หุ่นยนต์ DRAGON แปลงร่างได้กลางอากาศ

งานวิจัยหุ่นยนต์ DRAGON (มังกร) จากแล็บ JSK (Jouhou System Kougaku Laboratory) มหาวิทยาลัยโตเกียวตัวนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะสร้างหุ่นยนต์บินได้ และปรับเปลี่ยนรูปร่างได้กลางอากาศ (Transformable aerial robot) เหมือนมังกรที่เลื้อยหัวเลื้อยหางไปมาได้ขณะที่บินอยู่ในอากาศ โดยหวังว่าจะเกิดประโยชน์ในการบินผ่านพื้นที่แคบ อย่างเช่น ซอกเล็ก ๆ ยาว ๆ หรือมุมแคบ ๆ

Read more

Amazon Picking Challenge การแข่งขันหุ่นยนต์หยิบจัดสินค้า

การหยิบของนั้นง่ายสำหรับมนุษย์ แต่สำหรับหุ่นยนต์นั้นไม่ง่ายเลย หุ่นยนต์ต้องตรวจจับวัตถุให้ได้ (detect) รู้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร (recognize) วัตถุอยู่ไหน วางตัวอย่างไร จากนั้นจึงคิดว่าจะเคลื่อนแขนไปหยิบท่าไหน หยิบจับวัตถุอย่างไร แล้วควบคุมมือและแขนให้ทำตามที่วางแผนไว้ Amazon ยักษ์ใหญ่ในวงการ e-commerce ที่ดูเหมือนจะเป็นบริษัทไอที แต่เบื้องหลังในการจัดสินค้าเพื่อส่งให้ลูกค้านั้นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก Amazon พยายามแก้ไขปัญหานี้โดยลงทุนซื้อ Kiva Systems เพื่อปรับปรุงกระบวนการหยิบสินค้าจากชั้นลงกล่อง โดยระบบของ Kiva Systems จะมีหุ่นยนต์เคลื่อนชั้นสินค้า (งานง่ายสำหรับหุ่นยนต์) มาให้เจ้าหน้าที่หยิบสินค้าจากชั้นใส่กล่อง (งานยากสำหรับหุ่นยนต์) ระบบนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในคลังสินค้าของ Amazon […]

Read more

Amazon จัดแข่งหุ่นยนต์หยิบของในคลังสินค้า

หุ่นยนต์ถูกนำมาใช้งานในคลังสินค้านานแล้ว มักถูกใช้งานให้วิ่งไปเคลื่อนย้ายสินค้า แต่ด้วยความที่สินค้ามีความหลากหลาย หุ่นยนต์ไม่สามารถหยิบได้ทุกแบบ จึงต้องหาทางแก้ ส่วนมากมักทำโดยวางสินค้าบนพาเลทแล้วให้หุ่นยนต์ยกทั้งพาเลท Amazon ผู้จำหน่ายสินค้าออนไลน์รายใหญ่มีคลังสินค้าที่ใหญ่มากจึงลงทุนซื้อบริษัท Kiva Systems ผู้พัฒนาหุ่นยนต์ขนของในคลังสินค้า แต่ไม่จบแค่นั้น Amazon จัดแข่งขัน Amazon Picking Challenge ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน ICRA 2015 Robot Challenge

Read more

หุ่นยนต์ทำให้เรารักกัน

ใครจะไปคิดว่าหุ่นยนต์ที่ดูแข็งทื่อจะเป็นกามเทพแผลงศรให้คน 2 คนมารักกัน เมื่อ Andew Ng ผู้อำนวยการของ Stanford Artificial Intelligence Lab ผู้โด่งดังในวงการ machine learning และเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Coursera เว็บบทเรียนออนไลน์ ได้พบกับ Carol Reiley นักพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดที่ Johns Hopkins University และมีส่วนร่วมในบริษัทก่อตั้งใหม่ด้านหุ่นยนต์ ได้พบกันที่งานประชุมวิชาการด้านหุ่นยนต์ ICRA (IEEE International Conference […]

Read more

หุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบให้เดินได้เหมือนมนุษย์มากยิ่งขึ้น

ตั้งแต่มีการพัฒนาหุ่นยนต์ประเภทเดินสองขาเสมือนมนุษย์ (humanoid robots) ขาของหุ่นยนต์ประเภทนี้โดยส่วนใหญ่จะถูกออกแบบให้มีระบบขับเคลื่อน และข้อต่อเหมือนกับขาของมนุษย์อย่างคร่าว ๆ เท่านั้น กล่าวคือ ขาหนึ่งข้างจะถูกออกแบบให้มีมอเตอร์เพียงแค่ 6 ตัว คือเป็นมอเตอร์ 3 ตัวสำหรับส่วนสะโพก อีก 1 ตัวสำหรับหัวเข่า และอีก 2 ตัวสำหรับข้อเท้า แม้ว่าการออกแบบในลักษณะนี้จะได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้งานได้ดี และใช้กันมานาน  แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่อีกหลายอย่างที่นักวิจัยและพัฒนาประสบปัญหามาตลอด 25 ปี

Read more

Cheetah จาก MIT มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีกขั้น

ในงาน IEEE International Conference on Robotics and Automation (ICRA) ทีมนักวิจัยจาก MIT ได้ออกมานำเสนอความก้าวหน้าล่าสุดของหุ่นยนต์ Cheetah ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นโดยเลียนแบบการเคลื่อนไหวจริงของเสือชีตาห์ เจ้าหุ่นยนต์ที่ชื่อ Cheetah ตัวนี้สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานเทียบเท่ากับสัตว์ที่มีขนาดใกล้เคียงกันในขณะกำลังวิ่งอีกด้วย

Read more

อยากไปเที่ยวแต่เพื่อนไม่ว่างหรอ พา MH-2 ไปด้วยสิ

เคยหรือไม่ที่คุณอยากไปเที่ยว อยากมีคนไปด้วย แต่เพื่อนดันไม่ว่าง ถ้าเคย วันนี้ ThaiRobotics Direct ภูมิใจเสนอ MH-2 หุ่นยนต์ telepresense ที่ทำให้เสมือนมีเพื่อนอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับคุณตลอดการเดินทาง MH-2 ย่อมาจาก miniature humanoid เป็นหุ่นยนต์ telepresense ขนาดเล็ก สวมใส่ไว้ที่ไหล่ ควบคุมได้จากระยะไกล มีองศาอิสระถึง 20 องศา คือ แขน 2 ข้าง ข้างละ 7 องศา […]

Read more

[ICRA 2012] วันสุดท้าย

วันที่สามนี้เป็นวันสุดท้ายของงานสัมมนาวิชาการนี้ครับ  (ไม่นับวันเวิร์คชอปวันจันทร์และวันศุกร์) ขออภัยที่ไม่ได้อัปเดตตรงวัน เพราะว่าเนื้อหาเยอะ วันนี้มีไฮไลต์ที่งานแจกรางวัลให้กับบุคคลที่สำคัญในวงการหุ่นยนต์, ประกาศชื่อ IEEE  Fellow ในสาขาหุ่นยนต์ประจำปีนี้ และ งานวิจัยดีเด่นในงานสัมมนานี้ครับ ที่เด่น ๆ มี Bernard Roth รางวัล 2012 IEEE Robotics and Automation Award เกี่ยวกับงานกลศาสตร์หุ่นยนต์ การควบคุมวัตถุ และงานออกแบบ Jean-Claude Latomb รางวัล Pioneer in […]

Read more

Omni-Finger นิ้วหุ่นยนต์เทพ หมุนวัตถุได้รอบทิศทาง

นักวิจัยจาก Osaka University ได้ต่อยอด Omni-Crawler หุ่นยนต์ตีนตะขาบที่เคลื่อนที่ได้รอบทิศทาง มาเป็น Omni-Finger โดยนำกลไกที่ทำให้ตีนตะขาบเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทาง มาแปลงเป็นนิ้วหุ่นยนต์ ผลก็คือ มือหุ่นยนต์นั้นสามารถหมุนวัตถุไปในทิศทางใดก็ได้โดยไม่ต้องวางวัตถุแล้วหยิบใหม่ แต่ก็ยังมีความท้าท้ายให้แก้อยู่คือ นิ้วนี้จะทำงานได้ต้องมีจุดสัมผัสกับวัตถุตลอดเวลา ดังนั้น ถ้าเจอวัตถุรูปทรงประหลาด หุ่นยนต์ก็ต้องคิดก่อนว่าจะจับยังไงให้นิ้วสัมผัสกับวัตถุได้ตลอดเวลาที่หมุนวัตถุนั้น อาจจะยังนึกภาพไม่ออก ลองดูวิดีโอในข่าวนะครับ งานวิจัยนี้ชื่อ Robotic Finger Mechanism Equipped Omnidirectional Driving Roller with Two Active […]

Read more

เมื่อหุ่นยนต์สามารถคิดคำศัพท์เพื่อสื่อสารกันเรื่องเวลาได้

การสื่อสารเป็นความสามารถที่สำคัญอย่างหนึ่งในสัตว์สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารเรื่องสถานที่และเวลา เพราะมันคือมิติทั้งสี่ (x, y, z, t) ที่ใช้อธิบายความมีอยู่ของสิ่งต่าง ๆ (เช่น นาย ก เกิดที่เมือง อะ เมื่อ 14 ปีที่แล้ว หรือ นาย ก และนาย ข นัดกันไปพบที่สถานที่ อิ ในอีก 5 นาที) เมื่อปีที่แล้วนักวิจัยจาก University of […]

Read more
1 2