International News

ฝูงบินหุ่นยนต์จะนำ Cloud Computing ขึ้นไปอยู่บนเมฆจริง ๆ

The Pirate Bayผู้ให้บริการการแบ่งปันไฟล์ได้รับแรงกดดันอย่างมากในระยะหลังในเรื่องการแบ่งปันไฟล์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ จึงเริ่มโครงการติดตั้งเซิฟเวอร์เก็บไฟล์บนเครื่องบินหุ่นยนต์ เช่น quadrotor หรือ บอลลูน ฝูงบินหุ่นยนต์เหล่านี้จะมีระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบุตำแหน่งด้วย GPS ติดต่อกันเป็นเครือข่ายผ่าน WiFi หรือสัญญาณวิทยุ ระบบนี้จะทำให้เครือข่ายการแบ่งปันไฟล์ย้ายไปที่ใด ๆ ก็ได้ และไม่สามารถถูกปิดได้ (ยกเว้นว่าจะยิงเครื่องบินลงมาเลย) ที่มา TorrentFreak และ IEEE Spectrum Automaton ภาพจาก TorrentFreak

Read more

อารมณ์ค้างจากซาโยนาระหรอ อยากได้แอนดรอยด์ซักตัวมั้ย

TJ* เป็นโครงการหนึ่งที่ถูกเสนอเข้าไปใน KICKSTARTER (เว็บที่ให้ใครเสนอโครงการอะไรเข้าไปก็ได้เพื่อระดมทุน ถ้ามีคนสนใจช่วยสนับสนุนครบตามจำนวนเงินที่ต้องการ ในเวลาที่กำหนด ก็จะได้รับการสนับสนุน ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ได้รับการสนับสนุนเลย) โดย TJ* จะเป็นแพลตฟอร์มอนิเมทรอนิกส์ (animatronics) ที่มี 3 องศาอิสระ (degree of freedom) คือ ตากรอกซ้าย-ขวา ขึ้น-ลง และปากอ้า-หุบ ขับด้วยเซอร์โว ควบคุมด้วย Arduino สามารถบังคับได้ในเวลาจริง (live control) หรือบันทึกแล้วเล่นซ้ำ (record-playback) […]

Read more

“Cheetah” หุ่นยนต์ที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก

หุ่นยนต์สี่ขาต้วมเตี้ยมทั้งหลายหลีกไป! Cheetah จากบริษัท Boston Dynamics ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กร DARPA มาแล้ว! เจ้า Cheetah ตัวนี้มาฉีกภาพเดิมๆที่หุ่นยนต์แบบใช้ขาเดิน (legged robots) ทั้งหลายซึ่งเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าหุ่นยนต์ที่ใช้ล้อในการขับเคลื่อน (wheeled robots) มาก ผู้ที่ติดตามข่าวหุ่นยนต์มาโดยตลอดคงคุ้นเคยกับหุ่นยนต์ล้ำสมัยที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กร DARPA กันดี โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่น่าสนใจอย่าง LS3 (Alpha dog), BigDog และ Petman ซึ่งทั้งหมดเป็นผลงานจาก Boston Dynamics เมื่ออยากได้หุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ได้รวดเร็วแล้วละก็ การเลียนแบบท่าทางการวิ่งของเสือชีตาร์ตามธรรมชาติก็ดูเป็นทางเลือกที่ดีมากทีเดียว ทางองค์กร DARPA ถึงกับกล้าประกาศว่า […]

Read more

ไม่ต้องใช้บาร์โคดไม่ต้องใช้ RFID ก็สแกนผักผลไม้ในซูเปอร์ได้!

โตชิบานำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตมาให้กับพนักงงานขายของในซูเปอร์มาร์เก็ตครับ คราวนี้เครื่องสแกนรุ่นใหม่ที่ไม่ใช้ทั้งบาร์โคด และ RFID อย่างเคย แต่ใช้วิทยาการรับรู้ภาพด้วยเครื่อง (machine vision) ผสานกับการรู้จำสินค้าชนิดต่าง ๆ แทน โตชิบาแสดงให้เห็นว่าเครื่องสามารถรู้จำผักผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ดีและรวดเร็ว เครื่องนี้มีประโยชน์มหาศาลเพราะผักผลไม้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตในญี่ปุ่นนั้นมักไม่มีบาร์โค้ดติดอยู่  (สินค้าเหล่านี้เก็บไม่ได้นาน และไม่คุ้มที่จะต้องชั่งน้ำหนักและไปติดบาร์โค้ดทีละผล) ทำให้พนักงานที่ไม่มีประสบการณ์จะต้องเสียเวลาคีย์ข้อมูลนาน นอกจากผักผลไม้ เครื่องนี้ยังสามารถสแกนของชนิดอื่นอย่างคูปองลดราคา หรือ กระป๋องเบียร์ได้อีกด้วย ที่มา Akihabaranews วิดีโอจาก DIGINFOTV

Read more

เซนเซอร์ CMOS ใหม่ จับภาพและความลึกได้ในเวลาเดียวกัน

บริษัทซัมซุงกำลังพัฒนาเซนเซอร์ CMOS (ที่ใช้ในกล้อง เพื่อรับรู้แสงหรือภาพตามที่เราเข้าใจกันง่าย ๆ ) ที่สามารถจับภาพ (RGB – แม่สี R=RED, G=GREEN, B=BLUE) และความลึกได้พร้อมกันเป็นตัวแรกของโลก  (ซัมซุงอ้างว่าอย่างนั้น) นั่นคือได้ข้อมูลเหมือนกับ Kinect เลย แต่ Kinect ใช้เซนเซอร์ RGB กับ เซนเซอร์วัดความลึกแยกกัน !!!

Read more

Real Steel ของจริง

คุณ Naoki Maru วิศวกรด้านระบบอัตโนมัติ และลูกๆ ครอบครัวสุด geek ซึ่งคลั่งไคล้ในหุ่นยนต์เป็นอันมาก เริ่มต้นจากซื้อหุ่นยนต์มาประกอบ พัฒนามาเรื่อยๆ จนสร้างหุ่นยนต์ของตนเอง ส่งแข่งขันหุ่นยนต์ต่อสู้แบบสองขาในรายการเล็กๆ จากแพ้ จนชนะ จากชนะรายการเล็กๆ จนมาชนะรายการใหญ่อย่าง Robo-One ได้ในที่สุด หุ่นยนต์ของครอบครัว Maru มีความสามารถพิเศษหลายอย่างซึ่งช่วยให้สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ เช่น การโปรแกรมท่าทางต่างๆ ไว้ล่วงหน้ากว่าร้อยท่า ระบบลุกขึ้นยืนเอง ระบบตรวจจับคู่ต่อสู้และต่อยเอง แต่ที่ดูน่าประทับใจมากๆ คือ ชุด master-slave ซึ่งใช้ potentiometer […]

Read more

หุ่นบินเล่นดนตรี ล่าสุดจาก TED2012

ในงาน TED2012 ซึ่งจัดระหว่าง 27 ก.พ. – 2 มี.ค. 2012 ที่เมืองลองบีช มลรัฐแคลิฟอร์เนีย นั้นศาสตราจารย์ Vijay Kumar ได้ขึ้นพูดในหัวข้อ “Robots that fly … and cooperate” โชว์หุ่นยนต์ควอดโรเตอร์แบบต่าง ๆ ทั้งที่บินผาดโผนลอดช่องแคบ บินผ่านฮูลาฮูปที่ถูกโยนขึ้นในอากาศ หุ่นยนต์บินช่วยก่อสร้าง ทั้งที่บินเดี่ยว และทำงานร่วมกันแบบเป็นกลุ่มเพื่อเพิ่มน้ำหนักที่บรรทุกได้ และปิดท้ายด้วยแสดงโชว์เล่นดนตรีด้วยหุ่นยนต์ สำหรับศาสตราจารย์ Kumar […]

Read more

Turing Test – คุณเป็นคนหรือหุ่นยนต์

การทดสอบของทัวริง (Turing Test) คือ การทดสอบความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ว่าทำได้ดีใกล้เคียงมนุษย์แล้วหรือยัง โดยเป็นแนวคิดของ อลัน ทัวริง (Alan Turing) นักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิธีการทดสอบ คือ ให้ผู้ตัดสินคุยกับคนและปัญญาประดิษฐ์ (จะเป็นการพูด หรือการพิมพ์ก็ได้ ไม่ได้สนใจที่ความสามารถในด้านการติดต่อสื่อสาร) แล้วตัดสินว่าบทสนทนาที่ดำเนินอยู่นั้นเป็นบนสนทนากับคนหรือปัญญาประดิษฐ์ ถ้าไม่สามารถแยกแยะได้ก็หมายความว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นผ่านการทดสอบของทัวริง คือ มีความสามารถเลียนแบบความคิดที่เหมือนมนุษย์ (คำตอบอาจไม่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง แต่ลักษณะคำตอบเหมือนมนุษย์) ปี 2555 นี้เป็นปีที่ครบ 100 ปีของวันเกิดของ อลัน ทัวริง จึงถูกตั้งเป็นปีแห่ง อลัน ทัวริง ด้วย ที่มา Wikipedia, […]

Read more

หุ่นยนต์ Android ตกแต่งมือถือ Android

ที่งาน Mobile World Congress ซึ่งเป็นงานโชว์ตัวของบรรดาบริษัทด้านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ มีหุ่นยนต์ Yaskawa Motoman แต่งตัวเป็นหุ่นยนต์ Android คอยติดเครื่องประดับตกแต่งบนฝาหลังของ Galaxy Nexus ให้ โดยสามารถเลือกลายได้จากแทบเล็ต ดูวิดีโอในข่าวครับ ที่มา ANDROID POLICE ผ่านทาง DroidSans ภาพจาก ANDROID POLICE

Read more

ตัวต่อหุ่นยนต์ไฮเทค

หุ่นยนต์แบบหลายโมดูล (modular robot) เป็นแนวคิดการพัฒนาหุ่นยนต์จากโมดูลย่อยที่มีความสามารถจำกัดมาประกอบและทำงานร่วมกัน ทำให้มีรูปทรงใดก็ได้และมีความสามารถที่มากกว่าที่โมดูลย่อยจะทำได้ตามลำพัง นอกจากนี้หากโมดูลย่อยเปลี่ยนรูปแบบการเชื่อมต่อกันก็จะได้หุ่นยนต์ที่มีรูปร่างและความสามารถที่เปลี่ยนไปได้ ลองนึกถึง T-1000 หุ่นยนต์เหล็กไหลใน Terminator สิ นั่นเป็นเป้าหมายของนักพัฒนา modular robot เลยทีเดียว ล่าสุดบริษัท Modular Robotics ซึ่ง spinoff จาก Carnegie Mellon University เตรียมตัวขาย Cubelets ชุดหุ่นยนต์แบบ modular ที่ประกอบไปด้วยโมดูลสำหรับทำหน้าที่ต่างๆ ถึง […]

Read more
1 46 47 48 49 50 53