[BYOB] หุ่นยนต์บิน ว่ายน้ำ และอื่นๆ

** บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความชุด Build Your Own Bot แนะนำการสร้างหุ่นยนต์ด้วยตัวเอง ** หลังจากที่ได้พบกับหุ่นยนต์เคลื่อนที่บนพื้นมาแล้ว คราวนี้เรามาดูหุ่นยนต์ที่บินบนอากาศและหุ่นยนต์ใต้น้ำกันบ้าง

Read more

[BYOB] สร้างหุ่นยนต์อะไรดี

** บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความชุด Build Your Own Bot แนะนำการสร้างหุ่นยนต์ด้วยตัวเอง ** หลังจากที่เรามีดำริว่าจะสร้างหุ่นยนต์กันแล้ว เราจะสร้างหุ่นยนต์อะไรดีนะ มาดูกันดีกว่าว่าหุ่นยนต์มีแบบไหนบ้าง manipulator หรือแขนกลหุุ่นยนต์ หุ่นยนต์ประเภทนี้เคลื่อนที่ไม่ได้ แต่มีกลไกไว้เคลื่อนไหวปลายแขน ซึ่งอาจจะติดตั้งมือไว้หยิบ จับ ยก ย้าย สิ่งของต่าง ๆ หรือติดเครื่องมือไว้ตัด แต่ง ต่อ เติมชิ้นงานต่าง ๆ หรืออาจจะติดตั้งเซนเซอร์ไว้ตรวจวัดบริเวณต่าง ๆ ของชิ้นงาน

Read more

เมื่อหุ่นยนต์บิน ติดแขนกล

หุ่นยนต์ที่บินได้ หรือพวกอากาศยานไร้คนขับทั้งหลายมีข้อได้เปรียบหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่บนพื้นตรงที่สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ดีกว่า สามารถเข้าถึงพื้นที่บางพื้นที่ที่หุ่นยนต์ภาคพื้นดินเข้าถึงไม่ได้ ดังนั้นการติดตั้งมือหรือแขนไว้บนหุ่นยนต์บินได้จะทำให้เราสามารถขนส่งสิ่งของไปยังที่ที่หุ่นยนต์ภาคพื้นดินเข้าถึงลำบากได้ เรามาดูความพยายามของนักพัฒนาหุ่นยนต์ทั้งหลายในการพัฒนาหุ่นยนต์บินได้ให้หยิบของได้

Read more

HyTAQ วิ่งก็ได้ บินก็ดี

นักวิจัยจาก Illinois Institute of Technology ได้พัฒนา  HyTAQ – Hybrid Terrestrial and Aerial Quadrotor เป็น quadrotor ที่มีกรงทรงกระบอกครอบไว้ กรงนี้นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้ใบพัดชนกับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อทั้งตัว quadrotor เองและสิ่งรอบข้าง ยังช่วยให้เกิดการเคลื่อนที่แบบใหม่ด้วย นั่นคือการกลิ้งไปบนพื้น ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ที่ประหยัดพลังงานกว่าการบิน การที่ HyTAQ ทั้งกลิ้งได้และบินได้ ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ มีสิ่งกีดขวางมาก ได้ดีกว่าการเคลื่อนที่แบบใดแบบหนึ่งอย่างเดียว ด้วยการเคลื่อนที่แบบผสม ทำให้ […]

Read more

UAV หลบหลีกสิ่งกีดขวางด้วยกล้อง 1 ตัวและระบบประสาทเทียม

นักวิจัยจาก Cornell University พัฒนากระบวนการให้ quadrotor ตรวจหาและหลบหลีกสิ่งกีดขวาง โดยใช้ภาพเพียง 1 ภาพ จากกล้องเพียง 1 กล้อง คำอธิบายนี้อาจฟังดูยาก มาดูก่อนว่าเดิมทีนั้นการตรวจจับสิ่งกีดขวางบนอากาศยานไร้คนขับทำกันอย่างไร วิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่งคือการใช้กล้องคู่ (stereovision) จำลองการมองเห็นเป็น 3 มิติแบบตามนุษย์ แต่วิธีนี้จะใช้ได้ดีเมื่อกล้องทั้ง 2 ตัวมีระยะห่างกันมาก ๆ และมีปัญหาในการตรวจจับวัตถุที่มีลวดลายมาก ๆ หรือสะท้อนแสง อีกวิธีหนึ่งคือการใช้ laser range finder […]

Read more

AR Drone กับภารกิจใหม่ เพื่อนวิ่งจ๊อกกิ้ง

เราเห็น quadrotor ทำอะไรได้สารพัด วันนี้มันมีภารกิจใหม่เพิ่มอีกหนึ่งอย่าง นั่นคือเป็นเพื่อนวิ่งจ๊อกกิ้ง Joggobot พัฒนาโดย Exertion Games Lab ที่ RMIT University ประเทศออสเตรเลีย โดยการนำ AR Drone มาพัฒนาเพิ่มเติมด้วยการใช้กล้องบน drone จับภาพผู้วิ่งออกกำลังกาย จากนั้นจะทำการบินนำข้างหน้าเพื่อกระตุ้นในผู้วิ่งออกกำลังกายวิ่งตาม (ดูวิดีโอได้ท้ายข่าว) สิ่งที่อาจเพิ่มเติมเข้าไปในอนาคต เช่น ถ่ายรูปผู้วิ่งและอัปโหลดขึ้น Facebook, ฉายไฟให้กรณีวิ่งตอนที่มีแสงน้อย, การให้ผู้ใช้สามารถใช้ท่าทางในการควบคุมความเร็วหรือทิศทางของ drone ได้, การวัดอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อกำหนดความเร็วที่เหมาะสม เป็นต้น […]

Read more

ฝูงบินหุ่นยนต์จะนำ Cloud Computing ขึ้นไปอยู่บนเมฆจริง ๆ

The Pirate Bayผู้ให้บริการการแบ่งปันไฟล์ได้รับแรงกดดันอย่างมากในระยะหลังในเรื่องการแบ่งปันไฟล์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ จึงเริ่มโครงการติดตั้งเซิฟเวอร์เก็บไฟล์บนเครื่องบินหุ่นยนต์ เช่น quadrotor หรือ บอลลูน ฝูงบินหุ่นยนต์เหล่านี้จะมีระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบุตำแหน่งด้วย GPS ติดต่อกันเป็นเครือข่ายผ่าน WiFi หรือสัญญาณวิทยุ ระบบนี้จะทำให้เครือข่ายการแบ่งปันไฟล์ย้ายไปที่ใด ๆ ก็ได้ และไม่สามารถถูกปิดได้ (ยกเว้นว่าจะยิงเครื่องบินลงมาเลย) ที่มา TorrentFreak และ IEEE Spectrum Automaton ภาพจาก TorrentFreak

Read more

เมื่อ “ศาสตร์” บินมาบรรจบกับ “ศิลป์”

ผลงานชื่อ Flight Assembled Architecture จากนักหุ่นยนต์ Raffaello D’Andrea และสถาปนิก Fabio Gramazio และ Matthias Kohler จาก ETH ซึ่งเป็นการใช้ฝูง quadrotor ประกอบแบบจำลองงานออกแบบอาคาร ได้ถูกจัดแสดงที่ฝรั่งเศส

Read more

Writing guide

ช่วยกับปรับปรุงไปเรื่อย ๆ นะครับเหล่า Editors ทั้งหลาย บทความต้องประกอบด้วย ชื่อบทความ เนื้อหา (อาจมีภาพ หรือ วิดีโอ ประกอบด้วย) สำหรับเนื้อหาที่ไม่ได้เขียนขึ้นมา ต้องอ้างอิงที่มา เพื่อเคารพ/ให้เครดิตกับผู้สร้างสรรค์ความรู้นั้นๆ โดยใช้ข้อความแสดงให้เห็นถึงการอ้างอิงแหล่งที่มา เช่น via IEEE Spectrum Automaton, จาก xkcd: Wisdom of the Ancients ตำแหน่งที่ใส่ประโยคอ้างอิง ให้ใส่ไว้ล่างสุดของข่าวเท่านั้น ประเภทของเนื้อหา (categories) News ข่าวเกี่ยวกับหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีพื้นฐานของหุ่นยนต์ อาจเป็นบทความที่เขียนขึ้นเองหรือข่าวที่นำมาเล่า […]

Read more
1 2