Stompy หุ่นยนต์ 6 ขา ที่ให้คุณขับขี่ได้

ใครที่อยากขี่หุ่นยนต์ขนาดใหญ่ แต่ไม่มีเงิน 30 ล้านบาทเพื่อซื้อ Kuratas ความหวังครั้งใหม่มาแล้ว เมื่อกลุ่ม Artisan’s Asylum ระดมทุนใน KickStarter เพื่อสร้าง Stompy หุ่นยนต์ 6 ขา ขนาดกว่า 5 เมตร หนักเกือบ 2 ตัน ขับเคลื่อนด้วยไฮดรอลิก พัฒนาแบบ opensource และที่สำคัญคือขึ้นไปขับขี่ได้ หุ่นยนต์ตัวนี้มีเซนเซอร์วัดแรงที่กดลงบนขาแต่ละข้าง สามารถเคลื่อนที่บนพื้นขรุขระได้ เคลื่อนที่ในน้ำได้ลึกกว่า 2 เมตร แบกน้ำหนักกว่า […]

Read more

WREX: 3D printed exoskeleton

Wilmington Robotic Exoskeleton (WREX) เป็น exoskeleton แบบ passive อาศัยยางยืดเป็นตัวออกแรง เอาไว้ช่วยออกแรงที่แขนสำหรับเด็กที่เป็นโรคกล้ามเนื้อแขนอ่อนแรง (arthrogryposis multiplex congenita) เดิมทีนั้น WREX ทำด้วยโลหะ ติดตั้งบนรถเข็นสำหรับเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป แต่เมื่อ Emma เด็กสาวอายุ 2 ขวบที่ป่วยด้วยโรคนี้มาเข้ารับการรักษา ทำให้ไม่สามารถสวมใส่ WREX แบบเดิมที่ใหญ่และหนักเกินกว่าที่เธอจะสวมมันได้ ทางทีมผู้พัฒนาจึงต้องหาทางปรับปรุง WREX ให้เล็กและเบาลง เพื่อให้ […]

Read more

เมื่อ Cheetah ใช้หางทรงตัว

เราเห็นนักวิจัยติดหางให้หุ่นยนต์อย่าง RHex เพื่อใช้ในการทรงตัวมาแล้ว คราวนี้มาดูหุ่นอย่าง Cheetah ซึ่ง MIT ร่วมกับ Boston Dynamics ติดหางเพื่อใช้ในการทรงตัวบ้าง

Read more

Artaic บริษัทกระเบื้องโมเสกใช้หุ่นยนต์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

Artaic เป็นบริษัทออกแบบและติดตั้งกระเบื้องโมเสก (mosaic) ก่อตั้งโดย Ted Acworth เขาได้เห็นและหลงใหลในศิลปะชนิดนี้เมื่อครั้งเดินทางไปยุโรป จึงสร้างโมเสกเป็นงานอดิเรก หลังจากนั้นเขาก็คิดได้ว่า เวลาที่เขาเสียไปในการสร้างโมเสกนั้น เขาสามารถพัฒนาหุ่นยนต์ขึ้นมาสร้างโมเสกแทนได้ ผลปรากฎว่าการใช้หุ่นยนต์ช่วยทำให้การสร้างโมเสกนั้นเร็วกว่าใช้คนสร้างถึง 10 เท่า และมีความผิดพลาดน้อยกว่า เป็นผลทำให้ราคาโมเสกถูกลงเหลือประมาณ 600 – 5,000 บาทต่อตารางฟุต เทียบกับ 6,000 – 13,000 บาทต่อตารางฟุต ในกรณีของโมเสกแบบดั้งเดิมที่ใช้คนสร้าง

Read more

ภาพสีภาพแรกจาก Curiosity บนดาวอังคาร

รูปถ่ายตอนบ่ายของวันแรกที่ลงจอด โดยทีมงานเรียกวันนี้ว่าวัน Sol 1 (เริ่มนับวันที่ 6 สิงหาคม 2012) โดยกล้อง Mars Hand Lens Imager (MAHLI) โดยทีมงานติดตั้ง MAHLI ที่ปลายของแขนและมีที่ครอบกันฝุ่นใสบังอยู่ รูปนี้ถ่ายโดยที่ยังปิดฝาครอบอยู่ โดยจะเปิดที่ครอบฝุ่นนี้ในอีกหลายสัปดาห์ข้างหน้า กล้อง MAHLI นี้ไม่ใช่กล้องตัวเดียวบนหุ่นและมีความละเอียดที่ 2 ล้านพิกเซล (1600 × 1200 พิกเซล) เท่ากันกับกล้องตัวอื่น ใช้เซนเซอร์ชนิด CCD […]

Read more

เก็บตกจากโอลิมปิกส์ BiOM โดย iWalk ก้าวเพื่อคนพิการสู่อนาคต

Oscar Pistorius นักวิ่งไร้ขาทีมชาติแอฟริกาใต้ ที่แม้เขาจะไม่ได้เหรียญอะไรในโอลิมปิกส์แต่ก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลาย ๆ คนรวมทั้งศาสตราจารย์ Hugh Herr แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์และผู้ก่อตั้งบริษัท iWalk เจ้าของสิ่งประดิษฐ์ BiOM ซึ่งตัวเขาเองก็พิการสูญเสียขาทั้งสองข้างจากอุบัติเหตุปีนเขาเมื่อ 30 ปีก่อน Flex-Foot Cheetah เท้าคาร์บอนไฟเบอร์เทียมที่ Pistorius ใส่สร้างจากคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งทำหน้าที่แทนสปริงเพื่อดีดตัวขึ้น โดยทั่วไปสปริงแบบนี้คืนพลังงานกลับมาแค่ 50% เท่านั้น แต่ BiOM นี้เป็นการเสริมมอเตอร์แทนกล้ามเนื้อเข้าไปด้วย โดยมอเตอร์จะทำหน้าที่ดึงสปริงเพื่อคืนพลังงานส่งให้กับการเดินแต่ละก้าว หากแต่ BiOM นี้ยังไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้สวมวิ่งเช่น Cheetah […]

Read more

Curiosity ลงจอดบนดาวอังคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว!

it’s the wheel … it’s the wheel on Mars! คือประโยคแรกที่ผู้เขียนได้ยินจากห้องควบคุมภารกิจของ JPL (Jet Propulsion Laboratory) ที่ถ่ายทอดสดผ่านทางอินเตอร์เนตผ่านทาง Curiosity Cam หลังจากที่ Curiosity ได้ทำการลงจอดและส่งภาพความละเอียดต่ำขนาด 15×15 pixel ซึ่งถ่ายโดยกล้อง Hazcam (Hazard-Avoidance Cameras) ที่อยู่ใกล้กับล้อหลังของมันเองกลับมายังโลกเป็นภาพแรก แสดงให้เห็นภาพล้อ และเงาของล้อ (ภาพทางซ้าย) บนพื้นผิวของดาวอังคาร ซึ่งเป็นการยืนยันการลงจอดที่สมบูรณ์แบบของภารกิจนี้  ถัดมาอีกไม่นาน […]

Read more

หุ่นยนต์หั่นหมู ราคา 1.3 ล้านบาท

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์นั้นไม่จำกัดว่าหุ่นยนต์ต้องรูปร่างคล้ายมนุษย์ก็ได้ หุ่นยนต์ตัวนี้ชื่อ Libra 615C เป็นเครื่องหั่นหมูที่ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ผลิตโดยบริษัท Nantsune ซึ่งเป็นบริษัทขายเครื่องหั่นเนื้อ ความเจ๋งของเครื่องนี้ไม่ใช่หั่นเนื้อหมูทุกชิ้นให้ความหนาเท่ากัน แต่เป็นการหั่นเนื้อแล้วแต่ละชิ้นมีน้ำหนักเท่ากันโดยการผันแปรความหนาของเนื้อหมูแต่ละชิ้น เครื่องนี้ทำงานโดยผ่านเนื้อหมูชิ้นใหญ่เข้าส่วนสแกนสามมิติเพื่อสร้างแบบจำลองก่อนเนื่องจากหมูแต่ละชิ้นนั้นมีรูปร่างไม่เหมือนกัน แล้วจึงหั่นด้วยความเร็ว 6,000 ชิ้นต่อชั่วโมง เริ่มขายมาสักระยะแล้วด้วยราคา 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.3 ล้านบาท! ต่อไปนี้เราจะเห็นหมูในซูเปอร์ขายราคาเท่า ๆ กันทุกแพ็คกันแล้ว วิดีโอ DIGINFO.TV ที่มา DIGINFO.TV

Read more

ROBODEN สายไฟยืดได้สำหรับหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์

ใครเคยทำงานเกี่ยวกับหุ่นยนต์มักเจอปัญหาการเชื่อมต่อสายไฟระหว่างหุ่นยนต์บ้างแน่ ๆ  เพราะหุ่นยนต์มีการเคลื่อนที่จึงมักมีปัญหาว่าหากสายไฟหย่อนก็จะเกะกะพื้นที่ทำงาน หากตึงไปก็อาจจะดึงเอาอุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ ตามไปด้วย สายไฟที่ถูกเรียกว่า ROBODEN สร้างโดยบริษัท Asahi Kasei Fibers เป็นสายไฟแบบยืดหยุ่นที่ทำให้เราแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ดีขึ้น ROBODEN ถูกสร้างขึ้นพื่อใช้ในหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ หรือหุ่นยนต์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์อีกด้วย โดยมีความยืดหยุ่นราว 1.5 เท่าคล้ายกับกล้ามเนื้อของมนุษย์ และมีทั้งรูปแบบสายข้อมูลอย่าง USB หรือสายไฟเพื่อป้อนกำลังอีกด้วย วิดีโอหลังเบรกครับ วิดีโอ DIGINFO.TV ที่มา DIGINFO.TV

Read more

นักวิจัยดึงพลังงานจากแมลงมาสร้างไฟฟ้า

นักวิจัยจาก Case Western Reserve University ได้ค้นพบว่าสารเคมีในร่างกายแมลงสามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ พลังงานไฟฟ้าที่ได้นี้สามารถนำไปจ่ายให้กับเซนเซอร์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งระบบควบคุมแมลง Daniel Scherson ศาสตราจารย์ด้านเคมีวิทยากล่าวว่า การใช้ประโยชน์จากแมลงน่าจะทำได้ง่ายกว่าการสร้างหุ่นยนต์เลียนแบบแมลงขึ้นมาใหม่ทั้งตัว ศาสตราจารย์ Scherson และทีมจึงสร้างเซลล์เชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel cell) ที่ใช้เอนไซม์ในการแปลงพลังงานเคมีภายในตัวแมลงเป็นพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตของแมลงเป็นแบบเปิด เลือดไม่ได้อยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลาแต่สามารถกระจายผ่านเนื้อเยื่อได้เลย ทำให้การติดตั้งเซลล์เชื้อเพลิงนี้ทำได้ง่าย และไม่ทำร้ายแมลง Roy E. Ritzmann ศาสตร์จารย์ด้านชีววิทยาในทีมกล่าวว่า มันไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่หลังการฝังเซลล์เชื้อเพลิงนี้แล้วแมลงตัวนั้นจะสามารถเดินหนีไปได้โดยทันที เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับมัน ขั้นต่อไปคือต้องพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงและระบบแบตเตอรี่ให้เล็กพอที่แมลงสามารถบินไปไหนได้ตามปกติ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ก็เช่น […]

Read more
1 46 47 48 49 50 66