Writing guide

ช่วยกับปรับปรุงไปเรื่อย ๆ นะครับเหล่า Editors ทั้งหลาย

บทความต้องประกอบด้วย

  1. ชื่อบทความ
  2. เนื้อหา (อาจมีภาพ หรือ วิดีโอ ประกอบด้วย)
  3. สำหรับเนื้อหาที่ไม่ได้เขียนขึ้นมา ต้องอ้างอิงที่มา เพื่อเคารพ/ให้เครดิตกับผู้สร้างสรรค์ความรู้นั้นๆ
    • โดยใช้ข้อความแสดงให้เห็นถึงการอ้างอิงแหล่งที่มา เช่น via IEEE Spectrum Automaton, จาก xkcd: Wisdom of the Ancients
    • ตำแหน่งที่ใส่ประโยคอ้างอิง ให้ใส่ไว้ล่างสุดของข่าวเท่านั้น

ประเภทของเนื้อหา (categories)

  • News ข่าวเกี่ยวกับหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีพื้นฐานของหุ่นยนต์ อาจเป็นบทความที่เขียนขึ้นเองหรือข่าวที่นำมาเล่า หรือแปลมาจากเว็บต่างประเทศก็ได้
    • local news ข่าวภายในประเทศไทย
    • international news ข่าวแปลมาข่าวจากต่างประเทศ (นอกประเทศไทย)
  • Articles บทความเกี่ยวกับหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีพื้นฐานของหุ่นยนต์ โดยแสดงรายละเอียด ลงลึกมากกว่า News
    • project review นำเสนอบทความเกี่ยวกับโปรเจคต์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ สามารถเพิ่มเติมความคิดเห็นของผู้เขียนเองเข้าไปได้อย่างอิสระ
    • robot review บทวิเคราะห์วิจารณ์หุ่นยนต์จากทั่วโลก
    • space technology  บทความเกี่ยวกับเทคโลยีทางด้านอวกาศ อากาศยาน
    • tutorials นำเสนอบทความในลักษณะให้ความรู้ เน้นแจกแจงรายละเอียดเป็นขั้นตอน โดยมุ่งหวังให้ผู้อ่านศึกษาทำตามได้เลย
  • Web Snap ข่าวหรือบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับหุ่นยนต์ หากคนที่เริ่มต้นเขียนบทความใหม่ๆ ยังไม่แน่ใจว่าบทความของตัวเองเหมาะจะอยู่ในหมวดหมู่ใด ให้กำหนดเป็นcategory นี้ไปก่อน และหากพิจารณาได้ภายหลังว่าเหมาะสมที่จะจัดไว้ในหมวดอื่น สามารถย้ายหมวดหมู่ภายหลังได้ กลุ่ม Editior จะช่วยดูแลในส่วนนี้ให้ครับ

ข้อแนะนำและภาษาที่ใช้เขียน

  • ภาษาไทยเป็นหลัก และใช้ศัพท์เทคนิคเป็นภาษาอังกฤษ (โปรดอ้างอิงจากหน้า Glosssary)
  • หลังไม้ยมก “ๆ” เว้น 1 ช่องว่างก่อนหน้าและหลังไม้ยมก เช่น ไป ๆ มา ๆ
  • ระหว่างคำภาษาไทยกับคำภาษาอังกฤษ เว้น 1 ช่องว่าง
  • ระหว่างคำกับตัวเลข เว้น 1 ช่องว่าง
  • หลังเครื่องหมายจุลภาค “,” เว้น 1 ช่องว่าง
  • นอกวงเล็บ ใส่ช่องว่างหน้าหลัง ข้างในวงเล็บไม่ต้องใส่ช่องว่าง
  • ก่อนและหลังอัญประกาศ ไม่เว้นช่องไฟ เช่น “หุ่นยนต์ดำน้ำ” ถูกต้อง, ” หุ่นยนต์ดำน้ำ ” ผิด
  • คลังคำศัพท์ เอาไว้เช็คเพื่อเขียนให้ถูกต้อง http://lib.blognone.com/Glossary

Permalink

Permalink หรือลิงค์ถาวรของบทความ เป็นลิงค์สำหรับเข้าถึงตัวบทความโดยตรง ตามปรกติ WordPress จะตั้งให้เองตามชื่อบทความแต่จะมีปัญหากับชื่อที่ยาวๆและชื่อภาษาไทย ก่อนทำการ Publish กรุณาตรวจสอบความถูกต้องและปรับให้สื่อถึงบทความให้มากที่สุด

การตั้ง Permalink ใน WordPress

การตั้งค่า permalink
การตั้งค่า permalink

วิธีการอ้างอิงแหล่งที่มา

  1. ให้เขียนกำกับแหล่งที่มาของข่าวนั้นๆ ตามรูปแบบดังนี้
    • ที่มาและภาพ source
    • ที่มา source
    • ภาพ source
    • ที่มา+ผ่านทาง (ถ้ามีที่มา 2 ที่ ให้คั่นด้วยคำว่า “และ”)
      • ที่มา source1, source2, source3 ผ่านทาง source4
      • ที่มา source1 และ source2 ผ่านทาง source3
  2. ตรงคำว่า source ให้ทำลิงค์ไปหาที่มาเลย ไม่แปะลิงค์ข่าวยาว ๆ เอาไว้
    ไม่ทำอย่างนี้ http://spectrum.ieee.org/automaton/robotics/diy/tiny-clever-quadrotors-now-on-kickstarter
    ทำอย่างนี้ IEEE Spectrum Automaton
  3. source ที่ใช้บ่อย ๆ ให้เขียนด้วยตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ และลักษณะการเว้นวรรค ดังนี้
    IEEE Spectrum Automaton, Gizmag, Gizmodo, Plastic Pals, DigInfo, Engadget, Hizook, Robohub, Adafruit, robots.net, Robots Dreams
  4. กำหนดลิงค์ให้เป็นชนิด
     Open link in a new window/tab
  5. ตัวอย่าง: ที่มา Writing guide

วิดีโอ

  • การฝังวิดีโอจาก youtube:
    • สามารถคัดลอก URL มาแปะไว้ได้เลย
      อย่าลืมทำให้ URL เป็นข้อความแบบ unlink ก่อนใช้คำสั่ง
    • หรือใช้คำสั่ง ( ต้องใส่ไว้ในเครื่องหมาย "[ ]" )
       youtube=URL 

      เช่น

       youtube=http://www.youtube.com/watch?v=TcEjOKPctEY 

รูปภาพ

  • แทรกรูปภาพประกอบเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ (แนะนำเป็นอย่างยิ่ง)
  • รูปที่ set เป็น feature image ควรใช้รูปที่มีขนาดใหญ่กว่า 600×300 px และ aspect ratio ไม่เกิน 1.9 : 1

Feature image

  • แนะนำให้ใช้รูปขนาด 600×300 pixel เพื่อให้ภาพออกมาสวยงาม เต็มกรอบพอดี (อนุโลมให้ใช้รูป 2:1 aspect ratio)
    ไม่เช่นนั้นรูปจะแหว่ง/ผิด aspect ratio

รู้จักกับ Tools ชื่อ Press This

หากคุณเข้าไปพบกับข่าวหรือบทความต่างประเทศที่น่าสนใจ และตั้งใจว่าจะเขียนบทความนั้นเป็นภาษาของตนเองลง thairobotics คุณสามารถบันทึกหน้าเว็บนั้นไปยังหน้า Add new post ของเว็บ Thairobotics ได้เลย โดยใช้ tools ชื่อ Press This ตัวนี้

วิธีการใช้งานไม่ยาก

  • ขั้นแรก sign in เข้าไปยัง account ของคุณ จากนั้นไปที่ Tools แล้วจะพบไอคอน Press This ให้คุณลากไอคอนนี้ไปไว้ในแถบ Bookmark ใน browser ของคุณ ถึงตอนนี้ถือว่าเป็นการติดตั้ง Press This ให้กับ Web Browser ของคุณแล้ว
  • ขั้นที่สอง เมื่อคุณเข้าไปพบเนื้อหาที่น่าสนใจในเว็บไซต์นั้น ให้กดปุ่ม Press This บนแถบ Bookmark ได้เลย จะมีหน้าต่างแสดงหน้า Add new post ของ thairobotic ในสไตล์ wordpress ขึ้นมาทันที
  • ขั้นสุดท้าย จัดการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ (publish) หรือ บันทึกฉบับร่าง (save draft) ไว้แล้วกลับมาเขียนในภายหลัง
  • เสร็จเรียบร้อย!

credit : แนวทางพัฒนาจาก Blognone writing guideline

LINE it!
The following two tabs change content below.
Loading Facebook Comments ...
Loading Disqus Comments ...