มนุษย์ถูกหุ่นยนต์ใช้งาน (อีกแล้ว)

เคยนำเสนอเรื่องหุ่นยนต์ที่สั่งให้มนุษย์ช่วยงาน คราวนี้ขอนำเสนอเพิ่มอีก 2 เรื่องที่หุ่นยนต์/ระบบอัตโนมัติ (ที่ถูกมนุษย์สั่งให้ทำงาน) สั่งให้มนุษย์ทำงานให้ (อีกที) เรื่องแรกเป็นเรื่องของการนำอากาศยานไร้คนขับไปใช้บินค้นหาผู้พลัดหลงป่า งานลักษณะนี้เหมาะสมมากที่จะใช้อากาศยานไร้คนขับไปสำรวจ เพราะทำให้เข้าถึงพื้นที่ที่มนุษย์เข้าถึงได้ยากได้ แต่ถึงจะบินเข้าไปได้ การตรวจสอบจากภาพที่ถ่ายว่ามีคนอยู่ในภาพรึเปล่าก็ยังเป็นเรื่องที่ยากสำหรับปัญญาประดิษฐ์ aeroSee จาก University of Central Lancashire ร่วมกับหน่วยกู้ภัย Patterdale Mountain ประเทศอังกฤษจึงเกิดขึ้น โดยใช้อากาศยานไร้คนขับบินเข้าไปถ่ายภาพ ส่งภาพถ่ายไปยังเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะส่งภาพเหล่านั้นไปให้ผู้เล่นเกมดูแล้วระบุว่ามีรูปคนอยู่รึเปล่า (คล้าย ๆ เกมจับผิดภาพ) มีการให้คะแนน และให้ของรางวัลกับผู้ทำคะแนนได้สูง ๆ ด้วย […]

Read more

อากาศยานไร้คนขับที่บินนานเท่าใดก็ได้

ปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งสำหรับหุ่นยนต์บินได้หรืออากาศยานทั้งหลาย คือ พลังงาน การบินใช้พลังงานมาก และยิ่งบินนานเท่าใด ก็ต้องยิ่งแบกพลังงานขึ้นไปด้วยมากเท่านั้น ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขแล้วสำหรับอากาศยานไร้คนขับที่ใช้บินสำรวจในสภาพแวดล้อมแบบเมืองโดย CyPhy Works บริษัทก่อตั้งใหม่ในสหรัฐอเมริกา วิธีที่ CyPhy ใช้นั้นธรรมดามาก ไม่ได้ใช้เซลล์เชื้อเพลิงแบบใหม่ หรือการส่งพลังงานแบบไร้สาย แต่เป็นการโยงสายส่งพลังงานไปที่ตัว UAV เลย ฟังดูอาจจะแปลกที่ใช้วิธีลากสายไปที่อากาศยาน CyPhy เรียกสายที่โยงไปที่ UAV ว่า microfilament มีขนาดเล็กกว่าสายหูฟัง ทำหน้าที่ส่งพลังงานและคำสั่งควบคุมไปที่ UAV และใช้ส่งสัญญาณภาพความละเอียดสูงจาก UAV มาที่ผู้ควบคุม […]

Read more

เมื่อหุ่นยนต์บิน ติดแขนกล

หุ่นยนต์ที่บินได้ หรือพวกอากาศยานไร้คนขับทั้งหลายมีข้อได้เปรียบหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่บนพื้นตรงที่สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ดีกว่า สามารถเข้าถึงพื้นที่บางพื้นที่ที่หุ่นยนต์ภาคพื้นดินเข้าถึงไม่ได้ ดังนั้นการติดตั้งมือหรือแขนไว้บนหุ่นยนต์บินได้จะทำให้เราสามารถขนส่งสิ่งของไปยังที่ที่หุ่นยนต์ภาคพื้นดินเข้าถึงลำบากได้ เรามาดูความพยายามของนักพัฒนาหุ่นยนต์ทั้งหลายในการพัฒนาหุ่นยนต์บินได้ให้หยิบของได้

Read more

4 จาก 26 สุดยอดสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 2012 เป็นหุ่นยนต์

นิตยสาร TIME ได้คัดเลือก 26 สิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมแห่งปี พ.ศ. 2555 ออกมาแล้ว และ 4 จาก 26 สิ่งประดิษฐ์เป็นหุ่นยนต์ ! มาดูกันว่าหุ่นยนต์ 4 ตัวนั้นมีอะไรบ้าง ไล่จากราคาถูกไปราคาแพง Techpet หุ่นยนต์สุนัขของเล่นไฮเทคจากบริษัท Bandai ที่เคยสร้างชื่อจากของเล่นสัตว์เลี้ยงอย่าง Tamagotchi มาแล้ว TechPet เป็นหุ่นยนต์สุนัขที่มีช่องเสียบ iPhone เพื่อใช้เป็นตัวควบคุมและเป็นหน้าตาของสุนัข จากนั้นดาวน์โหลดแอพ TechPet […]

Read more

UAV หลบหลีกสิ่งกีดขวางด้วยกล้อง 1 ตัวและระบบประสาทเทียม

นักวิจัยจาก Cornell University พัฒนากระบวนการให้ quadrotor ตรวจหาและหลบหลีกสิ่งกีดขวาง โดยใช้ภาพเพียง 1 ภาพ จากกล้องเพียง 1 กล้อง คำอธิบายนี้อาจฟังดูยาก มาดูก่อนว่าเดิมทีนั้นการตรวจจับสิ่งกีดขวางบนอากาศยานไร้คนขับทำกันอย่างไร วิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่งคือการใช้กล้องคู่ (stereovision) จำลองการมองเห็นเป็น 3 มิติแบบตามนุษย์ แต่วิธีนี้จะใช้ได้ดีเมื่อกล้องทั้ง 2 ตัวมีระยะห่างกันมาก ๆ และมีปัญหาในการตรวจจับวัตถุที่มีลวดลายมาก ๆ หรือสะท้อนแสง อีกวิธีหนึ่งคือการใช้ laser range finder […]

Read more

6 วิดีโอแสดงพัฒนาการหุ่นยนต์ในรอบ 25 ปี

เนื่องในโอกาสที่การประชุมวิชาการ IROS (IEEE/RSJ International Conference on Intelligent Robots and Systems) ครบรอบ 25 ปีในปีนี้ จึงมีการประกวดวิดีโอแสดงประวัติและความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา 6 วิดีโอที่เข้ารอบสุดท้ายมีดังนี้

Read more

หุ่นยนต์ 3 ชนิดรวมทีมสำรวจปะการัง

งานวิจัยนี้นำเสนอการทำงานของหุ่นยนต์สามชนิดที่ทำงานในสภาวะแวดล้อมต่างกัน เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน นั่นคือการสอดส่องดูแลแนวปะการัง เนื่องจากการสร้างหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่หลาย ๆ อย่างได้ภายในตัวเดียวเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก การสร้างและใช้หุ่นยนต์ให้ตรงประเภทงานเฉพาะอย่างนั้นดูจะง่ายกว่า ถ้าลองนึกถึงการสำรวจตรวจดูแนวปะการัง หุ่นยนต์ที่ใช้ต้องบินได้ เคลื่อนที่บนผิวน้ำได้ และดำน้ำได้ด้วย ต้องเป็นหุ่นยนต์สะเทินน้ำสะเทินบกเลยทีเดียว งานนี้ทีมวิจัยไม่ได้สร้างหุ่นยนต์แบบนั้น แต่สร้างหุ่นยนต์ที่บินได้ หุ่นยนต์บนผิวน้ำ และหุ่นยนต์ใต้น้ำ แล้วให้มันทำงานร่วมกันเป็นทีม

Read more

เที่ยวบินอัตโนมัติจาก MIT

ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยกำลังพัฒนาหุ่นยนต์เครื่องบินขนาดเล็ก แต่ส่วนใหญ่แล้ว เครื่องบินขนาดเล็กที่บินในอาคารต้องใช้ระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวจากภายนอกตัวเครื่องบิน หรืออุปกรณ์ที่บอกตำแหน่งของมันจากภายนอก หลาย ๆ ทีมใช้เฮลิคอปเตอร์เพราะมันบินได้ช้ากว่าและง่ายต่อการบังคับ แต่ทีมจาก MIT ท้าทายความยากในการบินไปมาในอาคารที่มีข้อจำกัดที่จัดได้ว่ายากมาก ด้วยการใช้เครื่องบินที่มีอุปกรณ์สแกนพื่นที่ในตัว

Read more

ภัยร้ายแรงที่กำลังจู่โจมเครื่องบินไร้คนขับ

วันที่ 19 มิถุนายน นักวิจัยจาก University of Texas ซึ่งนำทีมโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Todd Humphreys ได้ประสบความสำเร็จในการทดลองเข้าควบคุมเครื่องบินไร้คนบังคับ ด้วยการส่งสัญญาณปลอมไปที่เครื่องบินลำดังกล่าว (spoofing)  เพื่อหลอกล่อให้มันเชื่อว่ามันกำลังได้รับสัญญาณ GPS ที่ถูกต้องอยู่ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วสัญญาณที่มันรับนั้นเป็นเพียงสัญญาณปลอม ซึ่งจะเป็นผลทำให้ผู้ปล่อยสัญญาณปลอมนี้สามารถเข้าควบคุมเครื่องบินไร้คนบังคับไปยังจุดที่ต้องการได้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าวิธีการนี้มีความเกี่ยวโยงกับการสูญเสียเครื่องบินไร้คนบังคับของ CIA ในอิหร่านเมื่อปีที่แล้ว และข่าวที่ทางเกาหลีเหนือได้ออกมาประกาศความสำเร็จว่าพวกเขาสามารถเข้าควบคุมเครื่องบินไร้คนบังคับของสหรัฐฯ และบังคับให้ทำการลงจอดได้

Read more

2 ทางออกด้านพลังงานสำหรับ UAV บินข้ามทวีป

ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของหุ่นยนต์ (รวมถึงยานพาหนะ) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ คือ ความสามารถในการเก็บพลังงานต่อมวล (energy density) ของแบตเตอรี่ต่ำมากเมื่อเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิงหรืออาหารที่เรากินกัน และในขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิงถูกเผาผลาญมาเป็นพลังงาน มวลมันก็น้อยลงเรื่อย (จริง ๆ ไม่ได้น้อยลง แต่เปลี่ยนไปอยู่ในสถานะอื่นที่ยานพาหนะไม่ต้องบรรทุกมัน) ในขณะที่หุ่นยนต์ต้องแบกแบตเตอรี่ที่หมดไปกับมันตลอดเวลา ปัญหานี้ยิ่งมีความสำคัญมากกับอากาศยานไร้คนบังคับ (UAV – unmanned aerial vehicle) Chip Yates นักแข่งมอเตอร์ไซค์ระดับโลกและทีมงานซึ่งตั้งใจจะสร้างอากาศยานไฟฟ้าบินจากนิวยอร์คไปปารีสม้วนเดียวโดยไม่หยุดพัก โดยใช้ชื่อเที่ยวบินนี้ว่า Flight of the Century จึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหานี้ 2 […]

Read more
1 2 3