เครื่องเก็บสเปิร์มอัตโนมัติ

โรงพยาบาลในเมืองหนานจิง ประเทศจีน เริ่มมีการนำเครื่องเก็บสเปิร์มอัตโนมัติมาใช้กับผู้ป่วยชายที่มีปัญหาด้านการสืบพันธุ์ และประสบความยากลำบากในการเก็บสเปิร์มด้วยวิธีดั้งเดิม (แหล่งข่าวไม่ได้บอกว่าวิธีเดิมคืออย่างไร…) เครื่องดังกล่าวขายอยู่ที่ราคา 87,000 บาท มีช่องสอดใส่อวัยวะเพศชาย เพื่อทำการนวด และเก็บสเปิร์ม ช่องสอดใส่นี้สามารถปรับความสูงให้เหมาะสมกับผู้ใช้ได้ ผู้ใช้สามารถปรับอุณหภูมิ ความถี่ ความเร็ว และช่วงความยาวของการนวดได้ นอกจากนี้ยังมีจอภาพและลำโพงเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการปฏิบัติภารกิจ ข่าวของเครื่องนี้แพร่ออกไปอย่างรวดเร็วบนเครือข่ายสังคมในจีน และมีผู้เข้าใจผิดจำนวนมากว่าเครื่องนี้มีไว้สำหรับการรับบริจาคสเปิร์ม ทำให้ Zhu Guoxin ผู้อำนวยการแผนกระบบทางเดินปัสสาวะจากโรงพยาบาลกลางแห่งเจิ้งโจวออกมากล่าวว่า การรับบริจาคสเปิร์มมีกระบวนการที่รัดกุมกว่านี้ และไม่ได้ใช้เครื่องดังกล่าว สำหรับผู้ที่อยากรู้ว่าเครื่องดังกล่าวเป็นอย่างไร ก็รับชมจากวิดีโอท้ายข่าวเลยครับ ที่มา Medical Daily

Read more

เครื่องพิมพ์สามมิติสำหรับงานขนาดเล็กระดับเนื้อเยื่อ

เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติเริ่มต้นมาจากงานทำของต้นแบบที่ต้องการความรวดเร็ว (rapid prototype) ไม่ต้องส่งเข้าผลิตในโรงงาน ปัจจุบันได้พัฒนาไปมาก งานวิจัยที่ศาสตราจารย์ Shaochen Chen จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ทำอยู่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถทำหลอดเลือดเทียมจากเครื่องพิมพ์สามมิตินี้ได้ และหากเทคโนโลยีนี้ก้าวไปสู่ระดับที่เล็กลงไปเรื่อย ๆ ได้ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่อยู่ในสภาพไม่ดีด้วยลิ้นหัวใจอันใหม่ที่สร้างมาจากเซลล์ของผู้ป่วยเอง ไม่ใช่ลิ้นหัวใจเทียมที่ทำมาจากของแปลกปลอมภายนอกร่างกายมนุษย์ หรือรอการบริจาคอวัยวะจากคนอื่นอีกต่อไป หากเปรียมเทียบกับเครื่องพิมพ์สองมิติที่ใช้หมึกพิมพ์ในการพิมพ์ เครื่องพิมพ์สามมิติอาจใช้พลาสติกหรือโลหะเป็นวัสดุตั้งต้น แต่ในกรณีนี้วัสดุในการพิมพ์จะเป็นวัสดุชีวภาพที่เรียกว่า hydrogel และระดับความเล็กที่จะใช้สร้างหลอดเลือดเทียมได้จะต้องเล็กระดับไมโครหรือนาโนเลยทีเดียว เทคนิคใหม่ที่มีงานวิจัยออกมาคือ dynamic optical projection stereolithography (DOPsL) ใครสนใจลึก ๆ ติดตามได้จากวารสาร Advanced Materials ครับ […]

Read more

เสวนาเรื่องหุ่นยนต์กับงานกายภาพบำบัด

วันที่ 18 – 20 กันยายน 2555 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ NECTEC-ACE 2012 หนึ่งในหัวข้อเสวนาคือ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน ได้รับเกียรติจากนักวิจัยและแพทย์ที่ทำงานวิจัยและพัฒนาในสายงานนี้จากหน่วยงานต่าง ๆ ในไทย และจากทางสิงคโปร์ด้วย ผมมีโอกาสได้เข้าไปร่วมในการเสวนานี้ จึงขอยกประเด็นน่าสนใจมาแบ่งปัน การทำกายภาพบำบัดให้ได้ผลต้องกิจกรรมเฉพาะทางที่ฝึกกล้ามเนื้อนั้นๆ ทำซ้ำบ่อย ๆ และคนไข้ต้องรู้สึกอยากบำบัด ปัญหาของงานด้านการกายภาพบำบัด ได้แก่ เป็นงานที่ต้องใช้แรงงานเยอะ หลายกรณีต้องใช้ผู้ทำกายภาพบำบัดหลายคนในการยก ย้ายตัวผู้ป่วย มีผู้เชี่ยวชาญน้อย ลักษณะงานมีประสิทธิภาพต่ำ เพราะต้องใช้บุคคลากรอย่างน้อยหนึ่งคนต่อคนไข้หนึ่งคน เป็นกิจกรรมที่น่าเบื่อ ต้องสร้างแรงกระตุ้นให้คนไข้อยากทำการบำบัด

Read more
1 2 3