การสื่อสารระหว่างโลกและดาวอังคารจะถูกขัดขวางชั่วคราวจากการวางตัวของดวงอาทิตย์

ตำแหน่งของดาวอังคารในช่วงเดือนเมษายนนี้จะส่งผลทำให้ความสามารถในการสื่อสารระหวางโลกและหุ่นยนต์ที่กำลังปฎิบัติงานอยู่บนดาวอังคารลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เส้นทางโคจรของดาวอังคารจะเข้าไปอยู่บริเวณด้านหลังดวงอาทิตย์ และทำแนวซึ่งเกือบจะเป็นเส้นตรงเมื่อมองจากโลก ด้วยเหตุนี้การสื่อสารระหว่างโลก และดาวอังคารจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากรังสีของดวงอาทิตย์ เพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานของดาวเทียมที่โคจรอยู่โดยรอบ และหุ่นยนต์ที่อยู่บนพื้นผิวของดาวอังคารเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการสื่อสารที่ขัดข้อง NASA ได้เตรียมที่จะหยุดการส่งข้อความไปยังดาวอังคารโดยสิ้นเชิง อีกทั้งยังจำเป็นต้องลดอัตราการสื่อสารจากดาวอังคารกลับมายังโลกอีกด้วย

Read more

Curiosity กำลังจะมีฝาแฝดแล้ว

NASA เตรียมโครงการที่จะสร้างหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคารตัวใหม่  โดยจะใช้ชิ้นส่วนสำรองของ Curiosity เป็นองค์ประกอบหลัก และวางแผนที่จะลงเหยียบดาวอังคารตามรอยพี่ชายของมันในปี ค.ศ. 2020

Read more

นาซ่าคัดเลือก 8 โปรเจกต์หุ่นยนต์เพื่อการสำรวจอวกาศ

NASA ได้เลือก 8 โปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อที่จะนำไปใช้ในภารกิจการสำรวจอวกาศในอนาคต  โปรเจกต์ที่ได้รับการคัดเลือกมามีตั้งแต่โปรเจกต์ที่จะพัฒนาความสามารถของหุ่นยนต์สำรวจ (robotic planetary rovers) ไปจนถึงหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ (humanoid robotics systems)

Read more

ภาพสีภาพแรกจาก Curiosity บนดาวอังคาร

รูปถ่ายตอนบ่ายของวันแรกที่ลงจอด โดยทีมงานเรียกวันนี้ว่าวัน Sol 1 (เริ่มนับวันที่ 6 สิงหาคม 2012) โดยกล้อง Mars Hand Lens Imager (MAHLI) โดยทีมงานติดตั้ง MAHLI ที่ปลายของแขนและมีที่ครอบกันฝุ่นใสบังอยู่ รูปนี้ถ่ายโดยที่ยังปิดฝาครอบอยู่ โดยจะเปิดที่ครอบฝุ่นนี้ในอีกหลายสัปดาห์ข้างหน้า กล้อง MAHLI นี้ไม่ใช่กล้องตัวเดียวบนหุ่นและมีความละเอียดที่ 2 ล้านพิกเซล (1600 × 1200 พิกเซล) เท่ากันกับกล้องตัวอื่น ใช้เซนเซอร์ชนิด CCD […]

Read more

Curiosity ลงจอดบนดาวอังคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว!

it’s the wheel … it’s the wheel on Mars! คือประโยคแรกที่ผู้เขียนได้ยินจากห้องควบคุมภารกิจของ JPL (Jet Propulsion Laboratory) ที่ถ่ายทอดสดผ่านทางอินเตอร์เนตผ่านทาง Curiosity Cam หลังจากที่ Curiosity ได้ทำการลงจอดและส่งภาพความละเอียดต่ำขนาด 15×15 pixel ซึ่งถ่ายโดยกล้อง Hazcam (Hazard-Avoidance Cameras) ที่อยู่ใกล้กับล้อหลังของมันเองกลับมายังโลกเป็นภาพแรก แสดงให้เห็นภาพล้อ และเงาของล้อ (ภาพทางซ้าย) บนพื้นผิวของดาวอังคาร ซึ่งเป็นการยืนยันการลงจอดที่สมบูรณ์แบบของภารกิจนี้  ถัดมาอีกไม่นาน […]

Read more

7 นาที ที่จะตัดสินภารกิจการส่ง Curiosity ไปเหยียบดาวอังคาร

หลังจากเดินทางมุ่งหน้าไปยังดาวอังคารมาแล้วถึง 7 เดือน ตอนนี้ก็เหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึงเดือนที่หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร Curiosity ที่เดินทางไปกับจรวด Atlas V จะเดินทางถึง Gale Crater จุดหมายของมัน และเริ่มทำการสำรวจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาว่าสภาพแวดล้อมบนอังคารทั้งในอดีต และปัจจุบัน สามารถเกื้อหนุนให้มีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดของภารกิจนี้จะเริ่มขึ้นในช่วงเวลา 7 นาทีก่อนที่เจ้า Curiosity จะลงสัมผัสพื้นต่างหาก!

Read more