หุ่นยนต์แมลง Dash เตรียมยึดครองโลก

Dash เป็นผลงานวิจัยจาก Biomimetic Millisystems Lab, University of California, Berkeley มีจุดเด่นคือขึ้นรูปจากกระดาษและพลาสติก ตัด พับ แปะ ทำให้ขึ้นรูปได้ง่าย ราคาถูก ที่สำคัญคือทนทานมาก ๆ เพราะกระดาษนั้นไม่ได้แข็งเกร็ง (rigid) จนเกินไป ทำให้มีการให้ตัว อ่อนตัวได้เวลามีแรงกระแทก ขนาดที่ว่าตกตึกแล้วยังวิ่งต่อได้ Dash ถูกนำไปวิจัยต่อยอดอีก เช่น วิ่งกลับตัวอย่างรวดเร็วเหมือนแมลงสาบ บัดนี้ Dash พร้อมจะออกจากห้องวิจัยและยึดครองโลกแล้ว

Read more

หุ่นยนต์แมลงปอระดมทุนผ่าน indiegogo ได้ทะลุเป้าแล้ว

หุ่นยนต์แมลงปอตัวนี้เป็นหนึ่งในหุ่นยนต์ที่สร้างเลียนแบบสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติประเภทที่ว่า ทำออกมาได้ยอดเยี่ยม เหมือนจริง ดูจากวิดีโอแล้วจะรู้ว่ามันเยี่ยมจริง ๆ ตอนนี้ได้เข้าระดมทุนใน indiegogo (โครงการลักษณะเดียวกับ kickstarter) จากเป้าที่ $110,000 ตอนนี้ได้ทุนทะลุเป้าแล้ว จนถึง $184,354 และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากเวลาที่เหลืออยู่อีกถึง 49 วัน ใครอยากได้มาเล่นก่อนใคร (แต่วันส่งมอบสินค้าคือ เดือนกรกฎาคม ปีหน้านะ!) ไปสั่งจองล่วงหน้าได้ใน indiegogo ครับ รุ่นราคาถูกสุดอยู่ที่ $99 ถูกสั่งจองหมดเกลี้ยงแล้ว

Read more

Robobees หุ่นยนต์แมลงขนาดจิ๋วจาก Harvard

นักวิจัยจาก Harvard เข้าใกล้เป้าหมายที่จะพัฒนาการควบคุมหุ่นยนต์ Robobee มากขึ้นเรื่อย ๆ หุ่นยนต์ขนาดจิ๋วที่มีน้ำหนักของปีกหนักน้อยกว่า 0.1 กรัมตัวนี้ได้รับการพัฒนามายาวนานกว่า 5 ปี ในส่วนฮาร์ดแวร์ตอนนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่ส่วนการควบคุมที่จะทำให้มันบินได้อย่างที่เราต้องการ ที่ตัว Robobees เอง บริเวณใต้ปีกทั้งสองข้างของมันมีตัวต้นกำลังเพื่อจะทำให้มันบินหมุนตัวได้ใน 2 แกน ได้แก่ มุม row กับมุม pitch ขาดไปหนึ่งมุมที่สำคัญต่อการควบคุมคือ มุม yaw วิธีการควบคุมที่นักวิจัยใช้ตอนนี้เป็นแบบวงรอบเปิด (open-loop control) […]

Read more

หุ่นยนต์เลียนแบบการเดินของปลาหมึก

นักวิจัยจาก Italian Institute of Technology และ Kings College London ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยหนวดอ่อนนิ่ม 4 ข้าง หนวดแต่ละข้างมีท่อลม 3 ท่ออยู่ข้างใน เมื่ออัดแรงดันเข้าไปในท่อแต่ละท่อด้วยแรงดันแตกต่างกันก็จะสามารถควบคุมรูปร่างความโค้งของหนวดได้ เนื่องจากหนวดสามารถโค้งเท่าใดก็ได้และความโค้งนั้นต่อเนื่อง (ต่างจากกลไกที่ใช้ข้อต่อจุดหมุน ที่จะงอได้เป็นปล้อง ๆ ไม่สามารถงอเป็นความโค้งต่อเนื่องได้) กลไกนี้จึงมีชื่อว่า Continuum Limbs ซึ่งหมายถึงระยางที่ต่อเนื่อง ในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ ใช้การจ่ายแรงดันเข้าไปในหนวดทั้ง 4 ข้างตามลำดับที่เหมาะสม หุ่นยนต์ตัวนี้ก็จะเดินได้ เนื่องจากหุ่นยนต์ตัวนี้ไม่มีโครงสร้างที่แข็งเลย […]

Read more

ฝูงปลาหุ่นยนต์สำรวจมลพิษทางน้ำ

หุ่นยนต์ปลาขนาดความยาว 1.5 เมตรตัวนี้เป็นตัวต้นแบบ อยู่ระหว่างทดสอบการทำงานตรวจดูระดับออกซิเจนและระดับความเค็มในแหล่งน้ำทางเหนือของประเทศสเปน และเป็นส่วนหนึ่งในโครงการที่ได้รับทุนจากสหภาพยุโรปหรือ EU ด้วย หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ หุ่นยนต์ปลาตัวนี้จะได้ว่ายกันเป็นฝูงลาดตระเวนตามท่าเรือและอ่าวต่าง ๆ เพื่อตรวจวัดสารพิษในน้ำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

Read more

หุ่นยนต์สำรวจทางน้ำเลียนแบบปลา

Mola mola หรือ ocean sunfish เป็นปลาที่มีลักษณะแบน (เป็นปลากระดูกแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่วางไข่มากที่สุดในโลกด้วย) ชอบโผล่ด้านข้างขึ้นมาบนผิวน้ำ เพื่อให้นกมาทำความสะอาดตัวมันเพื่อ และเพื่อสะสมความอบอุ่นของร่างกายก่อนจะดำลงไปในน้ำที่ลึกและเย็น บริษัท AeroVironment จึงพัฒนาหุ่นยนต์สำรวจมหาสมุทรที่ใช้หลักการคล้ายกันนี้ หุ่นยนต์ตัวนี้มีลักษณะแบนและติดตั้งแผงโซลาเซลล์ไว้เพื่อใช้สะสมพลังงาน ทางบริษัทกล่าวว่าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นผ่านลงไปใต้ผิวน้ำได้เพียง 5% ของที่ตกลงบนผิวน้ำ และลดลงแปรผันเป็นเส้นตรงกับความลึก หุ่นยนต์ตัวนี้ซึ่งไม่มีแบตเตอรี่บนตัวหุ่นยนต์เลยจึงต้องพยายามรักษาระดับความลึกจากผิวน้ำให้พอเหมาะที่จะรับพลังงานได้เพียงพอกับที่ใช้ขับเคลื่อนตัวเองด้วยความเร็วประมาณ 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจ่ายพลังงานให้อุปกรณ์เก็บข้อมูลต่าง ๆ ดูวิดีโอได้ท้ายข่าวครับ นี่เป็นหุ่นยนต์อีกหนึ่งตัวที่ใช้เก็บข้อมูลในมหาสมุทร ก่อนหน้านี้มีหุ่นยนต์อีกตัวจาก Liquid Robotics ภาพและที่มา […]

Read more

หุ่นยนต์ไส้เดือนนิ่ม

การทำให้หุ่นยนต์นิ่มนั้นมีประโยชน์หลายด้าน เช่น เพื่อความปลอดภัยในการทำงานกับมนุษย์ การแทรกตัวเข้าไปในที่แคบ หรือทำให้ทนต่อการถูกทำลาย นักวิจัยจาก MIT, Harvard University และ Seoul National University ได้ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์นิ่มเลียนแบบการเคลื่อนที่ของไส้เดือนขึ้นมา ไส้เดือนใช้วิธีการเคลื่อนที่ที่เรียกว่า peristalsis คือ การบีบรัดและคลายกล้ามเนื้อต่อเนื่องกันไปเป็นคลื่น วิธีการนี้พบได้ในหอยทาก ปลิงทะเล และที่ใกล้ตัวเราคือระบบทางเดินอาหารของเรานั่นเอง หุ่นยนต์ตัวนี้สร้างด้วยท่อตะแกรง รัดด้วยลวดโลหะผสมจำรูป (shape memory alloy) ซึ่งจะหดตัวรัดท่อตะแกรงเมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้า ทำให้ท่อตะแกรงยืดตัวตามแนวยาว เมื่อทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปในแต่ละส่วนของเส้นลวดต่อเนื่องกันไปเป็นคลื่น ลวดตะแกรงก็จะยืดหดตัวเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเหมือนการเคลื่อนที่ของไส้เดือน เนื่องจากหุ่นยนต์ตัวนี้มีโครงสร้างที่นิ่ม มันจึงทนทานมาก ถึงแม้จะเหยียบหรือเอาค้อนทุบก็ยังไม่เสียหาย […]

Read more

ถึงคราวจับ RHex มาติดหาง

ก่อนหน้านี้นักวิจัยจาก University of California, Berkeley ได้ติดหางให้กับรถวิทยุบังคับขนาดเล็กเพื่อช่วยในการทรงตัวขณะลอยอยู่กลางอากาศ งานวิจัยนั้นกำลังถูกต่อยอดโดยการร่วมมือกับ University of Pennsylvania ในการนำ RHex หุ่นยนต์ 6 ขาที่ทาง University of Pennsylvania พัฒนาขึ้นมา มาติดหางเข้าไป หุ่นยนต์ตัวใหม่ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า X-RHex Lite แม้เจ้า X-RHex Lite จะมีน้ำหนักถึง 8.1 กิโลกรัม (หนักกว่ารถบังคับติดหางซึ่งหนักเพียง 177 กรัม อยู่ถึง 60 […]

Read more

หุ่นยนต์ที่เดินเหมือนมนุษย์มากที่สุด

เชื่อว่าถ้าพูดถึงหุ่นยนต์ humanoid ที่เดินสองขาแบบมนุษย์ หุ่นยนต์ตัวแรกที่ทุกคนคิดถึงคือ Asimo และผู้คลั่งไคล้หุ่นยนต์ทั้งหลายคงจะรู้จัก Petman หุ่นยนต์ที่มีท่าเดินคล้ายมนุษย์มากที่สุดตัวหนึ่ง แต่ทั้ง Asimo, Petman หรือหุ่นยนต์ humanoid ตัวอื่น ๆ ส่วนมากแค่พยายามเดินด้วยขา 2 ขาให้ได้ ต่างจากหุ่นยนต์จาก University of Arizona ที่พยายามเลียนแบบทั้งโครงสร้าง การรับรู้ ระบบประสาท และการควบคุมท่าเดินจากธรรมชาติ ด้านโครงสร้างนั้น หุ่นยนต์ตัวนี้ใช้การขับเคลื่อนเลียนแบบกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นในมนุษย์ โดยใช้มอเตอร์ส่งกำลังผ่านสาย Kevlar ด้านการรับรู้ […]

Read more

หุ่นยนต์ DASH พลิกตัว กลับหัว แบบแมลงสาบ ตุ๊กแก

หุ่นยนต์หกขาที่มีความสามารถวิ่งกลับตัวได้แบบแมลงสาบตัวนี้มีชื่อว่า DASH (Dynamic Autonomous Sprawled Hexapod) เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ห้องทดลอง Biomimetic Millisystems มหาวิทยาลัย California Berkeley สร้างขึ้นโดย Paul Birkmeyer และศาสตราจารย์ Ronald Fearing หลังจากเวลาผ่านไปประมาณ 2 ปีครึ่ง DASH มีความสามารถใหม่ นั่นคือ มันเลียนแบบการกลับตัวได้อย่างรวดเร็ว กลับตัวแบบกลับหัวซะด้วย! เป็นแบบเดียวกับแมลงสาบหรือตุ๊กแกไม่มีผิด นึกไม่ออกลองดูวิดีโอท้ายข่าวแล้วจะเข้าใจแน่นอนครับ

Read more
1 2 3