การสื่อสารระหว่างโลกและดาวอังคารจะถูกขัดขวางชั่วคราวจากการวางตัวของดวงอาทิตย์

ตำแหน่งของดาวอังคารในช่วงเดือนเมษายนนี้จะส่งผลทำให้ความสามารถในการสื่อสารระหวางโลกและหุ่นยนต์ที่กำลังปฎิบัติงานอยู่บนดาวอังคารลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เส้นทางโคจรของดาวอังคารจะเข้าไปอยู่บริเวณด้านหลังดวงอาทิตย์ และทำแนวซึ่งเกือบจะเป็นเส้นตรงเมื่อมองจากโลก ด้วยเหตุนี้การสื่อสารระหว่างโลก และดาวอังคารจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากรังสีของดวงอาทิตย์ เพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานของดาวเทียมที่โคจรอยู่โดยรอบ และหุ่นยนต์ที่อยู่บนพื้นผิวของดาวอังคารเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการสื่อสารที่ขัดข้อง NASA ได้เตรียมที่จะหยุดการส่งข้อความไปยังดาวอังคารโดยสิ้นเชิง อีกทั้งยังจำเป็นต้องลดอัตราการสื่อสารจากดาวอังคารกลับมายังโลกอีกด้วย

Read more

NASA กับ ESA ทดสอบอินเทอร์เน็ตระหว่างดวงดาวด้วยการควบคุมหุ่นยนต์ Lego

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) และองค์การอวกาศยุโรป (ESA) กำลังร่วมกันพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตระหว่างดวงดาว (multi-planet internet) ที่จะใช้สื่อสารระหว่างยานอวกาศกับหุ่นยนต์สำรวจภาคพื้นดิน เช่น Curiosity ด้วยการเริ่มทดลองกับหุ่นยนต์ Lego ก่อน โดยหวังว่าในอนาคตยานอวกาศจะสามารถทำการควบคุมยานพาหนะภาคพื้นดินได้จากบริเวณที่อยู่ห่างจากจุดเสี่ยง ก่อนหน้านี้ระบบที่เคยใช้อยู่คือ ระบบ Disruption-Tolerant Networking (DTN) เป็นระบบที่เน้นให้ข้อมูลในการรับ-ส่งเพื่อสื่อสารมีความถูกต้องเป็นหลัก มากกว่าที่จะสนใจความเร็วในการเชื่อมต่อ (อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อได้เร็วกว่า) ที่มาและภาพ – NASA ผ่านทาง Engadget และ Mashable

Read more

นาซ่าคัดเลือก 8 โปรเจกต์หุ่นยนต์เพื่อการสำรวจอวกาศ

NASA ได้เลือก 8 โปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อที่จะนำไปใช้ในภารกิจการสำรวจอวกาศในอนาคต  โปรเจกต์ที่ได้รับการคัดเลือกมามีตั้งแต่โปรเจกต์ที่จะพัฒนาความสามารถของหุ่นยนต์สำรวจ (robotic planetary rovers) ไปจนถึงหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ (humanoid robotics systems)

Read more

ปืนเลเซอร์ กล้อง และ เครื่องตรวจจับอนุภาค : อุปกรณ์สุดล้ำบนหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร

หุ่นยนต์สำรวจตัวล่าสุดของนาซ่า คิวริออสซิตี้ (Curiosity, ความสงสัยใคร่รู้) นำล้อแตะพื้นดาวอังคารไปแล้วเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ที่ผ่านมา ด้วยขนาดที่ใหญ่พอ ๆ กับรถคันนึง คิวริออสซิตี้ได้นำอุปกรณ์ล้ำหน้าติดตัวไปด้วยถึงสิบชนิด เพื่อที่จะใช้หาคำตอบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของดาวอังคาร ชั้นบรรยากาศในปัจจุบัน และสิ่งมีชีวิตในอดีต หรือ ปัจจุบัน คิวริออสซิตี้ถือเป็นผลงานวิศวกรรมที่ก้าวล้ำเหนือหุ่นยนต์นักสำรวจฝาแฝดชุดก่อนหน้านี้ สปิริต และ ออพเพอทูนิตี้ และมันยังทำงานด้วยแบตเตอรี่พลังงานนิวเคลียร์ ทำให้สามารถออกสำรวจได้ข้ามวันข้ามคืน ในช่วงเวลาสองปีแรกของภารกิจขั้นเริ่มต้น มันจะทำการไต่เขาขึ้นไปยังภูเขาที่สูง 3 ไมล์ (ประมาณ 5 กิโลเมตร) […]

Read more

ภาพสีภาพแรกจาก Curiosity บนดาวอังคาร

รูปถ่ายตอนบ่ายของวันแรกที่ลงจอด โดยทีมงานเรียกวันนี้ว่าวัน Sol 1 (เริ่มนับวันที่ 6 สิงหาคม 2012) โดยกล้อง Mars Hand Lens Imager (MAHLI) โดยทีมงานติดตั้ง MAHLI ที่ปลายของแขนและมีที่ครอบกันฝุ่นใสบังอยู่ รูปนี้ถ่ายโดยที่ยังปิดฝาครอบอยู่ โดยจะเปิดที่ครอบฝุ่นนี้ในอีกหลายสัปดาห์ข้างหน้า กล้อง MAHLI นี้ไม่ใช่กล้องตัวเดียวบนหุ่นและมีความละเอียดที่ 2 ล้านพิกเซล (1600 × 1200 พิกเซล) เท่ากันกับกล้องตัวอื่น ใช้เซนเซอร์ชนิด CCD […]

Read more

Curiosity ลงจอดบนดาวอังคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว!

it’s the wheel … it’s the wheel on Mars! คือประโยคแรกที่ผู้เขียนได้ยินจากห้องควบคุมภารกิจของ JPL (Jet Propulsion Laboratory) ที่ถ่ายทอดสดผ่านทางอินเตอร์เนตผ่านทาง Curiosity Cam หลังจากที่ Curiosity ได้ทำการลงจอดและส่งภาพความละเอียดต่ำขนาด 15×15 pixel ซึ่งถ่ายโดยกล้อง Hazcam (Hazard-Avoidance Cameras) ที่อยู่ใกล้กับล้อหลังของมันเองกลับมายังโลกเป็นภาพแรก แสดงให้เห็นภาพล้อ และเงาของล้อ (ภาพทางซ้าย) บนพื้นผิวของดาวอังคาร ซึ่งเป็นการยืนยันการลงจอดที่สมบูรณ์แบบของภารกิจนี้  ถัดมาอีกไม่นาน […]

Read more

7 นาที ที่จะตัดสินภารกิจการส่ง Curiosity ไปเหยียบดาวอังคาร

หลังจากเดินทางมุ่งหน้าไปยังดาวอังคารมาแล้วถึง 7 เดือน ตอนนี้ก็เหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึงเดือนที่หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร Curiosity ที่เดินทางไปกับจรวด Atlas V จะเดินทางถึง Gale Crater จุดหมายของมัน และเริ่มทำการสำรวจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาว่าสภาพแวดล้อมบนอังคารทั้งในอดีต และปัจจุบัน สามารถเกื้อหนุนให้มีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดของภารกิจนี้จะเริ่มขึ้นในช่วงเวลา 7 นาทีก่อนที่เจ้า Curiosity จะลงสัมผัสพื้นต่างหาก!

Read more

Hayabusa ยานอวกาศสายเลือดนักสู้!

ฮายาบูซะ (Hayabusa) ยานอวกาศขนาด 6×4.2×2.8 เมตร น้ำหนัก 500 กิโลกรัม พัฒนาโดยองค์การอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) เพื่อใช้ในภารกิจเก็บตัวอย่างจากพื้นผิวอุกกาบาตขนาดเล็กทีโคจรมาใกล้โลก  อิโตกาวา (Itokawa) ซึ่งเป็นอุกกาบาตที่เล็กที่สุดที่เคยถูกสำรวจ ต้องพบกับปัญหามากมายระหว่างการทำภารกิจอันซับซ้อน อุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง และการแก้ปัญหาจากเหล่าวิศวกรที่เฝ้าคอยการกลับมาของฮายาบูซะ บนพื้นโลกที่ห่างออกไป 3 ร้อยล้านกิโลเมตร ฮายาบูซะถูกปล่อยเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2546 เดินทางไปถึงอุกกาบาตอิโตกาวา กลางเดือนกันยายน ปี 2548 และได้ศึกษาถึงลักษณะการหมุน สภาพพื้นผิว […]

Read more