Yutu ยานสำรวจดวงจันทร์ของจีนลงแตะดวงจันทร์แล้ว

yutu-change3

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ยานอวกาศ Chang’e 3 ของ China National Space Administration ได้เดินทางถึงดวงจันทร์และนำยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ Yutu ลงจอดเป็นที่สำเร็จบนบริเวณพื้นที่ราบที่ชื่อว่า Sinus Iridum หรือ Bay of Rainbows เพื่อปฏิบัติการสำรวจพื้นผิวบริเวณนั้นเป็นเวลา 3 เดือน

Yutu แปลว่า กระต่ายหยก (Jade Rabbit) ได้ชื่อจากการโหวตทางอินเทอร์เน็ต ใช้ล้อแบบ rocker-bogie เช่นเดียวกับยานสำรวจดาวอังคารตัวอื่น ๆ (เช่น Curiosity) เป็นยานสำรวจพื้นผิว (rover) ดวงจันทร์ตัวที่ 3 ของโลก (นับเฉพาะยานสำรวจเคลื่อนแบบไร้คนขับ ซึ่ง 2 ตัวแรกเป็นของโซเวียต และสหรัฐอเมริกาไม่เคยส่งยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์มาก่อน!) และเป็นตัวแรกของประเทศจีน ทำให้จีนเป็นชาติที่ 3 ในโลกที่สามารถนำยานลงบนพื้นผิวดวงจัทนร์สำเร็จต่อจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต Yutu มีเรดาห์ตรวจจับใต้พื้นดินเพื่อศึกษาโครงสร้างของพื้นผิวบริเวณนั้น มี spectrometer เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของพื้นผิว และยังมีกล้องความละเอียดสูงด้วย

สาเหตุที่เลือก Bay of Rainbows เป็นจุดสำรวจเพราะว่าเป็นบริเวณที่เคยมีกิจกรรมของภูเขาไฟ ทำให้มีร่องรอยการไหลของลาวาอยู่มาก และการไหลของลาวาทำให้เกิดอุโมงค์ให้ดิน ซึ่งเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์ เพราะจะได้รับการป้องกันจากรังสีอวกาศ

นอกจากจะมี Yutu เพื่อวิ่งไปมาทำภารกิจสำรวจแล้ว บน Chang’e ยังมีกล้องโทรทรรศน์ติดไปด้วย และจะอยู่บนดวงจันทร์อย่างถาวร การติดตั้งกล้องโทรทรรศน์บนดวงจันทร์ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนกว่าบนโลกเพราะไม่มีการหักเหจากชั้นบรรยากาศ

ภาพ io9
ที่มา io9 และ Universe Today

LINE it!
Loading Facebook Comments ...
Loading Disqus Comments ...