รูปที่ 1 อายุเฉลี่ยของประชากรในประเทศที่มีอายุตั้ง 20 ปีขึ้นไปจะเห็นได้ว่าในปีค.ศ. 2060 อายุเฉลี่ยของคนที่มีอายุสูงกว่า 20 ปีในญี่ปุ่นจะอยู่ที่ 60 ปีหรือแทบจะบอกได้เลยว่ามีแต่คุณลุงคุณป้าเต็มบ้านเต็มเมืองช่วยกันดูแลคุณตาคุณยาย
มีรายงานจาก OECD ระบุว่าในอีกไม่กี่ทศวรรตที่จะถึงนี้ เราจะเจอปัญหาขาดแคลนแรงงานเนื่องแรงงานจำนวนมากจะมีอายุเพิ่มขึ้น โดยมีประเด็นสำคัญ คือ
แรงงานที่กำลังชราภาพและมีอายุยืนยาวขึ้นจะมีปัญหาเรื่องการพัฒนาฝีมือและความสามารถในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ทำให้แรงงานเหล่านั้นกลายเป็นแรงงานที่ล้าหลังลงไปเรื่อย ๆ
Financial Times ก็นำชี้ให้เห็นในประเด็นเดียวกันในบทความ “ภายในปีค.ศ. 2020 โลกจะมีสังคม ชราภาพมาก เพิ่มเป็น 13 ประเทศ” ดังนี้
ในปัจจุบันที่ประเทศที่เป็นสังคมชราภาพมากประกอบไปด้วย เยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น คาดว่าในปีค.ศ. 2020 อีก 6 ประเทศในยุโรป (เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สวีเดน โปรตุเกส สโลวีเนีย และโครเอเชีย) จะประสบปัญหา และหลังจากนั้นไม่นานอีก 4 ประเทศจากทวีปต่าง ๆ (ฮ่องกง เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร) จะเจอปัญหาเดียวกันในปีค.ศ. 2030 โดยในระหว่างนี้ประเทศเหล่านั้นกำลังก็ก้าวเข้าสู่สังคมชราภาพเมื่อประชาการเกินกว่า 7 เปอร์เซนต์มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
หน่วยงานวางแผนนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศเนเธอร์แลนด์ (CPB) ก็ออกผลการวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของสังคมชราภาพดังนี้
การเติบโตของการจ้างงานจะเพิ่มตามการเพิ่มของประชากร โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน เมื่อประชากรชราภาพเพิ่มก็ส่งผลทำให้การจ้างงานชะงักเช่นกัน
นอกจากนั้นบทความจากหลาย ๆ องค์กรและรัฐบาลก็ชี้ไปในทิศทางเดียวว่า
ในอนาคตอันใกล้นี้แรงงานที่มีอายุในช่วง 20 – 64 ปีจะลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากอัตราการเกิดที่น้อยลง (ไม่มีคนรุ่นใหม่มาทดแทน) แต่มีภาระที่ต้องดูแลมากขึ้น (คนแก่ที่อายุยืนขึ้น) ทำให้ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาช่วยให้ทำแรงงานหนุ่มสาวที่น้อยลงเรื่อย ๆ
เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยยังไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไหร่ โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาคุณภาพของประชากรให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่จะมีบทบาทเป็นอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้
รูปที่ 2 โครงสร้างอายุของประชากรไทยเปรียบเทียบระหว่างปี ค.ศ. 2000 กับค.ศ. 2012
รูปที่ 3 โครงสร้างอายุของประชากรญี่ปุ่นเปรียบเทียบระหว่างปี ค.ศ. 1950 (หลังสงครามโลก) กับ ค.ศ. 2006 และการคาดการปีค.ศ. 2050
จากกราฟในรูปที่ 2 และ 3 ถ้าลองคำนวนง่าย ๆ ว่าญี่ปุ่นที่มีปัญหาเรื่องสังคมชราภาพแล้วในปัจจุบัน (ค.ศ. 2014) ประเทศไทยก็น่าจะอยู่ในสภาพไม่ต่างกันนักในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า แต่เรายังแทบจะไม่มีเทคโนโลยีหุ่นยนต์อะไรในมือที่จะช่วยให้เราเผชิญปัญหาที่เห็นอยู่ตรงหน้านอกจากหวังว่าจะซื้อเทคโนโลยีของต่างประเทศที่จะแพงขึ้น ๆ สุดท้ายเราอาจจะกลายเป็นแค่ประเทศที่ให้ประเทศที่มีเทคโนโลยีและทุนจากต่างชาติเข้ามาเช่าที่เผื่อผลิตสินค้าต่าง ๆ ด้วยทรัพยากรของประเทศไทยแล้วเอากลับมาขายคนไทยในราคาแพง ๆ
อเมริกาและญี่ปุ่นเริ่มจริงจังกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ตั้งแต่ช่วงค.ศ. 1960 และค.ศ. 1970 ตามลำดับ ตั้งแต่ตอนที่โครงสร้างประชากรเค้ายังดีกว่าประเทศไทยในปัจจุบันมากมายนักแล้วเราจะเริ่มจริงจังกันเมื่อไหร่?
ที่มา RoboHub



Latest posts by Mahisorn (see all)
- Tesla Model S รถยนต์อัตโนมัติสมองไว - 2015/10/31
- Motobot หุ่นยนต์สิงห์นักบิด - 2015/10/29
- Dyson 360 Eye ออกขายแล้วที่ญี่ปุ่น - 2015/10/25