Trolley problem ปัญหาจริยธรรมกับปัญญาประดิษฐ์ในยุครถไร้คนขับ

การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์โดยไม่คำนึงถึงจริยธรรมอาจก่อให้เกิดภัยได้ ก่อนหน้านี้เคยกล่าวถึงการทดลองทางความคิด Paperclip maximizer สถานการณ์นี้อาจดูไกลความจริงไปหน่อย ลองขยับมาดูสถานการณ์ที่ใกล้ขึ้นมา นั่นก็คือ Trolley problem ซึ่งถูกนำกลับมาพูดถึงกันมากขึ้นในยุคที่รถไร้คนขับเริ่มถูกใช้งานจริงจัง

Read more

แค่สั่งให้หุ่นยนต์ “สร้างคลิปหนีบกระดาษ” ก็อาจก่อ “สงครามจักรวาล” ได้

Nick Bostrom นักปรัชญาผู้แต่งหนังสือ Superintelligence (ที่มีส่วนทำให้ Elon Musk กลัวหุ่นยนต์ยึดครองโลก) ได้เคยกล่าวถึงประเด็นที่ว่า หากเรากำหนดเป้าหมายให้หุ่นยนต์/ปัญญาประดิษฐ์ ถึงแม้เป้าหมายนั้นจะดูไม่เป็นพิษเป็นภัย แต่หากเราไม่สอนหุ่นยนต์ให้รู้จักจริยธรรม สามัญสำนึก กรอบความคิด หุ่นยนต์นั้นอาจจะมุ่งทำทุกอย่างให้บรรลุเป้าหมายโดยอาจก่อให้เกิดมหันตภัยร้ายแรงขึ้นได้

Read more

บอทจาก OpenAI ชนะเซียนเกม DOTA และทำไมเกมแบบนี้ถึงท้าทาย

ปัญญาประดิษฐ์จาก OpenAI สามารถเอาชนะ Dendi เซียนเกม DOTA ได้ภายใน 10 นาทีในเกมแรก ในเกมที่ 2 Dendi ยอมแพ้ และขอไม่เล่นต่อในเกมที่ 3 ในการแข่งขันตัวอย่างในงาน The International DOTA 2 Championships

Read more

แอป Not Hotdog จากซีรีส์ Silicon Valley ถูกพัฒนาขึ้นจริงด้วย TensorFlow

ในซีรีส์ Silicon Valley (ซีรีส์เกี่ยวกับเทคสตาร์ทอัป ใน Silicon Valley) ซีซัน 4 ตอน 4 ทีมได้พัฒนาแอปที่สามารถบอกได้ว่าภาพที่ถ่ายมาเป็นฮ๊อตดอกหรือไม่ ภายหลังที่ออกอากาศ ทีมสร้าง Silicon Valley ได้พัฒนาแอปนี้ขึ้นจริง ๆ มีให้ดาวน์โหลดทั้ง iOS และ Android และ Tim Anglade ผู้พัฒนาแอปนี้ได้เขียนบล๊อกอธิบายแนวทางการพัฒนาแอปนี้ ซึ่งได้ทดลองให้เครื่องมือหลาย ๆ อย่างในการทำ machine […]

Read more

DeepMind พัฒนา AI ที่ให้เหตุผลได้เหมือนมนุษย์

แนวทางการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลัก ๆ คือ machine learning ซึ่งเด่นในด้านการหารูปแบบ แต่ไม่เด่นด้านตรรกะ ตรงกันข้าม symbolic AI เด่นด้านการหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า แต่ไม่สามารถใช้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ดี ทำให้ทั้ง 2 แนวทางไม่สามารถเลียนแบบการใช้ตรรกะเชื่อมโยง หาความสัมพันธ์  เปรียบเทียบสิ่งตาม ๆ ที่สมองมนุษย์ทำได้ จนกระทั่งงานวิจัยล่าสุดจาก DeepMind ที่สามารถพัฒนาเทคนิคที่ทำให้ machine learning […]

Read more

gamalon เสนอบริการ AI วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคที่เจ๋งกว่า deep learning

บริษัท gamalon นำเสนอบริการปัญญาประดิษฐ์เพื่อวิเคราะ์ข้อมูล โดยใช้เทคนิค Bayesian Program Synthesis (BPS) ที่โฆษณาว่าเหนือกว่าเทคนิคสมัยนิยมอย่าง deep learning ในแง่ที่ใช้จำนวนข้อมูลในการเรียนรู้น้อยกว่า ใช้กำลังประมวลผลและเวลาน้อยกว่า นอกจากนี้ผลจากการเรียนรู้ด้วย BPS ยังเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ และสามารถปรับแต่งให้ดีขึ้นได้

Read more

เมื่อปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้ที่จะเรียนรู้

แต่ก่อนการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์จะต้องใช้นักพัฒนาเขียนโปรแกรม เขียนเงื่อนไขการตัดสินใจ เมื่อมีศาสตร์ด้าน Machine Learning เข้ามา นักพัฒนาเพียงแค่ออกแบบปัญญาประดิษฐ์แล้วให้มันเรียนรู้ค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมจากข้อมูลตัวอย่างจำนวนมาก ถึงแม้งานของนักพัฒนาจะลดลง แต่ก็ยังมีความยากและซับซ้อนอยู่ ล่าสุดนักวิจัยจากหลายกลุ่มได้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถออกแบบระบบการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

Read more

ย้อนมองวงการหุ่นยนต์ปี พ.ศ. 2559

ปี พ.ศ. 2559 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปนับว่าเป็นปีที่เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ออกจากวงการอุตสาหกรรมและงานเฉพาะทางต่าง ๆ แล้วเข้ามาอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปอย่างมาก มาดูกันว่าปีที่ผ่านมานี้มีอะไรน่าสนใจบ้าง

Read more

White House ออกรายงานเตรียมความพร้อมสู่ยุค AI และแผนพัฒนา AI แห่งชาติ

คณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสำนักประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (Executive Office of the President, National Science and Technology Council) ได้ออกรายงาน Preparing for the Future of Artificial Intelligence ว่าด้วยสถานะของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การใช้งาน โอกาส ข้อควรคำนึงถึง และความท้าทายในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์มีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ National Artificial Intelligence Research […]

Read more

Google Brain สอน AI ให้เข้ารหัสข้อความ

นักวิจัยจาก Google Brain ได้ทำการทดลองให้ neural network 2 ตัวพยายามคิดค้นวิธีเข้ารหัสเพื่อสื่อสารกัน และ neural network อีกตัวคอยแอบแกะรหัสว่า 2 ตัวแรกคุยอะไรกัน การทดลองเบื้องต้นให้ผลสำเร็จ คือ neural network 2 ตัวแรกสามารถคุยกันได้อย่างปลอดภัยจากการแอบอ่านของ neural network อีกตัว ในขณะที่ข้อความที่รับส่งกันยังคงสมบูรณ์ ไม่สูญเสียข้อมูลไป

Read more
1 2 3 5