Kinema Systems ระบบหุ่นยนต์ที่หยิบกล่องมั่ว ๆ บนพาเลทได้

หุ่นยนต์ถูกใช้มากในงานเคลื่อนย้ายสิ่งของ (material handling) ในโรงงานและคลังสินค้า แต่มีงานอย่างหนึ่งที่ดูง่ายสำหรับมนุษย์แต่ยากสำหรับหุ่นยนต์ คือการหยิบกล่องหลากหลายรูปแบบที่จัดเรียงกันแน่นบนพาเลทออกมา แต่ Kinema Systems สตาร์ตอัปจากแคลิฟอร์เนียมีระบบที่แก้ปัญหานี้มาเสนอ

Read more

เครื่องสแกนหนังสือความเร็วสูง

ถ้าพูดถึงงานที่เกี่ยวกับภาพและความเร็วสูง คงจะเป็นผลงานของที่ไหนอื่นไม่ได้ นอกจาก Ishikawa Oku Laboratory ที่ The University of Tokyo เครื่องสแกนหนังสือความเร็วสูง BFS-Auto เครื่องนี้ สามารถสแกนได้เร็วถึงกว่า 250 หน้าต่อนาที หรือ 4 หน้ากว่า ๆ ใน 1 วินาที และยังสแกนเป็นภาพความละเอียดสูงอีกต่างหาก หัวใจหลักของเครื่องนี้มี 3 จุดคือ การพลิกหน้ากระดาษอัตโนมัติความเร็วสูง สามารถพลิกหนังสือที่มีสันตามปกติได้ […]

Read more

UAV หลบหลีกสิ่งกีดขวางด้วยกล้อง 1 ตัวและระบบประสาทเทียม

นักวิจัยจาก Cornell University พัฒนากระบวนการให้ quadrotor ตรวจหาและหลบหลีกสิ่งกีดขวาง โดยใช้ภาพเพียง 1 ภาพ จากกล้องเพียง 1 กล้อง คำอธิบายนี้อาจฟังดูยาก มาดูก่อนว่าเดิมทีนั้นการตรวจจับสิ่งกีดขวางบนอากาศยานไร้คนขับทำกันอย่างไร วิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่งคือการใช้กล้องคู่ (stereovision) จำลองการมองเห็นเป็น 3 มิติแบบตามนุษย์ แต่วิธีนี้จะใช้ได้ดีเมื่อกล้องทั้ง 2 ตัวมีระยะห่างกันมาก ๆ และมีปัญหาในการตรวจจับวัตถุที่มีลวดลายมาก ๆ หรือสะท้อนแสง อีกวิธีหนึ่งคือการใช้ laser range finder […]

Read more

6 วิดีโอแสดงพัฒนาการหุ่นยนต์ในรอบ 25 ปี

เนื่องในโอกาสที่การประชุมวิชาการ IROS (IEEE/RSJ International Conference on Intelligent Robots and Systems) ครบรอบ 25 ปีในปีนี้ จึงมีการประกวดวิดีโอแสดงประวัติและความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา 6 วิดีโอที่เข้ารอบสุดท้ายมีดังนี้

Read more

ตาหุ่นยนต์ความเร็วสูง มองเห็นการหมุนของลูกปิงปองได้

นักวิจัยจาก Ishikawa Oku Lab ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว กลุ่มเดียวกับที่พัฒนาหุ่นยนต์เป่ายิ้งฉุบไม่มีวันแพ้ กล่าวว่ามีผู้คนจำนวนมากได้ดูวิดีโอดังกล่าว แต่วิดีโอนั้นมีการนำเสนอรายละเอียดทางเทคนิคน้อยเกินไป ทำให้คนทั่วไปดูสนุก แต่นักวิจัยหุ่นยนต์ดูแล้วรู้สึกไม่เกิดประโยชน์ จึงเผยแพร่วิดีโอใหม่ที่แสดงวิธีการทำงานและความสามารถของระบบจับภาพความเร็วสูงนี้ ในระบบนี้จะมีกล้องความเร็วสูง 1,000 เฟรมต่อวินาที ความละเอียด Full HD ยึดอยู่กับที่ และมีกระจกสองบานที่หมุนได้ (pan-tilt) ทำให้สามารถกวาดมุมมองการมองเห็นได้กว้าง โดยหมุนได้มากที่สุด 60 องศา กลไกลหมุนกระจกนี้หมุนได้เร็วถึง 40 องศาใน 3.5 มิลลิวินาที ด้วยความสามารถจากกล้องความเร็วสูงและกลไกกวาดการมองเห็นความเร็วสูง […]

Read more

ถ้าคุณแน่ อย่าเป่ายิ้งฉุบแพ้หุ่นยนต์

นักวิจัยจาก Ishikawa Oku Lab ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ได้โปรแกรมให้มือหุ่นยนต์เล่นเป่ายิ้งฉุบกับมนุษย์ และสามารถชนะได้ตลอด เบื้องหลังชัยชนะนี้คือระบบการมองภาพที่ทำงานที่ความเร็วสูง เพียงแค่ 1 มิลลิวินาที หุ่นยนต์ก็รู้แล้วว่าผู้เล่นจะออกอะไร และมือหุ่นยนต์ที่ทำงานที่ความเร็วสูงที่ใช้เวลาแค่ไม่กี่มิลลิวินาทีเพื่อออกท่าทางมาเอาชนะผู้เล่น มนุษยชาติกำลังจะพ่ายแพ้ต่อหุ่นยนต์แล้วหรือนี่…. ดูวิดีโอได้ท้ายข่าวครับ ที่มา Ishikawa Oku Lab ผ่านทาง IEEE Spectrum Automaton ภาพจาก Ishikawa Oku Lab

Read more

โซนี่เผย CMOS แบบชดเชยแสงรุ่นใหม่

โซนี่เปิดเผยว่า CMOS แบบชดเชยแสง (back-illuminated CMOS) ในยุคถัดไปของบริษัทนั้นจะมากับขนาดที่เล็กลงและพิกเซลที่กินเนื้อที่ในยูนิตมากกว่าแบบเก่า (ดูรูปใน [1]) เพราะนำตัววงจรไปใว้ด้านหลังส่วนรับแสงของเซนเซอร์แทน เซนเซอร์รับแสงของกล้องคอนซูมเมอร์นั้นอยู่ในระดับที่ดีมากและมีราคาถูก ดังที่เห็นคนนำไปใช้งานภาคสนามในเวลากลางคืนบ่อย ๆ (ใน [2] นั้นนำกล้องนิคอน D700 ไปทำเป็น night vision; แม้นิคอนจะใช้เซนเซอร์ของโซนี่ในกล้องหลายรุ่น และมีความใกล้ชิดในกระบวนการผลิต แต่ D700 นั้นใช้เซนเซอร์ของนิคอนเอง) เซนเซอร์ CMOS แบบชดเชยแสงนั้นมีช่วงพลวัต (dynamic range) กว้างกว่าเซนเซอร์แบบที่ไม่มีการชดเชยแสงด้านหลัง และยังมีความไวแสงสูงมากอีกด้วย […]

Read more