เครื่องพิมพ์สามมิติสำหรับงานขนาดเล็กระดับเนื้อเยื่อ

เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติเริ่มต้นมาจากงานทำของต้นแบบที่ต้องการความรวดเร็ว (rapid prototype) ไม่ต้องส่งเข้าผลิตในโรงงาน ปัจจุบันได้พัฒนาไปมาก งานวิจัยที่ศาสตราจารย์ Shaochen Chen จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ทำอยู่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถทำหลอดเลือดเทียมจากเครื่องพิมพ์สามมิตินี้ได้ และหากเทคโนโลยีนี้ก้าวไปสู่ระดับที่เล็กลงไปเรื่อย ๆ ได้ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่อยู่ในสภาพไม่ดีด้วยลิ้นหัวใจอันใหม่ที่สร้างมาจากเซลล์ของผู้ป่วยเอง ไม่ใช่ลิ้นหัวใจเทียมที่ทำมาจากของแปลกปลอมภายนอกร่างกายมนุษย์ หรือรอการบริจาคอวัยวะจากคนอื่นอีกต่อไป

หากเปรียมเทียบกับเครื่องพิมพ์สองมิติที่ใช้หมึกพิมพ์ในการพิมพ์ เครื่องพิมพ์สามมิติอาจใช้พลาสติกหรือโลหะเป็นวัสดุตั้งต้น แต่ในกรณีนี้วัสดุในการพิมพ์จะเป็นวัสดุชีวภาพที่เรียกว่า hydrogel และระดับความเล็กที่จะใช้สร้างหลอดเลือดเทียมได้จะต้องเล็กระดับไมโครหรือนาโนเลยทีเดียว เทคนิคใหม่ที่มีงานวิจัยออกมาคือ dynamic optical projection stereolithography (DOPsL) ใครสนใจลึก ๆ ติดตามได้จากวารสาร Advanced Materials ครับ แต่บอกได้ว่าใช้เวลาหลายชั่วโมงเลยทีเดียวกว่าจะได้แต่ละชิ้น

ที่มา – gizmag

LINE it!
Loading Facebook Comments ...
Loading Disqus Comments ...