IHMC ปรับปรุงอัลกอริธึมใหม่ให้กับ Atlas ทรงตัวเดินได้ดีกว่าเดิม

หลังจากที่ IHMC (Florida Institute for Human & Machine Cognition ) เคยนำหุ่นยนต์ Atlas โชว์การทรงตัวขณะเดินเหยียบแผ่นอิฐมาแล้ว วันนี้ IHMC ได้อัปโหลดอัลกอริธึมการเดินใหม่ที่ดีกว่าเดิมให้กับ Atlas อัลกอริธึมใหม่นี้จะช่วยหุ่นยนต์วางเท้าไปบนพื้นผิวที่ไม่เรียบได้อย่างมั่นคงด้วยการก้าวเท้าไปข้างหน้าหยั่งหาจุดสมดุลที่ดีที่สุดก่อนจะลงน้ำหนัก พอพบจุดสมดุลก็ลงน้ำหนักเต็มตัว แล้วรีบก้าวเท้าอีกข้างไปข้างหน้าหาจุดสมดุลถัดไป (ชมวิดีโอได้ท้ายข่าวครับ) ที่มาและภาพ New Atlas

Read more

BALLU หุ่นยนต์ humanoid ไม่มีวันล้ม กระโดดลงจากตึก 4 ชั้นได้

นักวิจัยจาก RoMeLa (Robotics & Mechanism Laboratory) ที่ UCLA นำโดย Dennis Hong ได้พัฒนาหุ่นยนต์ BALLU ซึ่งย่อมาจาก Buoyancy Assisted Lightweight Legged Unit (หุ่นยนต์ของ Dennis Hong แต่ละตัวไม่ธรรมดาเลย ทั้งกลไก ความสามารถ และชื่อ) เป็นหุ่นยนต์ humanoid ที่ครึ่งบนเป็นบอลลูนบรรจุฮีเลียม ทำให้มีแรงช่วยยกตัวขึ้นตลอดเวลา […]

Read more

OceanOne หุ่นยนต์ดำน้ำคล้ายมนุษย์ อนาคตของการทำภารกิจใต้น้ำ

ทีมนักวิจัยจาก Stanford นำโดยศาสตราจารย์ Oussama Khatib ได้รับการสนับสนุนจาก Meka Robotics (ก่อนที่จะโดน Google ซื้อไป) และ King Abdullah University of Science and Technology (KAUST) ประเทศซาอุดิอาระเบีย พัฒนา OceanOne หุ่นยนต์ดำน้ำคล้ายมนุษย์ สามารถทำงานได้ละเอียดและคล่องแคล่วกว่า ROV ที่มีใช้ทั่วไป OceanOne ถูกส่งไปสำรวจซากเรือ King […]

Read more

Sophia หุ่นยนต์ที่แสดงออกทางหน้าตาและพูดจาโต้ตอบได้เหมือนมนุษย์

ทุกคนอาจจะเคยเห็นหุ่นยนต์แอนดรอยด์หน้าตาเหมือนคนที่ค่อย ๆ หันหน้า ขยับปากพูดแบบช้า ๆ มาก่อน แต่ไม่ใช่หุ่นยนต์ Sophia ตัวนี้แน่ เพราะนอกจากจะขยับศีรษะและแสดงสีหน้าได้เร็วใกล้เคียงกับธรรมชาติของคนมากแล้ว Sophia ยังขยับปากตรงกับคำพูดและโต้ตอบกับมนุษย์ได้อย่างแนบเนียนมากด้วย

Read more

หุ่นยนต์ ATLAS รุ่นอัปเกรดจาก Boston Dynamics

Boston Dynamics เพิ่งโพสต์วิดีโอแสดงความสามารถอย่างไม่น่าเชื่อของหุ่นยนต์ ATLAS รุ่นอัปเกรดใหม่ หุ่นยนต์ตัวนี้มีจุดเริ่มต้นพัฒนาจากการแข่งขัน DARPA Robotics Challenge  “รุ่นถัดไป” ของ ATLAS นี้ดูแล้วเหมือนกับว่ามีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดมหาศาลในเรื่องของเทคโนโลยีที่นำมาใช้งาน น่าจะเรียกว่าคนละสปีชีส์เลยก็ว่าได้เลยหากเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้

Read more

ส่งหุ่นยนต์ SAFFiR ไปเป็นนักดับเพลิงบนเรือ

SAFFiR (อ่านว่า เซฟเฟอร์ เหมือนกับคำว่า safer) อยู่ภายใต้การพัฒนาของหน่วยวิจัยจากสหรัฐอเมริกา หุ่นยนต์ตัวนี้เคยถูกใช้ในการแข่งขัน DARPA Robotic Challenge มาก่อนด้วย แต่ในครั้งนี้ทางกองทัพเรือได้ให้เงินทุนวิจัยเพิ่มอีก $600,000 หรือประมาณ 21,326,000 บาท แก่ Worcester Polytechnic Institute เพื่อทำให้หุ่นยนต์เดินได้เก่งขึ้น นี่ถือเป็นโครงการต่อเนื่องจากเมื่อประมาณสองปีก่อน (ข่าวเก่า – กองทัพเรือสหรัฐฯ เตรียมทดสอบหุ่นยนต์ดับเพลิง)

Read more

หรือนี่จะเป็น ASIMO รุ่นใหม่ที่ออกผจญวิกฤตภัยได้จาก Honda

ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์โรงไฟฟ้าฟุกุชิม่าระเบิดที่ญี่ปุ่น ทุกคนยังคงจำกันได้ว่าไม่มีหุ่นยนต์สัญชาติญี่ปุ่นตัวใดเลยที่สามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้ คำถามหนึ่งคือ ทำไมฮอนด้าไม่ส่ง ASIMO เข้าไปปฏิบัติภารกิจนี้ คำตอบง่าย ๆ ที่ฮอนด้าตอบกลับมาคือ ASIMO ไม่ได้มีความสามารถในการจัดการกับสภาพแวดล้อมสุดโหดแบบนี้ ASIMO ไม่เคยออกไปทำหน้าที่ผจญภัย ประสบกับภาวะแผ่นดินไหว ระเบิด เอเลี่ยนบุกโลก หรือเหตุการณ์วุ่นวายอื่น ๆ แต่กลับถูกออกแบบมาเพียงเพื่อใช้ในสำนักงานเท่านั้น ฮอนด้าเองก็รู้เช่นกันถึงข้อจำกัดในความสามารถของ ASIMO ที่มีอยู่ ณ ตอนนั้น และนี่คงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม ฮอนด้าเองกำลังพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในสภาวะวิกฤตโดยเฉพาะ

Read more

หุ่นยนต์ humanoid ประสิทธิภาพสูง ชาร์จไฟ 1 ครั้ง เดินได้ 6 ชั่วโมง

ใครที่ได้ติดตามข่าว DARPA Robotics Challenge คงจะรู้จัก Atlas หุ่นยนต์ humanoid ที่ DARPA สนับสนุนงบวิจัยและถูกนำมาใช้แข่งขัน ถึงแม้ Atlas จะดูทำงานได้อย่างน่าประทับใจ แต่เมื่อ DARPA เห็น Atlas ในครั้งแรก DARPA กลับไม่พอใจ เพราะ Atlas ใช้พลังงานมากเหลือเกิน (ในรุ่นแรกต้องต่อสายพลังงานตลอดเวลา ในรุ่นต่อมาจึงทำงานโดยมีแหล่งพลังงานในตัวได้ แต่ก็ทำงานได้ไม่นานมาก) จึงให้งบวิจัยอีกก้อนสำหรับพัฒนาหุ่นยนต์ humanoid ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น […]

Read more

การบรรยาย Interactive Robots as New Information Media โดย Hiroshi Ishiguro

เมื่อวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมาฮิโรชิ อิชิกุโระ (Hiroshi Ishiguro) ศาสตราจารย์ประจำ Osaka University ผู้ที่มีผลงานในด้านการศึกษาเกี่ยวกับหุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ (Humanoid Robot) ได้มาบรรยายพิเศษที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง (บทความครั้งก่อน) ในหัวข้อ Interactive Robots as New Information Media

Read more

หุ่นยนต์ใช้ไม้เท้าช่วยเดินในที่ขรุขระ

การพัฒนาหุ่นยนต์ให้เดิน 2 ขานั้นไม่ง่ายเลย ยิ่งโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ขรุขระ ความยากมีทั้งในด้านการวางแผนการเดินว่าควรจะวางเท้าบริเวณใด และยากในการทรงตัว การเดิน 2 ขานั้นอาจจะดูง่ายสำหรับมนุษย์ แต่ในพื้นที่ที่ขรุขระมาก ๆ บางทีมนุษย์ก็เดินอย่างลำบาก และใช้ตัวช่วย เช่น การใช้ไม้เท้า แนวคิดนี้เองทำให้นักวิจัยจาก Stanford University พัฒนา SupraPed หุ่นยนต์ที่ใช้ไม้เท้าช่วยในการเดินในที่ขรุขระ

Read more
1 2 3 4