[ICRA 2012] วันสุดท้าย

วันที่สามนี้เป็นวันสุดท้ายของงานสัมมนาวิชาการนี้ครับ  (ไม่นับวันเวิร์คชอปวันจันทร์และวันศุกร์) ขออภัยที่ไม่ได้อัปเดตตรงวัน เพราะว่าเนื้อหาเยอะ วันนี้มีไฮไลต์ที่งานแจกรางวัลให้กับบุคคลที่สำคัญในวงการหุ่นยนต์, ประกาศชื่อ IEEE  Fellow ในสาขาหุ่นยนต์ประจำปีนี้ และ งานวิจัยดีเด่นในงานสัมมนานี้ครับ ที่เด่น ๆ มี Bernard Roth รางวัล 2012 IEEE Robotics and Automation Award เกี่ยวกับงานกลศาสตร์หุ่นยนต์ การควบคุมวัตถุ และงานออกแบบ Jean-Claude Latomb รางวัล Pioneer in […]

Read more

Omni-Finger นิ้วหุ่นยนต์เทพ หมุนวัตถุได้รอบทิศทาง

นักวิจัยจาก Osaka University ได้ต่อยอด Omni-Crawler หุ่นยนต์ตีนตะขาบที่เคลื่อนที่ได้รอบทิศทาง มาเป็น Omni-Finger โดยนำกลไกที่ทำให้ตีนตะขาบเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทาง มาแปลงเป็นนิ้วหุ่นยนต์ ผลก็คือ มือหุ่นยนต์นั้นสามารถหมุนวัตถุไปในทิศทางใดก็ได้โดยไม่ต้องวางวัตถุแล้วหยิบใหม่ แต่ก็ยังมีความท้าท้ายให้แก้อยู่คือ นิ้วนี้จะทำงานได้ต้องมีจุดสัมผัสกับวัตถุตลอดเวลา ดังนั้น ถ้าเจอวัตถุรูปทรงประหลาด หุ่นยนต์ก็ต้องคิดก่อนว่าจะจับยังไงให้นิ้วสัมผัสกับวัตถุได้ตลอดเวลาที่หมุนวัตถุนั้น อาจจะยังนึกภาพไม่ออก ลองดูวิดีโอในข่าวนะครับ งานวิจัยนี้ชื่อ Robotic Finger Mechanism Equipped Omnidirectional Driving Roller with Two Active […]

Read more

เมื่อหุ่นยนต์สามารถคิดคำศัพท์เพื่อสื่อสารกันเรื่องเวลาได้

การสื่อสารเป็นความสามารถที่สำคัญอย่างหนึ่งในสัตว์สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารเรื่องสถานที่และเวลา เพราะมันคือมิติทั้งสี่ (x, y, z, t) ที่ใช้อธิบายความมีอยู่ของสิ่งต่าง ๆ (เช่น นาย ก เกิดที่เมือง อะ เมื่อ 14 ปีที่แล้ว หรือ นาย ก และนาย ข นัดกันไปพบที่สถานที่ อิ ในอีก 5 นาที) เมื่อปีที่แล้วนักวิจัยจาก University of […]

Read more

[ICRA 2012] วันที่ 2

วันนี้เรื่องน่าตื่นเต้นน้อยลงจากวันแรกครับ โดยวันนี้ไม่ค่อยมีเซสชันไหนที่คนล้นห้อง (ผู้จัดงานเปิดโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับห้องที่ล้น แต่โดยมากมันจะเปิดหลังห้องนั้นล้นไปแล้ว ไม่ทันเรื่องที่กำลังเสนออยู่สักที) ในวันที่สองนี้มีเซสชันใหม่ของ ICRA ที่แยกออกมาเฉพาะ คือเซสชันวิดีโอ โดยผู้จัดกงานรวมวิดีโอความยาว 5 นาทีของผู้นำเสนอเป็นไฟล์เดียว เปิดต่อเนื่องกัน (ผู้เสนอผลงานหลายคนงง เพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มได้ และวิดีโอนั้นก็คือวิดีโอที่ผู้เสนอส่งไปตั้งแต่แรก) โดยสุดท้ายมีคนไปขอให้มีเซสชันถามตอบระหว่างวิดีโอ เพื่อให้ผู้เสนอผลงานได้ชี้แจงงานของตัวเอง ซึ่งกรรมการก็เห็นชอบตามนั้น เซสชันนี้เป็นอีกเซสชันที่คนล้นห้องวันนี้ เลกเชอร์วันนี้มาจากศาสตราจารย์ Harry Asada จาก MIT  (เป็นอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ไปสอนที่ MIT และได้รางวัลสอนดีด้วย)  เกี่ยวกับหุ่นยนต์นาโน ขนาดเท่าเซล […]

Read more

[ICRA 2012] สรุป ICRA วันแรก

งานสัมนาวิชาการเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่หนึ่งอย่าง ICRA เริ่มแล้ววันนี้ที่เซนต์พอล รัฐมินเนโซตา สหรัฐฯ งานสัมนามีทั้งหมดเก้าห้อง และเริ่มพร้อมกัน เรื่องละสิบห้านาที ดังนั้นเป็นไม่ได้ที่จะสามารถพูดถึงทุกเรื่องได้ ขออภัยล่วงหน้าหากไม่มีเรื่องที่ผู้อ่านสนใจ ด้านล่างพยายามจะทำไลฟ์อัปเดต งานที่เห็นมากที่สุดใน ICRA ในวันแรกเห็นจะหนีไม่พ้นงานเกี่ยวกับ MAV (micro air vehicle) เพื่อสร้างแผนที่ต่าง ๆ Vijay Kumar เป็นดารารุ่งพรุ่งแรงอย่างไม่ต้องสงสัยในงานนี้ นอกจากหลายคนจะทำงานคล้ายกันแล้ว เขายังถูกอ้างถึงในหัวข้ออื่นที่ไม่เกี่ยวกับเขาด้วย (งานนี้แล็บของ Vijay Kumar ได้เสนอผลงานทั้งหมดถึง 7 ชิ้น!) […]

Read more
1 2