International News

ซัมซุงจดสิทธิบัตรหุ่นยนต์สั่งงานด้วยเสียง

ไม่นานนี้ซัมซุงได้เปิดตัวโทรศัพท์มือถือ Galaxy S III ซึ่งมีคุณสมบัติหนึ่งคือ S-Voice ผู้ช่วยที่สั่งงานได้ด้วยเสียง ชนกับ Siri จาก Apple แต่ S-Voice อาจไม่หยุดอยู่แค่ในโทรศัพท์ เมื่อมีคนไปพบว่าซัมซุงได้จดสิทธิบัตรที่สหรัฐอเมริกาในด้านการนำระบบตอนสนองต่อเสียงพูดไปใช้ในหุ่นยนต์ โดยอ้างถึงความสามารถในการตรวจจับเสียงพูดในสภาพแวดล้อมที่เสียงดัง และเสียงที่แตกต่างกันจากต่างบุคคล แต่ไม่มีข้อมูลว่าหุ่นยนต์จะตอบสนองอย่างไรกับเสียงนั้น ไม่แน่ว่าซัมซุงอาจเอาจริงในธุรกิจหุ่นยนต์ก็เป็นได้ ก่อนหน้านี้ก็ได้ทำหุ่นยนต์ดูดฝุ่นขาย แต่จดสิทธิบัตรกันแบบนี้ดูกว้างไปหน่อยรึเปล่าเนี่ย เดี๋ยวได้มีสงครามสิทธิบัตรในธุรกิจหุ่นยนต์เหมือนที่เกิดในธุรกิจโทรศัพท์มือถือก็เป็นได้ รายละเอียดสิทธิบัตรอ่านได้ที่นี่ครับ ที่มา engadget ภาพจาก engadget

Read more

อยากไปเที่ยวแต่เพื่อนไม่ว่างหรอ พา MH-2 ไปด้วยสิ

เคยหรือไม่ที่คุณอยากไปเที่ยว อยากมีคนไปด้วย แต่เพื่อนดันไม่ว่าง ถ้าเคย วันนี้ ThaiRobotics Direct ภูมิใจเสนอ MH-2 หุ่นยนต์ telepresense ที่ทำให้เสมือนมีเพื่อนอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับคุณตลอดการเดินทาง MH-2 ย่อมาจาก miniature humanoid เป็นหุ่นยนต์ telepresense ขนาดเล็ก สวมใส่ไว้ที่ไหล่ ควบคุมได้จากระยะไกล มีองศาอิสระถึง 20 องศา คือ แขน 2 ข้าง ข้างละ 7 องศา […]

Read more

[ICRA 2012] วันสุดท้าย

วันที่สามนี้เป็นวันสุดท้ายของงานสัมมนาวิชาการนี้ครับ  (ไม่นับวันเวิร์คชอปวันจันทร์และวันศุกร์) ขออภัยที่ไม่ได้อัปเดตตรงวัน เพราะว่าเนื้อหาเยอะ วันนี้มีไฮไลต์ที่งานแจกรางวัลให้กับบุคคลที่สำคัญในวงการหุ่นยนต์, ประกาศชื่อ IEEE  Fellow ในสาขาหุ่นยนต์ประจำปีนี้ และ งานวิจัยดีเด่นในงานสัมมนานี้ครับ ที่เด่น ๆ มี Bernard Roth รางวัล 2012 IEEE Robotics and Automation Award เกี่ยวกับงานกลศาสตร์หุ่นยนต์ การควบคุมวัตถุ และงานออกแบบ Jean-Claude Latomb รางวัล Pioneer in […]

Read more

ถึงเป็นอัมพาตก็ยังพิชิตมาราธอนได้!

แม้ว่าเธอจะต้องใช้เวลาถึง 16 วันกว่าจะได้เดินเข้าเส้นชัย แต่ Claire Lomas ซึ่งสูญเสียความสามารถในการเดินในอุบัตืเหตุเมื่อปี 2007 ก็สามารถพิชิต London Marathon ได้  ด้วยความช่วยเหลือของอุุปกรณ์ exoskeleton รุ่น ReWalk จากบริษัท Argo Medical Technologies exoskeleton เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถออกแรงได้มากขึ้น ทำให้ผู้พิการที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากความผิดปกติของปลายประสาทกลับมาออกแรงได้อีกครั้ง โดยจะรับสัญญาณประสาทของผู้ใช้งานนั้นมาประมวลผลและออกคำสั่งไปควบคุมมอเตอร์ให้เคลื่อนไหวตามที่ต้องการได้ นี่เป็นความก้าวหน้าอีกขั้นที่พิสูจน์ว่าเทคโนโลยีหุ่นยนต์สามารถทำให้ความเป็นอยู่ของเราดีขึ้นได้จริง อ้างอิง : robots.net

Read more

Omni-Finger นิ้วหุ่นยนต์เทพ หมุนวัตถุได้รอบทิศทาง

นักวิจัยจาก Osaka University ได้ต่อยอด Omni-Crawler หุ่นยนต์ตีนตะขาบที่เคลื่อนที่ได้รอบทิศทาง มาเป็น Omni-Finger โดยนำกลไกที่ทำให้ตีนตะขาบเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทาง มาแปลงเป็นนิ้วหุ่นยนต์ ผลก็คือ มือหุ่นยนต์นั้นสามารถหมุนวัตถุไปในทิศทางใดก็ได้โดยไม่ต้องวางวัตถุแล้วหยิบใหม่ แต่ก็ยังมีความท้าท้ายให้แก้อยู่คือ นิ้วนี้จะทำงานได้ต้องมีจุดสัมผัสกับวัตถุตลอดเวลา ดังนั้น ถ้าเจอวัตถุรูปทรงประหลาด หุ่นยนต์ก็ต้องคิดก่อนว่าจะจับยังไงให้นิ้วสัมผัสกับวัตถุได้ตลอดเวลาที่หมุนวัตถุนั้น อาจจะยังนึกภาพไม่ออก ลองดูวิดีโอในข่าวนะครับ งานวิจัยนี้ชื่อ Robotic Finger Mechanism Equipped Omnidirectional Driving Roller with Two Active […]

Read more

เมื่อหุ่นยนต์สามารถคิดคำศัพท์เพื่อสื่อสารกันเรื่องเวลาได้

การสื่อสารเป็นความสามารถที่สำคัญอย่างหนึ่งในสัตว์สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารเรื่องสถานที่และเวลา เพราะมันคือมิติทั้งสี่ (x, y, z, t) ที่ใช้อธิบายความมีอยู่ของสิ่งต่าง ๆ (เช่น นาย ก เกิดที่เมือง อะ เมื่อ 14 ปีที่แล้ว หรือ นาย ก และนาย ข นัดกันไปพบที่สถานที่ อิ ในอีก 5 นาที) เมื่อปีที่แล้วนักวิจัยจาก University of […]

Read more

LEAP Motion สาธิตเซนเซอร์ที่ละเอียดกว่า Kinect 100 เท่า !!

คงไม่มีใครไม่รู้จัก Kinect เซนเซอร์จับภาพและระยะจาก Microsoft ซึ่งเดิมทีพัฒนาขึ้นมาใช้เป็นอุปกรณ์ควบคุมในเกม แต่ด้วยความสามารถของมันทำให้มีผู้คนมากมายแฮ็กมันเพื่อไปใช้ในงานอื่น ๆ จนทำให้ Microsoft ต้องยอมออก Kinect สำหรับ Windows เพื่อนำไปใช้ในงานทั่ว ๆ ไป วันนี้ Microsoft อาจหนาว ๆ ร้อน ๆ เมื่อบริษัทก่อตั้งใหม่ชื่อ LEAP Motion ออกมาสาธิตเซนเซอร์วัดระยะสามมิติที่ละเอียดถึง 0.01 มิลลิเมตร!! นั่นคือละเอียดกว่า Kinect […]

Read more

หุ่นยนต์ที่สร้างเครื่องมือมาติดปลายแขนได้ หรือว่านี่คือต้นแบบของ T-1000

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงรู้จัก T-1000 หุ่นยนต์เหล็กไหลที่เปลี่ยนรูปร่างเป็นอะไรก็ได้ เปลี่ยนมือเป็นมีดได้ ในภาพยนต์เรื่อง Terminator 2  : Judgement Day หุ่นยนต์ที่เปลี่ยนรูปร่างได้เป้าหมายในการพัฒนาของนักวิจัยหุ่นยนต์หลาย ๆ ท่าน เพราะจะทำให้หุ่นยนต์สามารถปรับเปลี่ยนความสามารถไปตามสถานการณ์ได้ นักวิจัยหลายกลุ่มได้ใช้วิธีการสร้างหุ่นยนต์เป็นโมดูลย่อย ๆ มาประกอบกัน (modular robot) ทำให้เปลี่ยนรูปร่าง เปลี่ยนความสามารถได้ แต่นักวิจัยจาก Bio-Inspired Robotics Lab, ETH ได้ใช้อีกแนวทางหนึ่ง นั่นคือการติดปืนกาวไว้ที่ปลายแขนหุ่นยนต์ […]

Read more

[ICRA 2012] วันที่ 2

วันนี้เรื่องน่าตื่นเต้นน้อยลงจากวันแรกครับ โดยวันนี้ไม่ค่อยมีเซสชันไหนที่คนล้นห้อง (ผู้จัดงานเปิดโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับห้องที่ล้น แต่โดยมากมันจะเปิดหลังห้องนั้นล้นไปแล้ว ไม่ทันเรื่องที่กำลังเสนออยู่สักที) ในวันที่สองนี้มีเซสชันใหม่ของ ICRA ที่แยกออกมาเฉพาะ คือเซสชันวิดีโอ โดยผู้จัดกงานรวมวิดีโอความยาว 5 นาทีของผู้นำเสนอเป็นไฟล์เดียว เปิดต่อเนื่องกัน (ผู้เสนอผลงานหลายคนงง เพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มได้ และวิดีโอนั้นก็คือวิดีโอที่ผู้เสนอส่งไปตั้งแต่แรก) โดยสุดท้ายมีคนไปขอให้มีเซสชันถามตอบระหว่างวิดีโอ เพื่อให้ผู้เสนอผลงานได้ชี้แจงงานของตัวเอง ซึ่งกรรมการก็เห็นชอบตามนั้น เซสชันนี้เป็นอีกเซสชันที่คนล้นห้องวันนี้ เลกเชอร์วันนี้มาจากศาสตราจารย์ Harry Asada จาก MIT  (เป็นอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ไปสอนที่ MIT และได้รางวัลสอนดีด้วย)  เกี่ยวกับหุ่นยนต์นาโน ขนาดเท่าเซล […]

Read more

[ICRA 2012] สรุป ICRA วันแรก

งานสัมนาวิชาการเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่หนึ่งอย่าง ICRA เริ่มแล้ววันนี้ที่เซนต์พอล รัฐมินเนโซตา สหรัฐฯ งานสัมนามีทั้งหมดเก้าห้อง และเริ่มพร้อมกัน เรื่องละสิบห้านาที ดังนั้นเป็นไม่ได้ที่จะสามารถพูดถึงทุกเรื่องได้ ขออภัยล่วงหน้าหากไม่มีเรื่องที่ผู้อ่านสนใจ ด้านล่างพยายามจะทำไลฟ์อัปเดต งานที่เห็นมากที่สุดใน ICRA ในวันแรกเห็นจะหนีไม่พ้นงานเกี่ยวกับ MAV (micro air vehicle) เพื่อสร้างแผนที่ต่าง ๆ Vijay Kumar เป็นดารารุ่งพรุ่งแรงอย่างไม่ต้องสงสัยในงานนี้ นอกจากหลายคนจะทำงานคล้ายกันแล้ว เขายังถูกอ้างถึงในหัวข้ออื่นที่ไม่เกี่ยวกับเขาด้วย (งานนี้แล็บของ Vijay Kumar ได้เสนอผลงานทั้งหมดถึง 7 ชิ้น!) […]

Read more
1 43 44 45 46 47 53