This includes all the tutorial, DIY and, everything beyond news.

ภาพสีภาพแรกจาก Curiosity บนดาวอังคาร

รูปถ่ายตอนบ่ายของวันแรกที่ลงจอด โดยทีมงานเรียกวันนี้ว่าวัน Sol 1 (เริ่มนับวันที่ 6 สิงหาคม 2012) โดยกล้อง Mars Hand Lens Imager (MAHLI) โดยทีมงานติดตั้ง MAHLI ที่ปลายของแขนและมีที่ครอบกันฝุ่นใสบังอยู่ รูปนี้ถ่ายโดยที่ยังปิดฝาครอบอยู่ โดยจะเปิดที่ครอบฝุ่นนี้ในอีกหลายสัปดาห์ข้างหน้า กล้อง MAHLI นี้ไม่ใช่กล้องตัวเดียวบนหุ่นและมีความละเอียดที่ 2 ล้านพิกเซล (1600 × 1200 พิกเซล) เท่ากันกับกล้องตัวอื่น ใช้เซนเซอร์ชนิด CCD […]

Read more

Curiosity ลงจอดบนดาวอังคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว!

it’s the wheel … it’s the wheel on Mars! คือประโยคแรกที่ผู้เขียนได้ยินจากห้องควบคุมภารกิจของ JPL (Jet Propulsion Laboratory) ที่ถ่ายทอดสดผ่านทางอินเตอร์เนตผ่านทาง Curiosity Cam หลังจากที่ Curiosity ได้ทำการลงจอดและส่งภาพความละเอียดต่ำขนาด 15×15 pixel ซึ่งถ่ายโดยกล้อง Hazcam (Hazard-Avoidance Cameras) ที่อยู่ใกล้กับล้อหลังของมันเองกลับมายังโลกเป็นภาพแรก แสดงให้เห็นภาพล้อ และเงาของล้อ (ภาพทางซ้าย) บนพื้นผิวของดาวอังคาร ซึ่งเป็นการยืนยันการลงจอดที่สมบูรณ์แบบของภารกิจนี้  ถัดมาอีกไม่นาน […]

Read more

7 นาที ที่จะตัดสินภารกิจการส่ง Curiosity ไปเหยียบดาวอังคาร

หลังจากเดินทางมุ่งหน้าไปยังดาวอังคารมาแล้วถึง 7 เดือน ตอนนี้ก็เหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึงเดือนที่หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร Curiosity ที่เดินทางไปกับจรวด Atlas V จะเดินทางถึง Gale Crater จุดหมายของมัน และเริ่มทำการสำรวจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาว่าสภาพแวดล้อมบนอังคารทั้งในอดีต และปัจจุบัน สามารถเกื้อหนุนให้มีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดของภารกิจนี้จะเริ่มขึ้นในช่วงเวลา 7 นาทีก่อนที่เจ้า Curiosity จะลงสัมผัสพื้นต่างหาก!

Read more

รีวิว หุ่นยนต์เสิร์ฟน้ำชาสมัยเอโดะ

เรื่องมันมีอยู่ว่า ผมได้ไปเห็นวิดีโอตุ๊กตายิงธนูของญี่ปุ่น (ดูวิดีโอในบทความครับ) แล้วก็ทึ่งกับมันมาก จึงพยายามหาในอินเทอร์เน็ต แต่ก็พบว่ามันเลิกผลิตไปแล้ว และก็ขายหมดไปแล้ว เมื่อต้นปีที่แล้วไปญี่ปุ่นจึงไปพยายามหา แต่ก็ไม่ได้กลับมาอยู่ดี ไปได้เป็นตุ๊กตาเสิร์ฟน้ำชาแทน ซึ่งเป็นของผู้ผลิตเดียวกัน การทำงานของตุ๊กตาตัวนี้คือเมื่อมีแขกมาเยี่ยมบ้าน เราก็จะไขลานตุ๊กตาตัวนี้แล้วนำถ้วยชาไปวางไว้บนถาด ตุ๊กตาจะเดินหน้าไปหาแขก จากนั้นก็โค้งคำนับเพื่อให้แขกหยิบชาไปดื่ม เมื่อแขกยกถ้วยชาขึ้น ตุ๊กตาจะหยุดทำงาน เมื่อแขกดื่มชาเสร็จแล้ววางถ้วยชาคืน ตุ๊กตาจะเลี้ยวกลับหลังและนำถ้วยชากลับมาให้เจ้าของ ตุ๊กตาตัวนี้เป็นผลงานในกลุ่มที่เรียกว่า คะระคุริ (Karakuri) แปลว่า กลไกที่มีความสวยงาม ผลิตขึ้นตามแบบที่บันทึกไว้ใน คะระคุริ ซุอิ (Karakuri Zui) บันทึกเกี่ยวกับกลไกที่ใช้ในพวกนาฬิกาและตุ๊กตาเชิงกลเหล่านี้ซึ่งถูกเขียนขึ้นในยุคเอโดะ […]

Read more

เขาแข่งอะไรกันใน World RoboCup

ขอถือโอกาสในช่วงที่เยาวชนจากไทยไปร่วมแข่งขันหุ่นยนต์ในรายการ World RoboCup 2012 ที่ประเทศเม็กซิโก มาเล่าให้ฟังว่า ไอ้ RoboCup เนี่ยคืออะไร เขาแข่งอะไรกันบ้าง ชื่อ RoboCup ย่อมาจาก Robot Soccer World Cup เริ่มแข่งเมื่อปี พ.ศ. 2540 (แต่มีการเตรียมการมาก่อนหน้านั้นหลายปี) จุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาด้านหุ่นยนต์ แต่จะทำยังไงล่ะ ผู้จัดการแข่งขันเลยใช้ฟุตบอล กีฬาสากลที่ใคร ๆ ก็รู้จักและชื่นชอบ มาเป็นโจทย์ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี […]

Read more

เสวนาระหว่างนักธุรกิจและคนทำหุ่นยนต์ในหัวข้อ Awards? Then…

จากข่าวที่ Amazon ซื้อ Kiva Systems ด้วยราคาสูงถึง 775 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Kiva Systems คือ อาจารย์ผู้คุมทีม RoboCup Small Size League จาก Cornell University ทำให้ ดร. วิวัฒน์ วงศ์วราวิภัทร์ จาก InStep Group มีคำถามมายังกลุ่มผู้พัฒนาหุ่นยนต์ในประเทศไทยว่า เยาวชนของเราไปแข่งขันหุ่นยนต์ชนะมามากมาย ทำไมเราจึงไม่มีธุรกิจหุ่นยนต์บ้าง พี่มดแดง จาก TESA […]

Read more

ข้อเสนออันน่าสะพรึงกลัวสำหรับ MQ-9 Reaper

อากาศยานไร้คนขับ MQ-9 หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ Reaper ที่ได้สร้างข้อได้เปรียบด้านการทหารให้กับกองทัพสหรัฐฯทั้งด้านการจู่โจมและการหาข้อมูล ด้วยความสามารถที่จะครองน่านฟ้าได้นานถึง 27 ชั่วโมงติดต่อกัน ซึ่งนานกว่าการใช้เครื่องบินเจ็ทอย่าง F-16 อย่างไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้เลย ตอนนี้ทางบริษัท General Atomics ซึ่งเป็นผู้ผลิต ได้ออกมายื่นข้อเสนอในการเพิ่มศักยภาพของเจ้า Reaper ให้น่าสะพรึงกลัวมากขึ้นไปอีก!

Read more
EMIEW2

EMIEW2, ผู้ช่วยงานตัวน้อยพร้อมออกปฎิบัติงานแล้ว

ในยุคที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การตามล่าหาอุปกรณ์ภายในสำนักงานเป็นเรื่องที่ทำให้เสียเวลาอันมีค่าของเราได้ไม่น้อยเลยทีเดียว  แต่ปัญหาเหล่านั้นกำลังจะหมดไปเพราะหุ่นยนต์ผู้ช่วยจากบริษัท Hitachi พร้อมจะมาช่วยเหลือเราแล้ว! 

Read more

Human, Android and Media โดย Hiroshi Ishiguro

นอกจากจะนำ Geminoid-F มาแสดงละครเวทีซาโยนาระแล้ว (บทความเก่า “ถ้าไม่เหงา ก็จะมีความสุขไม่ใช่หรอ” ซาโยนาระ, หลังฉากซาโยนาระ) เมื่อวันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2555 ศาสตราจารย์ Hiroshi Ishiguro ยังได้มาบรรยายที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหัวข้อ “Human, Android and Media” (อาจผิดพลาด แต่ประมาณนี้) พอดีผมเป็นผู้ประสานงานการบรรยายนี้ เลยไม่ได้อยู่ฟังตลอด จะเล่าให้ฟังเท่าที่ได้อยู่ฟังแล้วกันนะครับ ในขณะนี้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) ยังไม่ฉลาดมาก รูปแบบหุ่นยนต์ที่เหมาะสมจะนำมาใช้งาน (practical) […]

Read more

หลังฉากซาโยนาระ

คราวก่อน เราได้พูดถึงประเด็นที่น่าสนใจในบทละครซาโยนาระ คราวนี้เรามาดูเบื้องหลังกว่าจะมาเป็นละครเวทีที่คนแสดงร่วมกับหุ่นยนต์เรื่องนี้กัน พอดีผมได้มีโอกาสไปเป็นผู้ประสานงานทางเทคนิคให้กับละครเรื่องนี้ (ทางคณะอักษรศาสตร์เค้าก็ไม่รู้เรื่องทางเทคนิค ทางหุ่นยนต์ เลยติดต่อมาทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้คอยช่วยประสานงานกับทีมงานจากญี่ปุ่นในการติดตั้งระบบหุ่นยนต์) เลยได้รู้ ได้เห็นอะไรที่น่าสนใจ นำมาเล่าให้ฟังกัน

Read more
1 5 6 7 8 9