Project reviews everything paper, other projects.

Trolley problem ปัญหาจริยธรรมกับปัญญาประดิษฐ์ในยุครถไร้คนขับ

การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์โดยไม่คำนึงถึงจริยธรรมอาจก่อให้เกิดภัยได้ ก่อนหน้านี้เคยกล่าวถึงการทดลองทางความคิด Paperclip maximizer สถานการณ์นี้อาจดูไกลความจริงไปหน่อย ลองขยับมาดูสถานการณ์ที่ใกล้ขึ้นมา นั่นก็คือ Trolley problem ซึ่งถูกนำกลับมาพูดถึงกันมากขึ้นในยุคที่รถไร้คนขับเริ่มถูกใช้งานจริงจัง

Read more

แค่สั่งให้หุ่นยนต์ “สร้างคลิปหนีบกระดาษ” ก็อาจก่อ “สงครามจักรวาล” ได้

Nick Bostrom นักปรัชญาผู้แต่งหนังสือ Superintelligence (ที่มีส่วนทำให้ Elon Musk กลัวหุ่นยนต์ยึดครองโลก) ได้เคยกล่าวถึงประเด็นที่ว่า หากเรากำหนดเป้าหมายให้หุ่นยนต์/ปัญญาประดิษฐ์ ถึงแม้เป้าหมายนั้นจะดูไม่เป็นพิษเป็นภัย แต่หากเราไม่สอนหุ่นยนต์ให้รู้จักจริยธรรม สามัญสำนึก กรอบความคิด หุ่นยนต์นั้นอาจจะมุ่งทำทุกอย่างให้บรรลุเป้าหมายโดยอาจก่อให้เกิดมหันตภัยร้ายแรงขึ้นได้

Read more

คุยกับคุณปูนและคุณนก 2 นักพัฒนาไทยใน nuTonomy บริษัทรถไร้คนขับ

ภาพทีมงาน nuTonomy คุณนก – ผู้หญิงด้านหน้า และคุณปูน – ผู้ชายด้านหลังทางขวาสุด ThaiRobotics เคยนำเสนอข่าวบริษัท nuTonomy เตรียมปล่อยกองแท็กซี่ไร้คนขับให้บริการที่สิงคโปร์ และบอกว่ามีคนไทยอยู่ในทีมพัฒนาด้วย 2 คน วันนี้เราได้พูดคุยกับคุณปูน (คุณปูนเขียนบทความลง ThaiRobotics) และคุณนก นักพัฒนาทั้ง 2 ท่านเกี่ยวกับงานที่ทำที่ nuTonomy และทิศทางของเทคโนโลยีรถไร้คนขับ ติดตามกันได้เลยครับ

Read more

ผลงาน “มือกลอัจฉริยะ” ฝีมือนักศึกษาราชภัฏฯ อุดรธานี

วันนี้ ThaiRobotics มีบทความพิเศษที่น่าสนใจมาก ๆ มานำเสนอ โดยเป็นผลงาน “มือกลอัจฉริยะ” ของนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีสมาชิกในกลุ่มดังนี้ 1) นายเสถียร  ประสาน 2) นายสุพัฒพงศ์  แนนดี 3) นายศุภกานต์  ญาณโรจน์วัฒนา โดยมีที่ปรึกษาโครงงาน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิฌาน  กาญจนวาปสถิตย์  และที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษณพงศ์ สมสุข บทความนี้เขียนโดย คุณเสถียร  ประสาน หนึ่งในทีมพัฒนามือกลนี้ครับ

Read more

มนุษย์แพ้ มนุษยชาติไม่แพ้ เราเรียนรู้อะไรจากกรณี AlphaGo ชนะ Lee Sedol

เรียกความสนใจจากคนทั่วไปได้มากเลยทีเดียวสำหรับเหตุการณ์ AlphaGo ชนะ Lee Sedol แชมป์โกะโลก ในระหว่างการแข่งขันก็มีทั้งผู้ที่เชียร์ปัญญาประดิษฐ์ และผู้ที่เชียร์มนุษย์ และเหมือนในหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมาที่มีความก้าวหน้าสำคัญ ๆ ในเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ คือ มีผู้คนจำนวนมากกังวลว่าหุ่นยนต์จะยึดครองโลกหรือไม่ ยิ่งบวกกับการสาธิตหุ่นยนต์ Atlas รุ่นล่าสุดของ Boston Dynamics ที่เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว หลาย ๆ คนก็กลัวว่า Judgement Day จะใกล้เข้ามาแล้ว ก่อนที่จะให้ความกลัวครอบงำ เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าเราเรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์นี้

Read more

AlphaGo for Dummies

ข่าวที่ดังและเรียกความสนใจในวงการหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ในช่วงนี้ คงหนีไม่พ้นการแข่งขันเล่นเกมหมากล้อม (Go) ระหว่างแชมป์โลก Lee Sedol จากเกาหลี กับระบบปัญญาประดิษฐ์ของ Google’s DeepMind ที่ชื่อ AlphaGo ซึ่งนอกจากจะลุ้นกันหัวใจเต้นแบบหมากต่อหมากแล้ว AlphaGo ยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ในยุคที่ Deep learning กำลังเฟื่องฟู และความเป็นไปได้ที่เราจะได้เห็นปัญญาประดิษฐ์ที่เข้าใกล้ความฉลาดของมนุษย์เข้าไปทุกที วันนี้ผู้แต่งจึงถือโอกาสชำแหละงานเขียนที่เพิ่งออกตีพิมพ์บนวารสารระดับโลกอย่าง Nature ของ DeepMind (Mastering the game of Go with deep […]

Read more

พ.ศ. 2558 ปีที่วงการหุ่นยนต์เข้มข้นมาก

กำลังจะหมดไปแล้วสำหรับปี พ.ศ. 2558 เป็นอีกปีที่เข้มข้นในวงการหุ่นยนต์ มาดูกันว่าปีที่ผ่านมาวงการหุ่นยนต์เข้มข้นกันขนาดไหน

Read more

การบรรยาย Interactive Robots as New Information Media โดย Hiroshi Ishiguro

เมื่อวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมาฮิโรชิ อิชิกุโระ (Hiroshi Ishiguro) ศาสตราจารย์ประจำ Osaka University ผู้ที่มีผลงานในด้านการศึกษาเกี่ยวกับหุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ (Humanoid Robot) ได้มาบรรยายพิเศษที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง (บทความครั้งก่อน) ในหัวข้อ Interactive Robots as New Information Media

Read more

เก็บตก DARPA Robotics Challenge การแข่งขันและบทเรียน

เมื่อวันที่ 6 – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558 DARPA ได้จัดการแข่งขัน Robotics Challenge การแข่งขันหุ่นยนต์กึ่งอัตโนมัติเพื่อทำงานในสถานการณ์ภัยพิบัติ ถือเป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ท้าทายที่สุดรายการหนึ่งที่เคยมีมา การแข่งขันจบไปด้วยดี มีหุ่นยนต์หลายตัวประสบความสำเร็จในการทำภารกิจ และมีความล้มเหลวเกิดขึ้นมากมาย มาดูกันว่าการแข่งขันเป็นอย่างไร และเราได้เรียนรู้อะไรจากการแข่งขันนี้

Read more

Hebocon การแข่งขันหุ่นยนต์เห่ย ครั้งแรกในไทย ที่ MakerZoo

หุ่นยนต์เห่ยคืออะไร หุ่นยนต์ต้องล้ำสมัยสิ หุ่นยนต์จะเห่ยได้อย่างไร แล้วทำไปทำไมหุ่นยนต์เห่ย นี่คงเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนคิด เมื่อได้ยินชื่อการแข่งขัน Hebocon Thailand การแข่งขันซูโม่หุ่นยนต์เห่ย จัดโดย Maker Zoo makerspace ย่านเอกมัย Hebocon ถือกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น มาจากคำว่า Heboi ซึ่งแปลว่า ไร้ความสามารถทางเทคนิค หุ่นยนต์ที่เข้าแข่งต้องไม่ใช้อุปกรณ์ไฮเทค มีกาารตัดคะแนนความไฮเทคด้วยซ้ำ Hebocon ถือเป็นกิจกรรมละลายพฤติกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างดี และถึงแม้ว่าหุ่นยนต์ใน Hebocon จะไร้ความสามารถในเชิงเทคนิค แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามันแย่ เพราะการที่จะทำให้ของพื้น […]

Read more
1 2 3