งานสัมมนาหุ่นยนต์ครั้งแรกของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมของรัสเซียจัดการประชุมสัมมนาด้านหุ่นยนต์ครั้งแรก ณ  เมือง Kubinka ซึ่งห่างจาก Moscow ไปทางตะวันตกประมาณ 63 กิโลเมตร มีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมสัมมนามากกว่า 950 คน ประกอบด้วย ผู้นำระดับสูงทางด้านการทหาร ตัวแทนทางด้านการบังคับใช้กฎหมาย อุตสาหกรรมทางการทหาร นักวิจัย และหน่วยงานจากกองทัพบก ผลงานที่ออกนำเสนอในงานนี้มีมากกว่า 150 ชิ้น งานที่น่าสนใจได้แก่ อากาศยานไร้นักบิน ระบบตรวจติดตามโดรนไม่พึงประสงค์ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมโดรน 10 ตัวพร้อมกัน โดรนน้ำหนักเบาเป็นพิเศษ […]

Read more

Clearpath Robotics เปิดตัวหุ่นยนต์เรือ Kingfisher M200

ในงานประชุมวิชาการ IROS ปีนี้ Clearpath Robotics นำหุ่นยนต์เรือตัวใหม่มาเปิดตัว ชื่อว่า Kingfisher M200 ซึ่งเป็นตัวอัปเกรดแบบที่เรียกว่าออกแบบใหม่หมดเลยก็ว่าได้จากรุ่นก่อนหน้านี้ที่ชื่อว่า Kingfisher M100 สำหรับรุ่น M200 ตัวใหม่นี้มาพร้อมกับระบบจีพีเอส (GPS) มาตรวัดความเฉื่อย (IMU) กล้องระวังภัย (Hazard avoidance cameras หรือ Hazcams) และระบบติดต่อกับผู้ใช้เพื่อควบคุมหุ่นยนต์แบบ “จิ้มแล้วคลิ๊ก” บนแผนที่ (กดเลือกตำแหน่งที่หุ่นยนต์จะวิ่งไปบนแผนที่ได้เลย) น้ำหนักรวมของมันคือ 30 กิโลกรัมและขนของหนักได้อีก 10 […]

Read more

UAV หลบหลีกสิ่งกีดขวางด้วยกล้อง 1 ตัวและระบบประสาทเทียม

นักวิจัยจาก Cornell University พัฒนากระบวนการให้ quadrotor ตรวจหาและหลบหลีกสิ่งกีดขวาง โดยใช้ภาพเพียง 1 ภาพ จากกล้องเพียง 1 กล้อง คำอธิบายนี้อาจฟังดูยาก มาดูก่อนว่าเดิมทีนั้นการตรวจจับสิ่งกีดขวางบนอากาศยานไร้คนขับทำกันอย่างไร วิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่งคือการใช้กล้องคู่ (stereovision) จำลองการมองเห็นเป็น 3 มิติแบบตามนุษย์ แต่วิธีนี้จะใช้ได้ดีเมื่อกล้องทั้ง 2 ตัวมีระยะห่างกันมาก ๆ และมีปัญหาในการตรวจจับวัตถุที่มีลวดลายมาก ๆ หรือสะท้อนแสง อีกวิธีหนึ่งคือการใช้ laser range finder […]

Read more

DARPA Robotics Challenge Update!

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้เขียนบทความเกี่ยวกับ DARPA Robotics Challenge ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ปฎิบัติภารกิจกู้ภัยในพื้นที่ประสบภัย  ทาง DARPA ก็ได้เสนอที่จะให้ความช่วยเหลือทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้โดยการให้ยืมหุ่นยนต์จาก DARPA (ทั้งหมดจำนวน 6 ตัว) ได้ ในกรณีที่ทางทีมไม่มีหุ่นยนต์เป็นของตัวเอง  หรือต้องการที่จะพัฒนาในส่วนของโปรแกรมเพียงอย่างเดียว  ซึ่งในขณะนั้นก็ยังไม่มีการเปิดเผยถึงรายละเอียดของหุ่นยนต์ดังกล่าวแต่อย่างใด ภายในงานประชุมทางวิชาการ IROS 2012 Dr.Gill Pratt ซึ่งเป็นผู้จัดการของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหุ่นยนต์ในหลาย ๆ โครงการของ DARPA ได้ออกมาแถลงการเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ DARPA จะนำออกมาให้หยิบยื่มทั้งหกตัวนั้นว่าคือหุ่นยนต์ ATLAS […]

Read more

6 วิดีโอแสดงพัฒนาการหุ่นยนต์ในรอบ 25 ปี

เนื่องในโอกาสที่การประชุมวิชาการ IROS (IEEE/RSJ International Conference on Intelligent Robots and Systems) ครบรอบ 25 ปีในปีนี้ จึงมีการประกวดวิดีโอแสดงประวัติและความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา 6 วิดีโอที่เข้ารอบสุดท้ายมีดังนี้

Read more

Robobees หุ่นยนต์แมลงขนาดจิ๋วจาก Harvard

นักวิจัยจาก Harvard เข้าใกล้เป้าหมายที่จะพัฒนาการควบคุมหุ่นยนต์ Robobee มากขึ้นเรื่อย ๆ หุ่นยนต์ขนาดจิ๋วที่มีน้ำหนักของปีกหนักน้อยกว่า 0.1 กรัมตัวนี้ได้รับการพัฒนามายาวนานกว่า 5 ปี ในส่วนฮาร์ดแวร์ตอนนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่ส่วนการควบคุมที่จะทำให้มันบินได้อย่างที่เราต้องการ ที่ตัว Robobees เอง บริเวณใต้ปีกทั้งสองข้างของมันมีตัวต้นกำลังเพื่อจะทำให้มันบินหมุนตัวได้ใน 2 แกน ได้แก่ มุม row กับมุม pitch ขาดไปหนึ่งมุมที่สำคัญต่อการควบคุมคือ มุม yaw วิธีการควบคุมที่นักวิจัยใช้ตอนนี้เป็นแบบวงรอบเปิด (open-loop control) […]

Read more

หุ่นยนต์ 3 ชนิดรวมทีมสำรวจปะการัง

งานวิจัยนี้นำเสนอการทำงานของหุ่นยนต์สามชนิดที่ทำงานในสภาวะแวดล้อมต่างกัน เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน นั่นคือการสอดส่องดูแลแนวปะการัง เนื่องจากการสร้างหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่หลาย ๆ อย่างได้ภายในตัวเดียวเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก การสร้างและใช้หุ่นยนต์ให้ตรงประเภทงานเฉพาะอย่างนั้นดูจะง่ายกว่า ถ้าลองนึกถึงการสำรวจตรวจดูแนวปะการัง หุ่นยนต์ที่ใช้ต้องบินได้ เคลื่อนที่บนผิวน้ำได้ และดำน้ำได้ด้วย ต้องเป็นหุ่นยนต์สะเทินน้ำสะเทินบกเลยทีเดียว งานนี้ทีมวิจัยไม่ได้สร้างหุ่นยนต์แบบนั้น แต่สร้างหุ่นยนต์ที่บินได้ หุ่นยนต์บนผิวน้ำ และหุ่นยนต์ใต้น้ำ แล้วให้มันทำงานร่วมกันเป็นทีม

Read more

หุ่นยนต์ Octavia จะมาช่วยมนุษย์ในภารกิจดับเพลิง

เพิ่งจะนำเสนอ Thermite หุ่นยนต์ดับเพลิงไปเมื่อไม่นานมานี้ วันนี้มีอีกหนึ่งงานวิจัยที่น่าสนใจและเป็นที่จับตามองในการประชุมวิชาการนานาชาติ IROS 2012 มานำเสนอ นั่นคือ หุ่นยนต์นักดับเพลิงที่ชื่อว่า Octavia ซึ่งจะทำงานร่วมทีมกับนักดับเพลิงมนุษย์ตัวจริง (ไม่ได้ลุยเดี่ยว) ไปในภารกิจดับเพลิง งานวิจัยนี้ไม่ได้พุ่งเป้าความสนใจไปที่วิธีการดับเพลิง แต่เป็นเรื่องของการสื่อสารระหว่างหุ่นยนต์กับมนุษย์เพื่อที่จะให้หุ่นยนต์ก้าวไปถึงจุดที่จะทำหน้าที่ดับเพลิงได้ สำหรับเรื่องวิธีการดับเพลิงนั้นเป็นเรื่องง่ายสำหรับ Octavia ไปแล้ว Octavia ดับเพลิงโดยใช้ปืนอัดอากาศยิงโฟมดับเพลิงเข้าไปยังจุดที่เกิดเพลิงไหม้ สิ่งที่หุ่นยนต์ตัวนี้ต้องเรียนรู้มากกว่าการยิงโฟม คือ การเดินตามคน การระบุตัวตนของคน เข้าใจสิ่งที่คนพูดหรือแสดงท่าทางเพื่อสื่อสารกับมัน การระบุตำแหน่งของจุดที่มีเพลิงไหม้ และยิงโฟมไปให้โดนไฟได้อย่างแม่นยำ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ อย่างแน่นอน ลองดูกระบวนการต่าง […]

Read more

หุ่นยนต์เลียนแบบการเดินของปลาหมึก

นักวิจัยจาก Italian Institute of Technology และ Kings College London ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยหนวดอ่อนนิ่ม 4 ข้าง หนวดแต่ละข้างมีท่อลม 3 ท่ออยู่ข้างใน เมื่ออัดแรงดันเข้าไปในท่อแต่ละท่อด้วยแรงดันแตกต่างกันก็จะสามารถควบคุมรูปร่างความโค้งของหนวดได้ เนื่องจากหนวดสามารถโค้งเท่าใดก็ได้และความโค้งนั้นต่อเนื่อง (ต่างจากกลไกที่ใช้ข้อต่อจุดหมุน ที่จะงอได้เป็นปล้อง ๆ ไม่สามารถงอเป็นความโค้งต่อเนื่องได้) กลไกนี้จึงมีชื่อว่า Continuum Limbs ซึ่งหมายถึงระยางที่ต่อเนื่อง ในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ ใช้การจ่ายแรงดันเข้าไปในหนวดทั้ง 4 ข้างตามลำดับที่เหมาะสม หุ่นยนต์ตัวนี้ก็จะเดินได้ เนื่องจากหุ่นยนต์ตัวนี้ไม่มีโครงสร้างที่แข็งเลย […]

Read more

อยากไปเที่ยวแต่เพื่อนไม่ว่างหรอ พา MH-2 ไปด้วยสิ

เคยหรือไม่ที่คุณอยากไปเที่ยว อยากมีคนไปด้วย แต่เพื่อนดันไม่ว่าง ถ้าเคย วันนี้ ThaiRobotics Direct ภูมิใจเสนอ MH-2 หุ่นยนต์ telepresense ที่ทำให้เสมือนมีเพื่อนอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับคุณตลอดการเดินทาง MH-2 ย่อมาจาก miniature humanoid เป็นหุ่นยนต์ telepresense ขนาดเล็ก สวมใส่ไว้ที่ไหล่ ควบคุมได้จากระยะไกล มีองศาอิสระถึง 20 องศา คือ แขน 2 ข้าง ข้างละ 7 องศา […]

Read more
1 2