ถึงคราวจับ RHex มาติดหาง

ก่อนหน้านี้นักวิจัยจาก University of California, Berkeley ได้ติดหางให้กับรถวิทยุบังคับขนาดเล็กเพื่อช่วยในการทรงตัวขณะลอยอยู่กลางอากาศ งานวิจัยนั้นกำลังถูกต่อยอดโดยการร่วมมือกับ University of Pennsylvania ในการนำ RHex หุ่นยนต์ 6 ขาที่ทาง University of Pennsylvania พัฒนาขึ้นมา มาติดหางเข้าไป หุ่นยนต์ตัวใหม่ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า X-RHex Lite แม้เจ้า X-RHex Lite จะมีน้ำหนักถึง 8.1 กิโลกรัม (หนักกว่ารถบังคับติดหางซึ่งหนักเพียง 177 กรัม อยู่ถึง 60 […]

Read more

Kuratas – ฝันที่เป็นจริงของผู้อยากขับหุ่นยนต์รบ

บริษัท Suidobashi Heavy Industry เปิดตัวหุ่นยนต์ Kuratas ที่งาน Wonder Fest 2012 หุ่นยนต์ Kuratas มีความสูงถึง 3.8 เมตร หนักกว่า 4.5 ตัน ขับเคลื่อนด้วยล้อ 4 ล้อ ใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง มีห้องควบคุมให้คนขึ้นไปนั่งควบคุมได้ 1 คน การควบคุมสามารถทำได้ผ่านระบบ master-slave ซึ่งเป็นหุ่นยนต์จำลองขนาดเล็ก ถ้าเราขยับแขนและลำตัวของหุ่นยนต์ตัวเล็กนั้นไปในท่าทางไหน แขนและลำตัวของหุ่นยนต์จะขยับตาม […]

Read more

หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบพิสดาร

คุณ Eiichiro Morinaga ซึงเป็นผู้ก่อตั้งการแข่งขันหุ่นยนต์ ROBO-ONE ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ชื่อว่า Metallic Vaio 2012 ขึ้นมา โดยมีจุดเด่นที่การเคลื่อนที่ของมัน ซึ่งไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน หุ่นยนต์ตัวนี้มีแขน 2 ข้าง แต่ละข้างใช้เซอร์โว 9 ตัวต่อกันเป็นสาย การเคลื่อนที่ของมันมีหลายรูปแบบ เช่น การม้วนแขนเพื่อกลิ้ง การใช้แขนดึงตัวเองไปข้างหน้า การใช้แขนไถตัวเองไปข้างหน้า อาจยังนึกภาพไม่ออก ต้องลองดูวิดีโอเองที่ท้ายข่าวครับ หุ่นยนต์ตัวนี้ได้เข้าร่วมการแข่งขัน KONDO LAND ครั้งที่ 6 ที่ประเทศญึ่ปุ่นและได้รางวัลที่ 2 […]

Read more

RP-VITA หุ่นยนต์แพทย์ทางไกลจาก iRobot และ InTouch

ผลิตภัณฑ์ของ iRobot ที่คนส่วนมากรู้จักกันคือ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น และหุ่นยนต์ทหาร แต่ iRobot ก็ทำหุ่นยนต์ telepresence เช่นกัน ชื่อว่า AVA ล่าสุดทาง iRobot ได้ต่อยอดเทคโนโลยีของ AVA โดยร่วมมือกับบริษัท InTouch Health ซึ่งพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลอยู่แล้ว พัฒนาเป็นหุ่นยนต์แพทย์ทางไกลตัวใหม่ ชื่อ RP-VITA ย่อมาจาก Remote Presence Virtual + Independent Telemedicine Assistant มีจุดประสงค์เพื่อให้บุคคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วยทางไกลได้อย่างง่าย […]

Read more

ตาหุ่นยนต์ความเร็วสูง มองเห็นการหมุนของลูกปิงปองได้

นักวิจัยจาก Ishikawa Oku Lab ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว กลุ่มเดียวกับที่พัฒนาหุ่นยนต์เป่ายิ้งฉุบไม่มีวันแพ้ กล่าวว่ามีผู้คนจำนวนมากได้ดูวิดีโอดังกล่าว แต่วิดีโอนั้นมีการนำเสนอรายละเอียดทางเทคนิคน้อยเกินไป ทำให้คนทั่วไปดูสนุก แต่นักวิจัยหุ่นยนต์ดูแล้วรู้สึกไม่เกิดประโยชน์ จึงเผยแพร่วิดีโอใหม่ที่แสดงวิธีการทำงานและความสามารถของระบบจับภาพความเร็วสูงนี้ ในระบบนี้จะมีกล้องความเร็วสูง 1,000 เฟรมต่อวินาที ความละเอียด Full HD ยึดอยู่กับที่ และมีกระจกสองบานที่หมุนได้ (pan-tilt) ทำให้สามารถกวาดมุมมองการมองเห็นได้กว้าง โดยหมุนได้มากที่สุด 60 องศา กลไกลหมุนกระจกนี้หมุนได้เร็วถึง 40 องศาใน 3.5 มิลลิวินาที ด้วยความสามารถจากกล้องความเร็วสูงและกลไกกวาดการมองเห็นความเร็วสูง […]

Read more

ภัยร้ายแรงที่กำลังจู่โจมเครื่องบินไร้คนขับ

วันที่ 19 มิถุนายน นักวิจัยจาก University of Texas ซึ่งนำทีมโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Todd Humphreys ได้ประสบความสำเร็จในการทดลองเข้าควบคุมเครื่องบินไร้คนบังคับ ด้วยการส่งสัญญาณปลอมไปที่เครื่องบินลำดังกล่าว (spoofing)  เพื่อหลอกล่อให้มันเชื่อว่ามันกำลังได้รับสัญญาณ GPS ที่ถูกต้องอยู่ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วสัญญาณที่มันรับนั้นเป็นเพียงสัญญาณปลอม ซึ่งจะเป็นผลทำให้ผู้ปล่อยสัญญาณปลอมนี้สามารถเข้าควบคุมเครื่องบินไร้คนบังคับไปยังจุดที่ต้องการได้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าวิธีการนี้มีความเกี่ยวโยงกับการสูญเสียเครื่องบินไร้คนบังคับของ CIA ในอิหร่านเมื่อปีที่แล้ว และข่าวที่ทางเกาหลีเหนือได้ออกมาประกาศความสำเร็จว่าพวกเขาสามารถเข้าควบคุมเครื่องบินไร้คนบังคับของสหรัฐฯ และบังคับให้ทำการลงจอดได้

Read more

หุ่นยนต์แสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่

ห้องวิจัย ISL2 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับห้องวิจัยควบคุม ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และชมรมนักประดิษฐ์วิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาหุ่นยนต์บริการมาทำหน้าที่แสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ที่รับปริญญาปีนี้ ฐานหุ่นยนต์สำหรับการเคลื่อนที่ใช้ล้อ mecanum ทำให้เคลื่อนที่ได้ทุกทิศทาง บริเวณคอตุ๊กตามีการติดตั้งกลไกแบบขนาน (parallel mechanism) 3 องศาอิสระ มีผู้คนสนใจมาเล่นกับมันเป็นจำนวนมาก ดูได้ในวิดีโอท้ายข่าวครับ วันพรุ่งนี้ (20 กรกฎาคม 2555) ใครจะไปร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ลองแวะเวียนไปเยี่ยมเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ดูนะครับ

Read more

ถ้าคุณแน่ อย่าเต้นแพ้หุ่นยนต์

ผู้ใช้ใน YouTube ชื่อ  TheAmazel ได้ถ่ายวิดีโอหุ่นยนต์ NAO เลียนแบบท่าเต้นในวิดีโอ Evolution of Dance ของ Judson Laipply ที่มีคนดูมากถึงเกือบ 200 ล้านครั้ง ดูสิว่าการเต้นของ NAO จะเรียกคนดูได้มากขนาดไหน (ปัจจุบัน ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2555 มีคนดูประมาณ 65,000 ครั้ง) วิดีโอของ NAO จะเร็วกว่าของคุณ Judson อยู่ประมาณ 9 […]

Read more

TELESAR V – Avatar สุดล้ำ

Japanese Science and Technology Agency (JST) ร่วมกับ Tachi Lab ที่ Keio University จะไปนำเสนอ TELESAR V หุ่นยนต์ telexistence ที่งาน SIGGRAPH 2012 Emerging Technologies TELESAR V มีลำตัวที่ขยับได้ 5 องศาอิสระ ดัดแปลงจากหุ่นยนต์อุตสาหกรรม หัว 3 องศาอิสระ แขน […]

Read more

2 ทางออกด้านพลังงานสำหรับ UAV บินข้ามทวีป

ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของหุ่นยนต์ (รวมถึงยานพาหนะ) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ คือ ความสามารถในการเก็บพลังงานต่อมวล (energy density) ของแบตเตอรี่ต่ำมากเมื่อเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิงหรืออาหารที่เรากินกัน และในขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิงถูกเผาผลาญมาเป็นพลังงาน มวลมันก็น้อยลงเรื่อย (จริง ๆ ไม่ได้น้อยลง แต่เปลี่ยนไปอยู่ในสถานะอื่นที่ยานพาหนะไม่ต้องบรรทุกมัน) ในขณะที่หุ่นยนต์ต้องแบกแบตเตอรี่ที่หมดไปกับมันตลอดเวลา ปัญหานี้ยิ่งมีความสำคัญมากกับอากาศยานไร้คนบังคับ (UAV – unmanned aerial vehicle) Chip Yates นักแข่งมอเตอร์ไซค์ระดับโลกและทีมงานซึ่งตั้งใจจะสร้างอากาศยานไฟฟ้าบินจากนิวยอร์คไปปารีสม้วนเดียวโดยไม่หยุดพัก โดยใช้ชื่อเที่ยวบินนี้ว่า Flight of the Century จึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหานี้ 2 […]

Read more
1 47 48 49 50 51 66