที่สอง: หุ่นยนต์จะต้องเชื่อฟังคำสั่งของมนุษย์ ยกเว้นคำสั่งนั้นจะขัดแย้งกับกฎข้อที่หนึ่ง กฎข้อที่สาม: หุ่นยนต์จะต้องปกป้องตัวเองด้วยวิธีการใด ๆ ตราบเท่าที่วิธีการนั้นไม่ละเมิดกฎข้อที่หนึ่งและกฎข้อที่สอง หุ่นยนต์ในนวนิยายของอสิมอฟค่อนข้างจะก้าวล้ำไปไกลมาก […]

Read more

Robobees หุ่นยนต์แมลงขนาดจิ๋วจาก Harvard

นักวิจัยจาก Harvard เข้าใกล้เป้าหมายที่จะพัฒนาการควบคุมหุ่นยนต์ Robobee มากขึ้นเรื่อย ๆ หุ่นยนต์ขนาดจิ๋วที่มีน้ำหนักของปีกหนักน้อยกว่า 0.1 กรัมตัวนี้ได้รับการพัฒนามายาวนานกว่า 5 ปี ในส่วนฮาร์ดแวร์ตอนนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่ส่วนการควบคุมที่จะทำให้มันบินได้อย่างที่เราต้องการ ที่ตัว Robobees เอง บริเวณใต้ปีกทั้งสองข้างของมันมีตัวต้นกำลังเพื่อจะทำให้มันบินหมุนตัวได้ใน 2 แกน ได้แก่ มุม row กับมุม pitch ขาดไปหนึ่งมุมที่สำคัญต่อการควบคุมคือ มุม yaw วิธีการควบคุมที่นักวิจัยใช้ตอนนี้เป็นแบบวงรอบเปิด (open-loop control) […]

Read more

หุ่นยนต์ 3 ชนิดรวมทีมสำรวจปะการัง

งานวิจัยนี้นำเสนอการทำงานของหุ่นยนต์สามชนิดที่ทำงานในสภาวะแวดล้อมต่างกัน เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน นั่นคือการสอดส่องดูแลแนวปะการัง เนื่องจากการสร้างหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่หลาย ๆ อย่างได้ภายในตัวเดียวเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก การสร้างและใช้หุ่นยนต์ให้ตรงประเภทงานเฉพาะอย่างนั้นดูจะง่ายกว่า ถ้าลองนึกถึงการสำรวจตรวจดูแนวปะการัง หุ่นยนต์ที่ใช้ต้องบินได้ เคลื่อนที่บนผิวน้ำได้ และดำน้ำได้ด้วย ต้องเป็นหุ่นยนต์สะเทินน้ำสะเทินบกเลยทีเดียว งานนี้ทีมวิจัยไม่ได้สร้างหุ่นยนต์แบบนั้น แต่สร้างหุ่นยนต์ที่บินได้ หุ่นยนต์บนผิวน้ำ และหุ่นยนต์ใต้น้ำ แล้วให้มันทำงานร่วมกันเป็นทีม

Read more

หุ่นยนต์ Octavia จะมาช่วยมนุษย์ในภารกิจดับเพลิง

เพิ่งจะนำเสนอ Thermite หุ่นยนต์ดับเพลิงไปเมื่อไม่นานมานี้ วันนี้มีอีกหนึ่งงานวิจัยที่น่าสนใจและเป็นที่จับตามองในการประชุมวิชาการนานาชาติ IROS 2012 มานำเสนอ นั่นคือ หุ่นยนต์นักดับเพลิงที่ชื่อว่า Octavia ซึ่งจะทำงานร่วมทีมกับนักดับเพลิงมนุษย์ตัวจริง (ไม่ได้ลุยเดี่ยว) ไปในภารกิจดับเพลิง งานวิจัยนี้ไม่ได้พุ่งเป้าความสนใจไปที่วิธีการดับเพลิง แต่เป็นเรื่องของการสื่อสารระหว่างหุ่นยนต์กับมนุษย์เพื่อที่จะให้หุ่นยนต์ก้าวไปถึงจุดที่จะทำหน้าที่ดับเพลิงได้ สำหรับเรื่องวิธีการดับเพลิงนั้นเป็นเรื่องง่ายสำหรับ Octavia ไปแล้ว Octavia ดับเพลิงโดยใช้ปืนอัดอากาศยิงโฟมดับเพลิงเข้าไปยังจุดที่เกิดเพลิงไหม้ สิ่งที่หุ่นยนต์ตัวนี้ต้องเรียนรู้มากกว่าการยิงโฟม คือ การเดินตามคน การระบุตัวตนของคน เข้าใจสิ่งที่คนพูดหรือแสดงท่าทางเพื่อสื่อสารกับมัน การระบุตำแหน่งของจุดที่มีเพลิงไหม้ และยิงโฟมไปให้โดนไฟได้อย่างแม่นยำ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ อย่างแน่นอน ลองดูกระบวนการต่าง […]

Read more

หน่วยวิจัยของดิสนีย์พัฒนาเครื่องพิมพ์วัตถุสามมิติแบบนำแสงได้

หน่วยวิจัยของดิสนีย์ในพิตส์เบิร์กและมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลอน ทำการทดลองพิมพ์วัตถุนำแสงสามมิติโดยใช้เรซินเป็นวัสดุ ผลงานที่ได้จะเป็นวัตถุที่นำแสงได้ในทิศทางต่าง ๆ รวมแสงหรือขยายแสงแบบเลนส์ได้ เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปต่อยอดทำอะไรได้อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น ทำดวงตาของตุ๊กตาของเล่นหรือทำรูปหัว (รูปด้านล่าง) ทำปุ่มสวิตช์ หลอดไฟ ฯลฯ ข้อดีที่เรียกว่าดีมาก ๆ เลยคือเราลดจำนวนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในสิ่งประดิษฐ์ชิ้นหนึ่ง ๆ ลงไปได้ ไม่ต้องเดินสายไฟจนถึงปลายทางของจอภาพ ลดจำนวน LED หรือ LCD ที่ต้องใช้ไปได้เยอะทีเดียว ตัวอย่างอื่น ๆ ดูแล้วได้แนวคิดเพิ่มอีกเยอะอยู่ในวิดีโอท้ายข่าวครับ ภาพและที่มา Disney Research ผ่านทาง gizmag

Read more

เชิญออกแบบเคส iPhone ชิงรางวัล $500 ด้วย Tinkercad

จากประกาศประกวดผลงานออกแบบ Accessory ของ iPhone5 โดย Shapeways (ผู้ให้บริการเครื่องพิมพ์สามมิติ รวมทั้งเป็นสื่อกลางขายผลงานนั้นออนไลน์) โดยไฟล์ที่ออกแบบจะนำไปพิมพ์ออกมาด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติของ Shapeways เอง ทาง Tinkerpad เว็บไซต์ให้บริการซอฟแวร์ออกแบบสามมิติออนไลน์ได้ทำวิธีโอสอนออกแบบเคส iPhone5 เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่มีความสนใจแต่ไม่ได้มีความชำนาญมากนักได้ลองเล่นงานออกแบบแบบนี้ดูบ้าง (ดูวิดีโอท้ายข่าว) ตัวอย่างผลงานที่เป็น iPhone Accessories อื่น ๆ นอกจากเคส ได้แก่ ที่จับยึด, แว่นขยาย, สายเชื่อมต่ออุปกรณ์, แท่นวาง, สร้อยคอ, รองเท้า, ที่เปิดฝาขวด, ไม้ปิงปอง, ฯลฯ ใครสนใจไปลองเล่นลองทำได้ที่ Tinkercad หรือใครมีฝีมืออยู่แล้วใช้ซอฟแวร์ที่คุ้นเคยที่มีอยู่ในมือจัดการได้เลย ส่งผลงานก่อนวันที่ 19 ต.ค. […]

Read more

DoCoMo โชว์หุ่นยนต์ผู้ช่วยทำงานเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟน

ในงาน CAETEC งานนิทรรศการไฮเทคที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นปีนี้ หลาย ๆ ผลงานพุ่งเป้าไปที่สมาร์ตโฟนที่ใช้เชื่อมต่อกับทุก ๆ อย่างได้ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องปรับอากาศ รวมถึงรถยนต์ด้วย บริษัท NTT DoCoMo ผู้ให้บริการสัญญาณมือถือรายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นก็ไม่พลาดกระแสนี้เช่นกัน นำเสนอหุ่นยนต์ผู้ช่วยที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการโต้ตอบด้วยเสียงได้ หุ่นยนต์ตัวต้นแบบตัวนี้ชื่อว่า “Shabette Robo” หนัก 6.5 กิโลกรัม สูง 38.5 เซนติเมตร มันสามารถโต้ตอบให้ข้อมูลต่าง ๆ และให้ความบันเทิงกับผู้ใช้ เช่น แนะนำเพลงให้เราฟัง […]

Read more

หุ่นยนต์เต่าสำรวจใต้น้ำจากสวิส

หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำรูปทรงคล้ายเต่าทะเลตัวนี้มีชื่อว่า Naro-Tartaruga เป็นผลงานจากมหาวิทยาลัย ETH – Eidgenössische Technische Hochschule แห่งซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เหตุผลที่สร้างหุ่นยนต์เป็นรูปเต่า ไม่สร้างเป็นรูปทรงเลียนแบบปลา ก็เพราะรูปทรงแบบนี้สร้างง่ายกว่าและขนอุปกรณ์ได้น้ำหนักมากกว่า ปัจจุบันความเร็วสูงสุดของ Naro-Tartaruga อยู่ที่ 7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากดูรูปเปรียบเทียบระหว่างรูปหุ่นยนต์จริง (รูปบน) กับรูปจำลอง (รูปล่าง) ยังนับว่าห่างไกลกันเยอะพอสมควร ในรูปจำลองนั้นเหมือนจะมีเครื่องยนต์เจ็ตเป็นตัวขับเคลื่อนหรือโฟตอนตอร์ปิโดติดมาด้วย ทั้งนี้ Naro-Tartaruga เตรียมตัวลงทดสอบจริงในน้ำภายในเดือนนี้

Read more
1 6 7 8 9 10