Fujitsu จะพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวได้

Fujitsu Laboratories และ Japan’s National Institute of Informatics วางแผนร่วมกันพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถทำข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ในข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวได้ ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเก่งด้านการคำนวณอยู่แล้ว แต่การจะให้ปัญญาประดิษฐ์ทำโจทย์คณิตศาสตร์ได้นั้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าแค่คำนวณ เริ่มแรกเลย ระบบต้องอ่านและเข้าใจโจทย์ที่เขียนด้วยภาษามนุษย์ ทั้งการบรรยายโจทย์และภาพประกอบ นอกจากนี้ระบบยังต้องรู้ด้วยว่าความรู้คณิตศาสตร์ใดที่เด็กมัธยมปลายรู้ และนำความรู้นั้นมาใช้แก้โจทย์อย่างเหมาะสม โดยโครงการนี้มีเป้าหมายที่จะให้ปัญญาประดิษฐ์สอบข้อสอบระดับชาติซึ่งง่ายกว่าให้ได้ในปี พ.ศ. 2559 และสอบข้อสอบของมหาวิทยาลัยโตเกียวได้ในปี พ.ศ.  2567 (ข้อสอบคงหินมาก ต้องใช้เวลาพัฒนาเพิ่มอีกตั้ง 8 ปีแหนะ)

Read more

หุ่นยนต์ที่เข้าใจมนุษย์มากขึ้น

ก่อนหน้านี้ได้มีงานวิจัยหลายชิ้นในด้านการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้รู้จักความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งของ วัตถุ และสถานที่ ปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถแบบนี้จะช่วยให้หุ่นยนต์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มันไม่รู้จักมาก่อนได้ เพราะมันจะรู้ว่าถ้าจะหาอาหารต้องไปที่ครัว ถ้าจะขึ้นรถเมล์ต้องไปที่ป้ายรถเมล์ เป็นต้น แต่ถ้าหุ่นยนต์จะมาเป็นเพื่อนหรือคนรับใช้ในบ้าน ความสามารถแค่นั้นอาจไม่น่าประทับใจเท่ากับการที่หุ่นยนต์รู้ใจมนุษย์ นักวิจัยจากกลุ่ม Personal Robotics มหาวิทยาลัย Cornell ได้พัฒนาอัลกอริทึมที่ให้หุ่นยนต์จินตนาการว่าตัวมันเองเป็นมนุษย์ และพยายามจัดข้าวของในห้องเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้แค่ความรู้ของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของก็จะคิดว่ารีโมทโทรทัศน์น่าจะวางไว้ใกล้ ๆ โทรทัศน์ แต่ถ้าวิเคราะห์ความสะดวกต่อการใช้งานแล้วรีโมทโทรทัศน์น่าจะวางไว้ที่โซฟา อัลกอริทึมที่ว่านี้ทำงานโดยการจำลองสภาพแวดล้อมขึ้นมา แล้ววางมนุษย์จำลองไปที่ตำแหน่งต่าง ๆ ของห้อง ด้วยท่าทางต่าง ๆ เช่น ยืน […]

Read more

เมื่อหุ่นยนต์สามารถคิดคำศัพท์เพื่อสื่อสารกันเรื่องเวลาได้

การสื่อสารเป็นความสามารถที่สำคัญอย่างหนึ่งในสัตว์สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารเรื่องสถานที่และเวลา เพราะมันคือมิติทั้งสี่ (x, y, z, t) ที่ใช้อธิบายความมีอยู่ของสิ่งต่าง ๆ (เช่น นาย ก เกิดที่เมือง อะ เมื่อ 14 ปีที่แล้ว หรือ นาย ก และนาย ข นัดกันไปพบที่สถานที่ อิ ในอีก 5 นาที) เมื่อปีที่แล้วนักวิจัยจาก University of […]

Read more

Turing Test – คุณเป็นคนหรือหุ่นยนต์

การทดสอบของทัวริง (Turing Test) คือ การทดสอบความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ว่าทำได้ดีใกล้เคียงมนุษย์แล้วหรือยัง โดยเป็นแนวคิดของ อลัน ทัวริง (Alan Turing) นักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิธีการทดสอบ คือ ให้ผู้ตัดสินคุยกับคนและปัญญาประดิษฐ์ (จะเป็นการพูด หรือการพิมพ์ก็ได้ ไม่ได้สนใจที่ความสามารถในด้านการติดต่อสื่อสาร) แล้วตัดสินว่าบทสนทนาที่ดำเนินอยู่นั้นเป็นบนสนทนากับคนหรือปัญญาประดิษฐ์ ถ้าไม่สามารถแยกแยะได้ก็หมายความว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นผ่านการทดสอบของทัวริง คือ มีความสามารถเลียนแบบความคิดที่เหมือนมนุษย์ (คำตอบอาจไม่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง แต่ลักษณะคำตอบเหมือนมนุษย์) ปี 2555 นี้เป็นปีที่ครบ 100 ปีของวันเกิดของ อลัน ทัวริง จึงถูกตั้งเป็นปีแห่ง อลัน ทัวริง ด้วย ที่มา Wikipedia, […]

Read more

รีวิว Real Steel : ศึกกําปั้นหุ่นเหล็กถล่มปฐพี ในแบบคนทำหุ่น (ตอนที่ 2)

ความเดิมจากตอนที่แล้ว ที่ได้พูดถึงเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ที่มีอยู่ในหนังเรื่อง Real Steel ศึกกำปั้นหุ่นเหล็กถล่มปฐพี ไปแล้วจำนวนหนึ่ง คราวนี้เรามาพูดถึงเทคโนโลยีและประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่มีอยู่ในหนังเรื่องนี้กันต่อ

Read more

Qbo หุ่นยนต์ที่มองกระจกแล้วรู้ว่าเป็นตัวเอง จริงๆ นะ

จากข่าวเก่าที่นำเสนอเกี่ยวกับหุ่นยนต์ Qbo ที่มองกระจกแล้วรู้ว่าเป็นตัวมันเอง แต่ยังมีข้อกังขาบางประการว่ามันรู้จักตัวเองจริงๆ หรอ หรือมันเหมาเอาว่าถ้าเจอหุ่น Qbo อยู่ตรงหน้าจะถือว่าเป็นตัวเองทั้งหมด คราวนี้ผู้พัฒนาได้แสดงให้เห็นว่ามันรู้นะว่าอันไหนเป็นตัวมันเอง อันไหนเป็น Qbo ตัวอื่น

Read more

Qbo หุ่นยนต์ที่รู้จักตัวเองในกระจก

ในธรรมชาติ มีสิ่งมีชีวิตไม่กี่ประเภทที่เมื่อส่องกระจกแล้วรู้ว่าเป็นตัวเอง ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตตัวอื่น สิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถแบบนี้ได้แก่ มนุษย์ (ตั้งแต่ 18 เดือน) ลิงส่วนมาก ช้าง โลมา วาฬเพชรฆาต European Magpie (นกชนิดหนึ่ง) ตอนนี้มีสิ่ง(ไม่)มีชีวิตอีกประเภทที่ทำได้ละ

Read more
1 3 4 5