หุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบให้เดินได้เหมือนมนุษย์มากยิ่งขึ้น

ตั้งแต่มีการพัฒนาหุ่นยนต์ประเภทเดินสองขาเสมือนมนุษย์ (humanoid robots) ขาของหุ่นยนต์ประเภทนี้โดยส่วนใหญ่จะถูกออกแบบให้มีระบบขับเคลื่อน และข้อต่อเหมือนกับขาของมนุษย์อย่างคร่าว ๆ เท่านั้น กล่าวคือ ขาหนึ่งข้างจะถูกออกแบบให้มีมอเตอร์เพียงแค่ 6 ตัว คือเป็นมอเตอร์ 3 ตัวสำหรับส่วนสะโพก อีก 1 ตัวสำหรับหัวเข่า และอีก 2 ตัวสำหรับข้อเท้า แม้ว่าการออกแบบในลักษณะนี้จะได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้งานได้ดี และใช้กันมานาน  แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่อีกหลายอย่างที่นักวิจัยและพัฒนาประสบปัญหามาตลอด 25 ปี

Read more

Cheetah จาก MIT มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีกขั้น

ในงาน IEEE International Conference on Robotics and Automation (ICRA) ทีมนักวิจัยจาก MIT ได้ออกมานำเสนอความก้าวหน้าล่าสุดของหุ่นยนต์ Cheetah ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นโดยเลียนแบบการเคลื่อนไหวจริงของเสือชีตาห์ เจ้าหุ่นยนต์ที่ชื่อ Cheetah ตัวนี้สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานเทียบเท่ากับสัตว์ที่มีขนาดใกล้เคียงกันในขณะกำลังวิ่งอีกด้วย

Read more
Grizzly from Clearpath robotic

Grizzly หุ่นยนต์ยักษ์ใหญ่จาก Clearpath Robotics

สำหรับท่านที่คุ้นเคย หรือทำงานกับหุ่นยนต์ประเภท mobile robot อยู่แล้วคงคุ้นเคยกับหุ่นยนต์สี่ล้อขนาดเล็กที่เราสามารถยกไปไหนมาไหนได้อย่างไม่ยากเย็นนัก หรือแม้กระทั่งหุ่นยนต์ที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย ที่สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 75 – 100 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าค่อนข้างใหญ่ทีเดียว ก็ยังมีให้เห็นกันอยู่เรื่อย ๆ แต่ถ้าเราต้องการหุ่นยนต์ที่มีพลังระดับ ”เฮฟวี่เวท” มาไว้ใช้งานล่ะ? มาพบกับ Grizzly หุ่นยนต์จอมพลังจาก Clearpath Robotics กันเลย

Read more

การสื่อสารระหว่างโลกและดาวอังคารจะถูกขัดขวางชั่วคราวจากการวางตัวของดวงอาทิตย์

ตำแหน่งของดาวอังคารในช่วงเดือนเมษายนนี้จะส่งผลทำให้ความสามารถในการสื่อสารระหวางโลกและหุ่นยนต์ที่กำลังปฎิบัติงานอยู่บนดาวอังคารลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เส้นทางโคจรของดาวอังคารจะเข้าไปอยู่บริเวณด้านหลังดวงอาทิตย์ และทำแนวซึ่งเกือบจะเป็นเส้นตรงเมื่อมองจากโลก ด้วยเหตุนี้การสื่อสารระหว่างโลก และดาวอังคารจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากรังสีของดวงอาทิตย์ เพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานของดาวเทียมที่โคจรอยู่โดยรอบ และหุ่นยนต์ที่อยู่บนพื้นผิวของดาวอังคารเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการสื่อสารที่ขัดข้อง NASA ได้เตรียมที่จะหยุดการส่งข้อความไปยังดาวอังคารโดยสิ้นเชิง อีกทั้งยังจำเป็นต้องลดอัตราการสื่อสารจากดาวอังคารกลับมายังโลกอีกด้วย

Read more

Curiosity กำลังจะมีฝาแฝดแล้ว

NASA เตรียมโครงการที่จะสร้างหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคารตัวใหม่  โดยจะใช้ชิ้นส่วนสำรองของ Curiosity เป็นองค์ประกอบหลัก และวางแผนที่จะลงเหยียบดาวอังคารตามรอยพี่ชายของมันในปี ค.ศ. 2020

Read more

DARPA Robotics Challenge Update!

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้เขียนบทความเกี่ยวกับ DARPA Robotics Challenge ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ปฎิบัติภารกิจกู้ภัยในพื้นที่ประสบภัย  ทาง DARPA ก็ได้เสนอที่จะให้ความช่วยเหลือทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้โดยการให้ยืมหุ่นยนต์จาก DARPA (ทั้งหมดจำนวน 6 ตัว) ได้ ในกรณีที่ทางทีมไม่มีหุ่นยนต์เป็นของตัวเอง  หรือต้องการที่จะพัฒนาในส่วนของโปรแกรมเพียงอย่างเดียว  ซึ่งในขณะนั้นก็ยังไม่มีการเปิดเผยถึงรายละเอียดของหุ่นยนต์ดังกล่าวแต่อย่างใด ภายในงานประชุมทางวิชาการ IROS 2012 Dr.Gill Pratt ซึ่งเป็นผู้จัดการของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหุ่นยนต์ในหลาย ๆ โครงการของ DARPA ได้ออกมาแถลงการเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ DARPA จะนำออกมาให้หยิบยื่มทั้งหกตัวนั้นว่าคือหุ่นยนต์ ATLAS […]

Read more

นาซ่าคัดเลือก 8 โปรเจกต์หุ่นยนต์เพื่อการสำรวจอวกาศ

NASA ได้เลือก 8 โปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อที่จะนำไปใช้ในภารกิจการสำรวจอวกาศในอนาคต  โปรเจกต์ที่ได้รับการคัดเลือกมามีตั้งแต่โปรเจกต์ที่จะพัฒนาความสามารถของหุ่นยนต์สำรวจ (robotic planetary rovers) ไปจนถึงหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ (humanoid robotics systems)

Read more

Curiosity ลงจอดบนดาวอังคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว!

it’s the wheel … it’s the wheel on Mars! คือประโยคแรกที่ผู้เขียนได้ยินจากห้องควบคุมภารกิจของ JPL (Jet Propulsion Laboratory) ที่ถ่ายทอดสดผ่านทางอินเตอร์เนตผ่านทาง Curiosity Cam หลังจากที่ Curiosity ได้ทำการลงจอดและส่งภาพความละเอียดต่ำขนาด 15×15 pixel ซึ่งถ่ายโดยกล้อง Hazcam (Hazard-Avoidance Cameras) ที่อยู่ใกล้กับล้อหลังของมันเองกลับมายังโลกเป็นภาพแรก แสดงให้เห็นภาพล้อ และเงาของล้อ (ภาพทางซ้าย) บนพื้นผิวของดาวอังคาร ซึ่งเป็นการยืนยันการลงจอดที่สมบูรณ์แบบของภารกิจนี้  ถัดมาอีกไม่นาน […]

Read more

ภัยร้ายแรงที่กำลังจู่โจมเครื่องบินไร้คนขับ

วันที่ 19 มิถุนายน นักวิจัยจาก University of Texas ซึ่งนำทีมโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Todd Humphreys ได้ประสบความสำเร็จในการทดลองเข้าควบคุมเครื่องบินไร้คนบังคับ ด้วยการส่งสัญญาณปลอมไปที่เครื่องบินลำดังกล่าว (spoofing)  เพื่อหลอกล่อให้มันเชื่อว่ามันกำลังได้รับสัญญาณ GPS ที่ถูกต้องอยู่ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วสัญญาณที่มันรับนั้นเป็นเพียงสัญญาณปลอม ซึ่งจะเป็นผลทำให้ผู้ปล่อยสัญญาณปลอมนี้สามารถเข้าควบคุมเครื่องบินไร้คนบังคับไปยังจุดที่ต้องการได้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าวิธีการนี้มีความเกี่ยวโยงกับการสูญเสียเครื่องบินไร้คนบังคับของ CIA ในอิหร่านเมื่อปีที่แล้ว และข่าวที่ทางเกาหลีเหนือได้ออกมาประกาศความสำเร็จว่าพวกเขาสามารถเข้าควบคุมเครื่องบินไร้คนบังคับของสหรัฐฯ และบังคับให้ทำการลงจอดได้

Read more

7 นาที ที่จะตัดสินภารกิจการส่ง Curiosity ไปเหยียบดาวอังคาร

หลังจากเดินทางมุ่งหน้าไปยังดาวอังคารมาแล้วถึง 7 เดือน ตอนนี้ก็เหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึงเดือนที่หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร Curiosity ที่เดินทางไปกับจรวด Atlas V จะเดินทางถึง Gale Crater จุดหมายของมัน และเริ่มทำการสำรวจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาว่าสภาพแวดล้อมบนอังคารทั้งในอดีต และปัจจุบัน สามารถเกื้อหนุนให้มีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดของภารกิจนี้จะเริ่มขึ้นในช่วงเวลา 7 นาทีก่อนที่เจ้า Curiosity จะลงสัมผัสพื้นต่างหาก!

Read more
1 2 3