การบรรยายเรื่อง Living with Robots โดย Prof. Oussama Khatib

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม Professor Oussama Khatib จาก Artificial Intelligence Laboratory, Stanford University ได้มาบรรยายในหัวข้อ Living with Robots ที่ Asian Institute of Technology (AIT) ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับบรรดาผู้สนใจหุ่นยนต์ทั้งหลายที่มีศาสตราจารย์ระดับแนวหน้ามาบรรยายให้ฟังถึงที่ ThaiRobotics จะพลาดได้อย่างไร จึงไปฟังมาและบันทึกสิ่งที่น่าสนใจมาให้เล็กน้อย

Read more

กองทัพเรือสหรัฐฯ เตรียมทดสอบ exoskeleton จาก Lockheed Martin

Lookheed Martin ส่ง FORTIS exoskeleton ให้กองทัพเรือสหรัฐฯ ทดสอบ FORTIS เป็น exoskeleton ที่น้ำหนักเบา ไม่ต้องใช้แหล่งพลังงาน ถูกออกแบบมาให้ใช้ในงานซ่อมบำรุงเรือ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้เครื่องมือหนัก ๆ ได้โดยไม่เมื่อยล้า เทคนิคที่ FORTIS ใช้ คือ ใช้แขนที่มีกลไกชดเชยน้ำหนัก (gravity compensation mechanism) ของบริษัท Equipois รุ่น zeroG ช่วยรับน้ำหนักของเครื่องมือ และติดตั้งแขนนี้บนโครงที่ถ่ายน้ำหนักลงไปบนพื้นโดยตรง ทำให้ผู้สวมใส่ไม่ต้องแบกรับน้ำหนักของเครื่องมือ […]

Read more

5 นิ้วไม่พอหรอ เอาไปเลยอีก 2 นิ้ว

สำหรับบางคน 2 แขนรู้สึกไม่พอ อยากได้ 4 แขน แต่บางคนไม่ได้อยากได้แขนเพิ่ม แต่อยากได้นิ้วเพิ่ม นักวิจัยจาก MIT (อีกแล้ว) จัดให้ กับหุ่นยนต์นิ้ว 2 นิ้วสวมใส่ได้

Read more

เคยรู้สึกว่า 2 แขนน้อยไป อยากมี 4 แขนรึเปล่า

เคยหรือไม่ เวลาทำนู่นทำนี่แล้วรู้สึกว่า 2 แขนน้อยไป อยากได้แขนเพิ่มมาช่วยจับนู่น ถือนี่ นักวิจัยจาก MIT ได้สร้าง Supernumerary Robotics Limbs (SRLs) แขนหุ่นยนต์ที่สวมใส่ได้ ทำให้ผู้สวมใส่มีแขนไว้ช่วยทำงานมากขึ้น

Read more

Bebionic3 แขนและมือเทียมสุดล้ำ

บริษัท RSL Steeper ได้เปิดตัวแขนเทียม Bebionic รุ่นที่ 3 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา Bebionic3 เป็นแขนเทียมที่มากความสามารถและใช้งานได้ง่าย คุณสมบัติและการทำงานของ Bebionic3 สรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ ใช้สัญญาณไฟฟ้าจากระบบประสาทที่เหลืออยู่บนอวัยวะของผู้สวมใส่ในการควบคุม (myoelectric) ผู้ใช้เพียงแค่พยายามขยับกล้ามเนื้อบริเวณนั้นเหมือนตอนที่ยังมีอวัยวะอยู่ ทำให้ใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องใช้อวัยวะอื่นในการกดปุ่มสั่งการทำงานของแขน นิ้วทุกนิ้วทำงานแยกกันได้อย่างอิสระ ทำให้สามารถทำท่าทางต่าง ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ มีท่าทางให้เลือกใช้ถึง 14 ท่าทาง ทำให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายดาย […]

Read more

เก้าอี้รถเข็นติดขาปีนข้ามสิ่งกีดขวางได้

นักวิจัยจาก Chiba Institute of Technology ได้พัฒนาเก้าอี้รถเข็นที่ใช้ล้อผสมผสานกับขา เพื่อให้สามารถก้าวข้ามสิ่งกีดขวางได้ ล้อนั้นเป็นอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่บนพื้นราบได้มีประสิทธิภาพมาก แต่ก็จะมีปัญหาเวลาเจอสิ่งกีดขวาง งานวิจัยนี้จึงเพิ่มกลไกขาเข้าไปกับล้อ ทำให้เก้าอี้รถเข็นคันนี้ขับเคลื่อนด้วยล้อ 4 ล้อ และกลไกการก้าวเดินอีก 5 แกน คือ แกนหมุนเลี้ยวล้อหน้า แกนหมุนเลี้ยวล้อหลัง แกนเอียงล้อหน้า แกนเอียงล้อหลัง และแกนการปรับระดับเก้าอี้ บนเก้าอี้รถเข็นคันนี้ยังมีการติดตั้งเซนเซอร์ต่าง ๆ เช่น เซนเซอร์วัดระยะ เพื่อให้ทราบว่ามีสิ่งกีดขวางหรือไม่ บริเวณใด เซนเซอร์วัดแรงบิดที่ล้อ ใช้ในกรณีที่เซนเซอร์วัดระยะทำงานผิดพลาดและล้อพยายามปีนสิ่งกีดขวาง […]

Read more

หุ่นยนต์เพื่อช่วยพัฒนาการในเด็กทารก

การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้างมีความสำคัญมากต่อการเรียนรู้ในเด็กทารก ดังนั้นเด็กที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ก็จะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กคนอื่น นักวิจัยจาก Ithaca College จึงได้พัฒนา WeeBot ขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่ให้เด็กทารก โดยหุ่นยนต์นี้พัฒนาจากหุ่นยนต์ Pioneer P3-DX ของ Adept MobileRobots ไว้สำหรับเคลื่อนที่ ติดตั้งด้วย Nintendo Wii Balance Board ซึ่งเป็นแป้นควบคุมเกมที่อาศัยการวัดแรงกดที่ขอบแต่ละด้านของแป้นเพื่อวัดว่าผู้เล่นเอียงตัวไปด้านไหน บนแผ่นนี้ติดตั้งเก้าอี้เด็กไว้ เมื่อเด็กเอียงตัวไปทางใด หุ่นยนต์จะวิ่งไปทางนั้น

Read more