Human, Android and Media โดย Hiroshi Ishiguro

นอกจากจะนำ Geminoid-F มาแสดงละครเวทีซาโยนาระแล้ว (บทความเก่า “ถ้าไม่เหงา ก็จะมีความสุขไม่ใช่หรอ” ซาโยนาระ, หลังฉากซาโยนาระ) เมื่อวันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2555 ศาสตราจารย์ Hiroshi Ishiguro ยังได้มาบรรยายที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหัวข้อ “Human, Android and Media” (อาจผิดพลาด แต่ประมาณนี้) พอดีผมเป็นผู้ประสานงานการบรรยายนี้ เลยไม่ได้อยู่ฟังตลอด จะเล่าให้ฟังเท่าที่ได้อยู่ฟังแล้วกันนะครับ ในขณะนี้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) ยังไม่ฉลาดมาก รูปแบบหุ่นยนต์ที่เหมาะสมจะนำมาใช้งาน (practical) […]

Read more

อารมณ์ค้างจากซาโยนาระหรอ อยากได้แอนดรอยด์ซักตัวมั้ย

TJ* เป็นโครงการหนึ่งที่ถูกเสนอเข้าไปใน KICKSTARTER (เว็บที่ให้ใครเสนอโครงการอะไรเข้าไปก็ได้เพื่อระดมทุน ถ้ามีคนสนใจช่วยสนับสนุนครบตามจำนวนเงินที่ต้องการ ในเวลาที่กำหนด ก็จะได้รับการสนับสนุน ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ได้รับการสนับสนุนเลย) โดย TJ* จะเป็นแพลตฟอร์มอนิเมทรอนิกส์ (animatronics) ที่มี 3 องศาอิสระ (degree of freedom) คือ ตากรอกซ้าย-ขวา ขึ้น-ลง และปากอ้า-หุบ ขับด้วยเซอร์โว ควบคุมด้วย Arduino สามารถบังคับได้ในเวลาจริง (live control) หรือบันทึกแล้วเล่นซ้ำ (record-playback) […]

Read more

หลังฉากซาโยนาระ

คราวก่อน เราได้พูดถึงประเด็นที่น่าสนใจในบทละครซาโยนาระ คราวนี้เรามาดูเบื้องหลังกว่าจะมาเป็นละครเวทีที่คนแสดงร่วมกับหุ่นยนต์เรื่องนี้กัน พอดีผมได้มีโอกาสไปเป็นผู้ประสานงานทางเทคนิคให้กับละครเรื่องนี้ (ทางคณะอักษรศาสตร์เค้าก็ไม่รู้เรื่องทางเทคนิค ทางหุ่นยนต์ เลยติดต่อมาทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้คอยช่วยประสานงานกับทีมงานจากญี่ปุ่นในการติดตั้งระบบหุ่นยนต์) เลยได้รู้ ได้เห็นอะไรที่น่าสนใจ นำมาเล่าให้ฟังกัน

Read more

“ถ้าไม่เหงา ก็จะมีความสุขไม่ใช่หรอ” ซาโยนาระ

“ข้าต้องออกเดิน เผชิญโลกกว้าง ไม่มีปลายทาง ไม่มีจุดหมาย ดอกไม้เบ่งบาน ละลานเรียงราย เหลียวมองขวา ซ้าย แล้วข้ามถนน …” เสียงบทกวีดังขึ้นท่ามกลางความมืด จากนั้นแสงไฟค่อยๆ ส่องสว่าง แสดงให้เห็นถึงหญิงสาวในชุดดำกำลังเอ่ยบทกวี จากนั้นแสงไฟเผยให้เห็นหญิงสาวอีกคน บนเก้าอี้โยก ท่าทางอิดโรย “ตอนเด็กๆ ฉันไม่เข้าใจเลยว่าทำไมพ่อต้องซื้อเธอมาให้ ถึงตอนนี้ฉันก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ” หญิงสาวท่าทางอิดโรยกล่าว เป็นการยืนยันว่าหญิงสาวชุดดำนั่น เธอไม่ใช่คน แต่เป็นแอนดรอยด์ (android) ในอนาคตหุ่นยนต์ที่สามารถติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติคงจะมีบทบาทในสังคมมนุษย์มากขึ้น อาจถูกใช้เป็นเพื่อน เป็นผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และมนุษย์เราคงจะสนิทใจในหุ่นยนต์เหล่านี้มากพอที่จะสนทนาเรื่องราวต่างๆ […]

Read more

“Cheetah” หุ่นยนต์ที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก

หุ่นยนต์สี่ขาต้วมเตี้ยมทั้งหลายหลีกไป! Cheetah จากบริษัท Boston Dynamics ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กร DARPA มาแล้ว! เจ้า Cheetah ตัวนี้มาฉีกภาพเดิมๆที่หุ่นยนต์แบบใช้ขาเดิน (legged robots) ทั้งหลายซึ่งเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าหุ่นยนต์ที่ใช้ล้อในการขับเคลื่อน (wheeled robots) มาก ผู้ที่ติดตามข่าวหุ่นยนต์มาโดยตลอดคงคุ้นเคยกับหุ่นยนต์ล้ำสมัยที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กร DARPA กันดี โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่น่าสนใจอย่าง LS3 (Alpha dog), BigDog และ Petman ซึ่งทั้งหมดเป็นผลงานจาก Boston Dynamics เมื่ออยากได้หุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ได้รวดเร็วแล้วละก็ การเลียนแบบท่าทางการวิ่งของเสือชีตาร์ตามธรรมชาติก็ดูเป็นทางเลือกที่ดีมากทีเดียว ทางองค์กร DARPA ถึงกับกล้าประกาศว่า […]

Read more

ไม่ต้องใช้บาร์โคดไม่ต้องใช้ RFID ก็สแกนผักผลไม้ในซูเปอร์ได้!

โตชิบานำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตมาให้กับพนักงงานขายของในซูเปอร์มาร์เก็ตครับ คราวนี้เครื่องสแกนรุ่นใหม่ที่ไม่ใช้ทั้งบาร์โคด และ RFID อย่างเคย แต่ใช้วิทยาการรับรู้ภาพด้วยเครื่อง (machine vision) ผสานกับการรู้จำสินค้าชนิดต่าง ๆ แทน โตชิบาแสดงให้เห็นว่าเครื่องสามารถรู้จำผักผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ดีและรวดเร็ว เครื่องนี้มีประโยชน์มหาศาลเพราะผักผลไม้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตในญี่ปุ่นนั้นมักไม่มีบาร์โค้ดติดอยู่  (สินค้าเหล่านี้เก็บไม่ได้นาน และไม่คุ้มที่จะต้องชั่งน้ำหนักและไปติดบาร์โค้ดทีละผล) ทำให้พนักงานที่ไม่มีประสบการณ์จะต้องเสียเวลาคีย์ข้อมูลนาน นอกจากผักผลไม้ เครื่องนี้ยังสามารถสแกนของชนิดอื่นอย่างคูปองลดราคา หรือ กระป๋องเบียร์ได้อีกด้วย ที่มา Akihabaranews วิดีโอจาก DIGINFOTV

Read more

เซนเซอร์ CMOS ใหม่ จับภาพและความลึกได้ในเวลาเดียวกัน

บริษัทซัมซุงกำลังพัฒนาเซนเซอร์ CMOS (ที่ใช้ในกล้อง เพื่อรับรู้แสงหรือภาพตามที่เราเข้าใจกันง่าย ๆ ) ที่สามารถจับภาพ (RGB – แม่สี R=RED, G=GREEN, B=BLUE) และความลึกได้พร้อมกันเป็นตัวแรกของโลก  (ซัมซุงอ้างว่าอย่างนั้น) นั่นคือได้ข้อมูลเหมือนกับ Kinect เลย แต่ Kinect ใช้เซนเซอร์ RGB กับ เซนเซอร์วัดความลึกแยกกัน !!!

Read more

Real Steel ของจริง

คุณ Naoki Maru วิศวกรด้านระบบอัตโนมัติ และลูกๆ ครอบครัวสุด geek ซึ่งคลั่งไคล้ในหุ่นยนต์เป็นอันมาก เริ่มต้นจากซื้อหุ่นยนต์มาประกอบ พัฒนามาเรื่อยๆ จนสร้างหุ่นยนต์ของตนเอง ส่งแข่งขันหุ่นยนต์ต่อสู้แบบสองขาในรายการเล็กๆ จากแพ้ จนชนะ จากชนะรายการเล็กๆ จนมาชนะรายการใหญ่อย่าง Robo-One ได้ในที่สุด หุ่นยนต์ของครอบครัว Maru มีความสามารถพิเศษหลายอย่างซึ่งช่วยให้สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ เช่น การโปรแกรมท่าทางต่างๆ ไว้ล่วงหน้ากว่าร้อยท่า ระบบลุกขึ้นยืนเอง ระบบตรวจจับคู่ต่อสู้และต่อยเอง แต่ที่ดูน่าประทับใจมากๆ คือ ชุด master-slave ซึ่งใช้ potentiometer […]

Read more

หุ่นบินเล่นดนตรี ล่าสุดจาก TED2012

ในงาน TED2012 ซึ่งจัดระหว่าง 27 ก.พ. – 2 มี.ค. 2012 ที่เมืองลองบีช มลรัฐแคลิฟอร์เนีย นั้นศาสตราจารย์ Vijay Kumar ได้ขึ้นพูดในหัวข้อ “Robots that fly … and cooperate” โชว์หุ่นยนต์ควอดโรเตอร์แบบต่าง ๆ ทั้งที่บินผาดโผนลอดช่องแคบ บินผ่านฮูลาฮูปที่ถูกโยนขึ้นในอากาศ หุ่นยนต์บินช่วยก่อสร้าง ทั้งที่บินเดี่ยว และทำงานร่วมกันแบบเป็นกลุ่มเพื่อเพิ่มน้ำหนักที่บรรทุกได้ และปิดท้ายด้วยแสดงโชว์เล่นดนตรีด้วยหุ่นยนต์ สำหรับศาสตราจารย์ Kumar […]

Read more

Turing Test – คุณเป็นคนหรือหุ่นยนต์

การทดสอบของทัวริง (Turing Test) คือ การทดสอบความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ว่าทำได้ดีใกล้เคียงมนุษย์แล้วหรือยัง โดยเป็นแนวคิดของ อลัน ทัวริง (Alan Turing) นักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิธีการทดสอบ คือ ให้ผู้ตัดสินคุยกับคนและปัญญาประดิษฐ์ (จะเป็นการพูด หรือการพิมพ์ก็ได้ ไม่ได้สนใจที่ความสามารถในด้านการติดต่อสื่อสาร) แล้วตัดสินว่าบทสนทนาที่ดำเนินอยู่นั้นเป็นบนสนทนากับคนหรือปัญญาประดิษฐ์ ถ้าไม่สามารถแยกแยะได้ก็หมายความว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นผ่านการทดสอบของทัวริง คือ มีความสามารถเลียนแบบความคิดที่เหมือนมนุษย์ (คำตอบอาจไม่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง แต่ลักษณะคำตอบเหมือนมนุษย์) ปี 2555 นี้เป็นปีที่ครบ 100 ปีของวันเกิดของ อลัน ทัวริง จึงถูกตั้งเป็นปีแห่ง อลัน ทัวริง ด้วย ที่มา Wikipedia, […]

Read more
1 55 56 57 58 59 66